เทเลคอมเอเซียร่วมนิทรรศการ "การเพิ่มผลผลิตกับคุณภาพชีวิตการทำงาน"

พฤหัส ๑๒ มิถุนายน ๑๙๙๗ ๑๔:๔๕
กรุงเทพ--12 มิ.ย.--เทเลคอมเอเซีย
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (Thailand Productivity Institute) ให้เกียรติเชิญบริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมจัดนิทรรศการในงาน "การเพิ่มผลผลิตกับคุณภาพการทำงาน" ในฐานะที่เป็นบริษัทชั้นนำ ริเริ่ม โครงการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม และพร้อมที่จะเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นๆ
ดร.อาชว์ เตาลานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เทเลเคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเพิ่มผลผลิต คือ หัวใจ และเป้าหมายในการทำงานของเทเลคอมเอเซีย และเราทุกคนได้ดำเนินโครงการเพิ่มผลผลิต (Productivity) และกิจกรรมด้านคุณภาพ (Quality) มาอย่างต่อเนื่อง จริงจัง ซึ่งจุดประสงค์ไม่เป็นเพียงแต่จะเพิ่มผลผลิตให้องค์กรเท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เกิดการลดต้นทุน และสิ่งสำคัญก่อให้เกิดขวัญ กำลังใจ ความสามัคคี ความคิดสร้างสรรค์ และปลูกฝังให้เป็นนิสัยให้กับทุกคนในเทเลคอมเอเซีย จนเป็นวัฒนธรรมองค์กรของเราแล้ว
แนวคิด การดำเนินงานด้านเพิ่มผลผลิต (Productivity) และกิจกรรมด้านคุณภาพ (Quality) ของเทเลคอมเอเซีย มีทั้งการกำหนดจากผู้บริหารระดับสูง (Top Down) จากพนักงาน (Bottom Up) และยังเป็นความร่วมมือจากพนักงานทุกๆ คนอย่างแท้จริง (Participation) ทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ อาทิ
- กิจกรรม 7 ส. คือ สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย สวยงาม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเทเลคอมเอเซียเป็นหน่วยงานแรกที่สร้างสรรค์ให้ความสำคัญกับความสวยงามและสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานด้วย
- กิจกรรมด้านความปลอดภัย ได้แก่ ความปลอดภัยในการทำงาน การขับขี่ยานพาหนะ ความปลอดภัยในข้อมูล และความปลอดภัยในทรัพย์สิน
- กิจกรรมการบำรุงรักษาครบวงจร (TATM : TelecomAsia Intergrated Maintenance)
- กิจกรรมระบบคุณภาพ เช่น ISO 9000 ทั้งองค์กร คุณภาพโครงข่ายที่สามารถแก้ไขตัวเองได้กรณีเกิดสายขัดข้อง โครงข่ายที่มีระบบการตรวจสอบแก้ไขเหตุ่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะทราบ คุณภาพด้าน Call Completion, Fault rate, Fault clear ตลอดจนมีการวัดความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการให้อยู่ในระดับ 85% เป็นต้น
ดร.อาชว์ กล่าวว่า ในปี 2540 นี้ ซึ่งทุกองค์กรอยู่ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทางเทเล คอมเอเซียได้ริเริ่มกิจกรรมลดต้นทุน 2 แนวทางหลักคือ TAP TEAM (TelecomAsia Productivity) เป็นโครงการที่พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมคิดและทำให้กับบริษัท เช่น การที่พนักงานซ่อมสายโทรศัพท์คิดว่าควรใช้รถจักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางไปซ่อมโทรศัพท์ใกล้ๆ สำนักงาน เพราะได้ประหยัดน้ำมัน ช่วยลดมลพิษ และยังเป็นการออกกำลังกายด้วย และพนักงานบางกลุ่มเห็นว่า น้ำทิ้งจากท่อแอร์ควรนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ตามชุมสายโทรศัพท์ หรือนำมาใช้ล้างรถได้ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้พนักงานร่วมกันคิดจากสิ่งที่ใกล้ตัว เสนอขึ้นมายังฝ่ายบริหาร ใน 3 เดือนแรกเสนอเข้ามาถึง 700 กว่าเรื่อง และสามารถลดต้นทุนได้กว่า 30 ล้านบาท ส่วนกิจกรรมลดต้นทุนที่กำหนดโดยทีมงานระดับบริหารนั้น ในปีนี้มีเป้าหมายว่าจะลดต้นทุนได้ถึง 1,000 ล้านบาท
"กิจกรรมการเพิ่มผลผลิต และกิจกรรมด้านคุณภาพ เป็นสิ่งที่แต่ละองค์กรสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ด้วยตนเอง ควรคิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของตน และสิ่งที่สำคัญที่สุด พนักงานทกคน ผู้บริหารทุกระดับ ต้องมีความตั้งใจจริงที่จะทำแล้วทุกองค์กรก็จะประสบความสำเร็จได้" ดร.อาชว์ กล่าวในที่สุด
สำหรับงานนิทรรศการ "การเพิ่มผลผลิตกับคุณภาพชีวตการทำงาน" ซึ่งจัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประชาชนสามารถเข้าชมระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2540 ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 4 เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ