ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจฯ ของรัฐบาลสนับสนุนโครงการศูนย์กลางเศรษฐกิจถนนพระราม 3

จันทร์ ๑๔ กรกฎาคม ๑๙๙๗ ๑๒:๑๕
กรุงเทพ--14 ก.ค.--สำนักงานเขตกรุงเทพ
ที่ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ วันที่ 11 ก.ค. 40 ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เรียนเชิญพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมเฉพาะกิจโครงการพัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่พระราม 3 ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในด้านธุรกิจการค้าและธุรกิจการเงินนานาชาติ โดยมี รศ.ประภาภัทร นิยมรองผู้ว่าฯ กทม. นายประเสริฐ สมะลาภา ปลัดกทม. ดร.บรรณโศภิฎฐ์ เมฆวิชัย ดร.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ดร.สมใจ นิลสิทธานุเคราะห์ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. คณะผู้บริหาร กทม. พร้อมด้วยนายชนะ รุ่งแสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
พล.อ.ชาติชาย กล่าวว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่งเพราะบริเวณถนนพระราม 3 ได้เปรียบด้านที่ตั้ง เนื่องจากมีโครงข่ายคมนาคมที่สะดวก เป็นที่รวมของธุรกิจการเงินและเป็นแนวป้องกันน้ำท่วม ทั้งนี้ตนพร้อมให้คำปรึกษาและผลักดันโครงการนี้ให้มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสูงที่สุด และถุ้าตนได้เป็นรัฐบาลอยู่ก็จะสนับสนุนด้านงบประมาณให้มากที่สุด โดยตนมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันจะไม่ทำให้เกิดปัญหาในการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ อย่างไรก็ตามในอนาคตตนอยากเสนอให้กทม. มีหน่วยงานควบคุมคุณภาพสินค้าอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานมากกว่าเดิม จะได้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติ
ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า กทม. จะพัฒนาพื้นที่ถนนพระราม 3 เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจการเงิน เพราะหากมีธุรกิจการเงินเกิดขึ้นบริเวณนี้จะทำให้ท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้น ทั้งนี้ กทม.ได้รับการสนับสนุนจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เสนอแนวคิดด้านต่าง ๆ ส่วนรายละเอียดของโครงการ ตนขอเวลาประมาณ 6 เดือน เพื่อรวบรวมเอกสารและข้อมูลด้านธุรกิจการเงินจากต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น มาเลเซีย มาเปรียบเทียบกับศูนย์เศรษฐกิจการเงินพระราม3 อย่างไรก็ตาม ระหว่างการรวบรวมเอกสาร กทม. จะปรึกษาหารือกับภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่ดังกล่าวมีธนาคารมาตั้งอยู่แล้ว 3 แห่ง และพลเอกชาติชาย ก็ได้ให้ข้อคิดว่าน่าจะมีการพิจารณานำมาตรการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลมาผนวกกับโครงการนี้ด้วย สำหรับการลงทุนในขณะนี้ตนยังหนักใจอยู่บ้าง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในประเทศ แต่เชื่อว่า ด้วยศักยภาพของประเทศไทย ประกอบกับความพร้อมของ กทม. ในการพัฒนาปรับปรุงบริเวณแถบนี้ จะทำให้ประสบความสำเร็จ
ด้านนายประเสริฐ กล่าวว่า ตนเชื่อมั่นว่าหากนักลงทุนมาลงทุนในโครงการนี้จะได้รับผลประโยชน์มากมาย เนื่องจากบริเวณตั้งแต่ท่าเรือคลองเตยถึงถนนตก กทม. ได้ทำการสร้างคันกั้นน้ำไว้แล้ว มีความยาว 11 กม. มั่นใจได้ว่าน้ำจะไม่ท่วมบริเวณนี้แน่นอน อีกทั้งโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียยานนาวาก็ได้ลงมือก่อสร้างไปแล้ว และจะแล้วเสร็จภายในหนึ่งปีครึ่ง ทำให้ไม่เกิดปัญหาน้ำเสียในย่านนี้เช่นกัน--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ