กรุงเทพ--13 ม.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยกองอาหาร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้ชุดทดสอบอาหารอย่าง ง่ายให้แก่ผู้จำหน่ายอาหาร และผู้รับผิดชอบด้านสวัสดิการร้านอาหารในกระทรวงสาธรารณสุข เพื่อยก ระดับคุณภาพมาตรฐานอาหาร ที่จำหน่ายในกระทรวงสาธารณสุข โดยจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 12 มกราคม 2542 ณ ห้องประชุมอาคาร 8 ห้อง 806 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี
น.พ. จักรธรรม ธรรมศักดิ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่าจากการที่กระทรวง สาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขอนามัยของประชาชนและต้องคุ้มครองความปลอดภัยของ ผู้บริโภคโดยตรง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งซึ่งรับผิดชอบการตรวจวิเคราะห์ อาหาร ยาและเครื่องสำอาง เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยของ อาหารที่จำหน่ายในโรงอาหารของกระทรวงสาธารสุขขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่หน่วยงานอื่นๆ ใน การดูแลให้ข้าราชการและลูกจ้างของหน่วยงานได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยถูกสุขลักษณะ ซึ่งเท่าที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการสุ่มตัวอย่างอาหาร ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สาร บอแรกซ์ อาทิเช่นอาหารที่มีหมูเป็นส่วนประกอบ เช่น หมูอบ ลูกชิ้นหมู ผลิตภัณฑ์จากปลาเป็นส่วนประกอบ เช่น ทอดมันปลา ลูกชิ้น ปลากราย รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากไก่เป็นส่วนประกอบ เช่น ไก่ทอดไก่ย่าง ขนมต่างๆ เช่น ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เฉาก๊วย จากร้านอาหารต่างๆ ที่จำหน่ายในบริเวณ กระทรวงสาธารณสุขทุกกรม ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่ายังมีการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ เกิน มาตรฐานอยู่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้จำหน่ายและผู้รับผิดชอบด้าน ร้านอาหารจากกรมต่างๆ รู้จัการใช้ชุดทดสอบอาหารอย่างงายซึ่งผลิตโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนำไปใช้ในการตรวจสอบวัตถุดิบก่อนนำมาปรุงอาหารและตรวจสอบคุณภาพอาหารที่จำหน่ายได้ด้วย ตนเอง การจัดอบรมในครั้งนี้เป็นการใช้ชุดทดสอบอาหารจำนวน 3 ชุด คือ ชุดทดสอบบอแรกซ์ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะและมือที่สัมผัสอาหาร และชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำดื่มและน้ำแข็ง โดยผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นพร้อมทั้งรับชุดทดสอบอาหารฟรีอีกด้วย
น.พ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ กล่าวในตอนท้ายว่า การจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เป็นโครงการ ตัวอย่าง ซึ่งจะดูแลเจ้าหน้าที่ ให้ได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย อีกทั้งเป็นการปลุกจิตสำนึกของผู้ จำหน่ายโดยให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่มตัอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ ยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง หากพบว่าผู้จำหน่ายรายใดยังคงจำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะและ ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งกรมนั้นๆ ทราบ เพื่อะจะได้นำข้อมูลไปกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาระบบการเฝ้า ระวังความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายภายในกระทรวงสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นแบบ อย่างให้หน่วยงานอื่นๆ นำไปปฏิบัติต่อไป หน่วยงานใดสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร.589-9850 ต่อ 9561-2 โทรสาร 951-1023 ในวัน และเวลา ราชการ--จบ--