มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรใหม่รองรับการเปลี่ยนแปลงกระแสโลกหลังปี 2000

อังคาร ๐๙ กุมภาพันธ์ ๑๙๙๙ ๑๔:๓๔
กรุงเทพ--9 ก.พ.--มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล อินนา รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ตามที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษาขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นแหล่งบูรณาการสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ นั้น เมื่อปีการศึกษา 2541 วิทยาลัยฯ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรแรก คือ หลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารโทรคมนาคม ได้รับความสำเร็จด้วยดี มีผู้สนใจสมัครเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก และในปีการศึกษา 2542 นี้ วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับการรองรับการแข่งขันด้านเทคโนโลยีในศตวรรษใหม่ คือ หลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารเทคโนโลยี
หลักสูตรนี้เกิดขึ้นเนื่องด้วยความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยี การประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ซึ่งทำให้สภาวะแวดล้อมขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน การบริหารองค์กรให้อยู่รอดได้ภายใต้สภาวะเช่นนี้ ถือเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ ในอีกแง่มุมหนึ่งก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและคงไว้ซึ่งความสามารถในการในการแข่งขันที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ความรู้ความสามารถและความชำนาญในการบริหารเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องเหมาะสมถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดอนาคตขององค์กรและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ
จากเหตุดังกล่าว องค์กรที่รู้จักจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาวะภายในและภายนอกองค์กร โดยอาจจะเป็นการนำเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานหรือเทคโนโลโยขั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับกิจการของตน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลหรือสามารถพัฒนากระบวนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพเหนือองค์กรคู่แข่ง โดยใช้กลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยี จะเป็นองค์กรรูปแบบหลักที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ในโลกปัจจุบันและอนาคต องค์กรที่ไม่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยี หรือเห็นความสำคัญแต่มีการบริหารเทคโนโลยีอย่างไร้ทิศทางหรือขาดประสิทธิภาพ จะมีโอกาสอยู่รอดได้ยาก
วิทยาลัยฯ ได้เล็งเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาความรู้ด้านการบริหารเทคโนโลยีให้ก้าวทันอารยประเทศ จึงได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโทการบริหารเทคโนโลยีขึ้น โดยเป็นหลักสูตรสหวิชาการที่มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและความชำนาญในการบริหารและจัดการด้านเทคโนโลยีภายในองค์กร ตลอดจนมีความรอบรู้และมีวิสัยทัศน์ที่จะสามารถนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จภายใต้สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมด้วย
ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารเทคโนโลยี ได้กล่าวเสริมถึงรายละเอียดหลักสูตรว่า หลักสูตรนี้จะมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีไปใช้งาน ทั้งทางด้านการบริการทางวิชาการ การฝึกอบรม การวิจัย และพัฒนา ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาภาคค่ำและแบบสหวิชาการ ผสมผสานระหว่างความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หลักการบริหารการจัดการและหลักเศรษฐศาสตร์ ใช้ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี หรือ 4 ภาคการศึกษา แบ่งเป็น 2 แผนการศึกษา คือ แผน ก.ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข.ทำวิจัยเฉพาะกรณี
ทั้งนี้ หลักสูตรนี้เกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นทั้งจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาคเอกชน รวมทั้งนำหลักสูตรจากต่างประเทศเข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจไทยด้วย ส่วนอาจารย์ผู้สอน จะเป็นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และอาจารย์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา คือ จบปริญญาตรีทุกสาขาวิชา เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2542 นี้ ณ วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 7 โทร. 221-6171-80 ต่อ 3111/3113 หรือ 623-5055-8--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ