กรุงเทพ--4 ก.ค.--การรถไฟแห่งประเทศไทย
นายไพรัช โรจน์เจริญงาม หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟฯ แจ้งว่าเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 มีการชุมนุมประท้วงเกี่ยวกับราคาพืชผลตกต่ำ ในการนี้กลุ่มผู้ชุมนุมมีอยู่ปรมาณ 1,000 คน ได้นำไม้หมอนมาวางกีดขวางทางรถไฟบริเวณบ้านนา (หลัก กม.662) เป็นเหตุให้การรถไฟฯ ต้องประกาศปิดทางระหว่างสถานีเขาพลู - บ้านนา - ห้วยมุด ตั้งแต่เวลา 19.35 น. ในคืนวันเดียวกัน ต่อมาเมื่อเวลา 5.40 น. ของวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ผู้ชุมนุมได้แยกย้ายกันไปชุมนุมที่ถนนรถยนต์ต่อ เจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯจึงได้ช่วยกันยกไม้หมอนและสิ่งกีดขวางออก และประกาศเปิดทางให้ขบวนรถเดินผ่านตอนเช้า เมื่อเวลา 6.20 น.วันเดียวกันโดยไม่มีการขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์ เนื่องจากถนนก็ถูกปิดเช่นกัน ซึ่งต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมได้หวนกลับมาปิดทางรถไฟอีกครั้ง เมื่อเวลา 8.05 น. วันเดียวกัน เป็นเหตุให้ขบวนรถไฟเที่ยวล่ง (ออกจากกรุงเทพฯ) ถูกกักไม่สามารถผ่านจุดเกิดเหตุ 7 ขบวน คือ ขบวนรถด่วนที่ 13 (กรุงเทพ-กันตัง), ขบวนรถด่วนที่ 15 (กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช),ขบวนรถเร็วที่ 41 ขบวนรถด่วนที่ 13 (กรุงเทพ-ตรัง), ขบวนรถด่วนที่ 15 (กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช), ขบวนรถเร็วที่ 41 (กรุงเทพ-กันตัง), ขบวนรถด่วนที่ 43 (กรุงเทพ-ยะลา), ขบวนรถเร็วที่ 45 (กรุงเทพ-สุไหงโกลค) ขบวนรถเร็วที่ 47 (กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช) และขบวนท้องถิ่นที่ 123 (สุราษฎร์-สุไหงโกลค) และเที่ยวขึ้น (ออกจากปลายทางทางใต้) อีก 5 ขบวน คือ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 12 (ปัตเตอร์เวอร์ธ-กรุงเทพ), ขบวนรถด่วนที่ 14 (ตรัง-กรุงเทพ), ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 20 (สุไหงโกลค-กรุงเทพ), ขบวนรถเร็วที่ 44 (ยะลา-กรุงเทพ) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 984 (ยะลา-กรุงเทพ)
การชุมนุมและปิดทางรถไฟครั้งนี้ผู้ชุมนุมมิได้ทำลายทรัพย์สินของการรถไฟ และไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่การรถไฟฯจะได้พยายามเจรจากับทางผู้ชุมนุม เพื่อมิให้ผู้โดยสารต้องได้รับความเดือดร้อน สำหรับขบวนรถสายใต้วันนี้การรถไฟฯจำเป็นต้องประกาศงดเดินขบวนรถด่วนพิเศษที่ 11 (กรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ), ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 19 (กรุงเทพ-สุไหงโกลค) และขบวนรถเร็วที่ 43 (กรุงเทพ-ยะลา) ส่วนสถานการณ์ความคืบหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟฯจะได้แจ้งมาให้ทราบต่อไป--จบ--
- ม.ค. ๒๕๖๘ โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค มอบถังขยะให้การรถไฟฯ ครั้งที่ 3 ในโครงการรถไฟสะอาด
- ม.ค. ๒๕๖๘ ดีแทคผลิตบัตรเติมเงินที่ระลึก 3 ล้านใบ ร่วมฉลองรถไฟสายประวัติศาสตร์ เชื่อมสัมพันธ์ไทย — สปป. ลาว
- ม.ค. ๓๘๐๐ ภาพข่าว: ดีแทคร่วมฉลอง 111 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย ผลิตบัตรเติมเงินลายพิเศษ สัญลักษณ์รถไฟไทยเอาใจนักสะสม