กรุงเทพ--26 ก.ย.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายสุวิชา มิ่งขวัญ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 โดยที่ประชุมได้มีมติในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. มีมติให้รับหุ้นสามัญของบริษัทบางปะกง อินดัสเตรียล ปาร์ค 2 จำกัด (มหาชน) จำนวน 65 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 21.7 ล้านหุ้น มูลค่าที่ ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวม 867 ล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการรับหลักทรัพย์ ดังนี้
- กำหนดการห้ามขายหุ้นของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในจำนวน
รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้ว (867 ล้านบาท)
เป็นระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำ
การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
- กำหนดให้ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารหลักของบริษัท ได้แก่ นายวิกรม
กรมดิษฐ์ รับรองต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าจะไม่ประกอบ
ธุรกิจใด ๆ ที่จะเป็นการแข่งขันกับบริษัทบางปะกง อินดัสเตรียล
ปาร์ค 2 จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
- กำหนดให้บริษัทรับรองรายการธุรกรรมระหว่างบริษัท และบริษัท
ย่อยกับบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกรรมการ หรือผู้
บริหารจะเป็นไปตามราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับ
รายการที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสีย
ผลประโยชน์ และกรณีเป็นการซื้อขายที่ดินจะเป็นไปตามราคาที่
ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ให้ความเห็นชอบ หรือราคาที่บริษัทที่เกี่ยวข้องหรือ
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกรรมการ หรือผู้บริหารซึ่งมาจากบุคคลภาย
นอก แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า โดยให้กรรมการอิสระของบริษัท
เป็นผู้ดูแลรายการดังกล่าว พร้อมทั้งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบรายการ
ดังกล่าว และรายงานในงบการเงินประจำปี
- กำหนดให้บริษัทดำเนินการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้แล้วเสร็จ
ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งผลการพิจารณาให้
บริษัททราบ ทั้งนี้หากในช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทมีการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลในเอกสารการยื่นคำขอกับตลาดหลักทรัพย์ที่อาจมีผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาลักษณะ
ของหลักทรัพย์ และคุณสมบัติของบริษัทในการเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งบริษัทที่ยื่นคำขอใหม่
2. ตามที่ได้มีการหารือกันระหว่างตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานคณะ กรรมการ กลต. เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิก และที่มิได้เป็นสมาชิก (Sub-broker) จากหน่วยงานทั้งสองแล้ว คณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์เห็นควรพิจารณาแบ่งงานตรวจสอบกันโดยมีหลักการสำคัญ คือ
1. บริษัทที่จะตรวจสอบ : ตลาดหลักทรัพย์ตรวจสอบบริษัทสมาชิก
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการ กลต. ตรวจสอบ Sub-broker
2. ขอบเขตการตรวจสอบ : การตรวจสอบทั้ง 2 หน่วยงานจะ
ครอบคลุมเหมือนกันคือการตรวจสอบฐานะการเงินของบริษัท
และการดำเนินธุรกิจทุกประเภทของบริษัทหลักทรัพย์ ได้แก่
Dealer, Broking, Underwriting, Financial
Advisory
3. การพิจารณาลงโทษ : กรณีที่ตลาดหลักทรัพย์พบว่าบริษัทสมาชิก
ไม่ได้ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการ กลต.
ก็จะส่งเรื่องให้สำนักงานเป็นผู้พิจารณาลงโทษ ในทางกลับกันกรณี
ที่ Sub-broker ไม่ได้ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์
สำนักงานก็จะส่งเรื่องให้ตลาดหลักทรัพย์ลงโทษ แต่ในกรณีที่
บริษัทหลักทรัพย์กระทำผิด และเป็นกฏเกณฑ์ของทั้ง 2 หน่วยงาน
บริษัทหลักทรัพย์จะถูกลงโทษตามโทษสูงสุด โดยเมื่อคณะกรรมการ
เปรียบเทียบปรับได้ลงโทษแล้ว คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะ
ไม่ลงโทษอีก เว้นแต่โทษปรับนั้นจะต่ำกว่าโทษของตลาดหลักทรัพย์
3. คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์รับทราบการดำเนินการตามมติที่ประชุม อนุกรรมการบริหาร ในการเปิดเผยฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท จดทะเบียน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ จดทะเบียนเพิ่มขึ้น จึงเห็นควรให้ตลาดหลักทรัพย์เผยแพร่ตารางสรุปข้อมูลทางการ เงินที่สำคัญเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน โดยมี ข้อมูลสำคัญดังนี้
- ชื่อบริษัทจดทะเบียน
- วันที่เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
- กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 4 ปีย้อนหลัง และกำไร (ขาดทุน)
สุทธิงวดปีปัจจุบัน
- กำไร (ขาดทุน) สะสม ทุนจดทะเบียน และส่วนของผู้ถือหุ้น
ตามงบการเงินล่าสุด
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ได้เริ่มเผยแพร่ตารางสรุปข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ ของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวสำหรับงวดไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ไปแล้วในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2539 สำหรับงวดต่อ ๆ ไปจะเผยแพร่เป็นราย ไตรมาส โดยเผยแพร่จากวันครบกำหนดการนำส่งงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งผ่านการตรวจสอบหรือสอบทานแล้ว 2 สัปดาห์--จบ