รัฐเร่งช่วยเหลือปัญหาขาดแคลนน้ำ

พุธ ๐๒ กรกฎาคม ๑๙๙๗ ๐๖:๓๕
กรุงเทพ--2 ก.ค.--ทำเนียบรัฐบาล
นายปราโมทย์ ไม้กลัด ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำ (ศกน.) เปิดเผยว่า จากการที่ฝนทิ้งช่วงในสองเดือนที่ผ่านมา ทำให้น้ำในคลองเขตชลประทานเจ้าพระยาตอนล่างทั้งสองฝั่งตั้งแต่ชัยนาทลงมา โดยเฉพาะในเขตจังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทราสมุทรปราการ เกิดขาดแคลนน้ำในการทำนาปรัง และอุปโภคบริโภคในขณะนี้ จนทำให้เกษตรกรเดือดร้อนและเกรงว่าจะทำให้ผลผลิตเสียหาย โดยร้องเรียนให้ทางการทราบแล้วนั้น ทางศูนย์เฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ได้ประสานงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกรมชลประทาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว ให้เร่งปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อสิริกิติ์เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาในการส่งน้ำในเขตชลประทานเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งโดยเร่งด่วนแล้ว ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะมีน้ำเข้าสู่ระบบชลประทาน ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตไม่เสียหายได้ทันเวลา ซึ่งขอให้เกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้เตรียมรับน้ำได้ในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ดี เนื่องจากปริมาณน้ำทั้งสองเขื่อนเหลือปริมาณไม่มากนัก เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้เกษตรกรเลื่อนการทำนาปีไปจนกว่าจะถึงฤดูฝนตกชุกในราวต้นเดือนสิงหาคมนี้ด้วย เพราะเกรงว่าจะไม่มีน้ำส่งหากเกิดกรณีฝนทิ้งช่วงในเดือนกรกฎาคมนี้--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ