กรุงเทพ--18 ก.พ.--ข่าว ธ.ก.ส.
ธ.ก.ส.เจอพิษเศรษฐกิจผันผวน รัฐบาลตัดงบเพิ่มทุ่น ส่วนราชการไม่มีเงินมาฝากเหมือนเก่า ต้องดิ้นหาเงินทุนเองจากแหล่งที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้ต้นทุนเงินพุ่งพรวดตรงกันข้ามกับการปล่อยกู้ให้แก่ เกษตรกร อัตราดอกเบี้ยยังคงต่ำสุด
นายพิทยาพล นาถธราดล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ ธ.ก.ส.อันเนื่องมาจากความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจว่า ที่เห็นได้อย่างชัดเจนและหลีกเลี่ยงไม่พ้นก็ คือ ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส.ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากเมื่อปีบัญชีที่แล้ว ต้นทุนเงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ของ ธ.ก.ส.อยู่อัตราร้อยละ 6.01 ต่อปี แต่ในช่วงเวลาเดียวกันสำหรับปีบัญชีปัจจุบัน ทุนดำเนินงานของ ธ.ก.ส.ซึ่งมีอยู่ทั้งสิน 229,774 ล้านบาท มีอัตราต้นทุนเงินสูงถึงร้อยละ 8.16 ต่อปี และเมื่อรวมกับอัตราต้นทุนการบริหารอีกร้อยละ 1.5 ต่อปี ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ธ.ก.ส.ทั้งหมดมีอัตราสูงถึงร้อยละ 11.66 ต่อปี แต่เป็นที่สังเกตว่าในการให้กู้แก่เกษตรกรนั้นยังคงใช้เกณฑ์อัตราดอกเบี้ยคงที ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในตลาดการเงินและมีอัตราที่ต่ำมากกล่าวคือ เพียงร้อยละ 9 ต่อปีเท่านั้น สำหรับเกษตรกรรายย่อยทั่วไป และจะยิ่งต่ำลงไปอีกเมื่อให้กู้แก่สถาบันเกษตรกร คือระหว่างร้อยละ 6-9.25 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันสูงถึงร้อยละ 19.5 ต่อปี หรือบางแห่งอาจสูงกว่านี้
นายพิทยาพลเปิดเผยต่อไปว่า ต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส.ที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวมาจากสาเหตุใหญ่ๆ 4 ประการ กล่าวคือ สาเหตุแรก เป็นเพราะรัฐบาลประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจจนไม่อาจที่จะจัดสรรเงินเพิ่มทุนให้แก่ ธ.ก.สได้เต็มจำนวน 2,000 ล้านบาทตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติไว้ คงได้รับมเพียง 125 ล้านบาทเท่านั้นสำหรับปีบัญชีนี้ ทำให้ ธ.ก.ส.ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งอื่นๆ มาททดแทน ซึ่งเสียดอกเบี้ยศึงทั้งสิ้น เช่น กู้จากธนาคารออมสินดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี กู้จากธนาคารโลกผ่านกระทรวงการคลัง ดอกเบี้ยร้อยละ 11 ต่อปี หรือการออกพันธบัตรล่าสุดที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 11.75 ต่อปี เป็นต้น ส่วนสาเหตุประการที่ 2 ก็คือ จากการที่รัฐบาลได้เคยมีมติให้ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือสภาตำบล นำเงินมาฝากไว้กับ ธ.ก.ส.ปีละประมาณ 18,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นททุนเงินให้ ธ.ก.ส.เมื่อที่มีนโยบายให้ ธ.ก.ส.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 2 ต่อปีนั้น ปรากฎว่าในปีนี้ รัฐบาลได้ตัดงบประมาณของส่วนราชการเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ส่วนราชการไม่มีเงินที่จะนำมาฝากไว้กับ ธ.ก.ส. นอกจากนั้นทั้ง อบต.และสภาตำบลหลายแห่งยังได้ต่อรองขอเปลี่ยนบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ฝากไว้แต่เดิม เป็นบัญชีเงินฝากประจำ ซึ่ง ธ.ก.ส.จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้ต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส.สูงขึ้นทั้งสิ้น
นายพิทยาพลกล่าวต่อไปว่า นอกจากนั้นการแข่งขันในด้านเงินฝาก ซึ่ง ธ.ก.ส.จะต้องรักษาฐานลูกค้าเงินฝากเดิมไว้ให้ได้ รวมทั้งจะต้องจูงใจลูกค้ารายใหม่อีกด้วย ทำให้ ธ.ก.ส.ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้สูงขึ้นอีกประมาณร้อยละ ต่อปี เพื่อให้อยู่ในอัตราเดียวกับดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ต้นทุนเงินเพิ่มขึ้นมาเพราะ ธ.ก.ส.มียอดเงินฝากกว่า 123,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 60 ของททุนดำเนินงานทั้งหมด ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นบัญชีเงินฝากประจำที่มีการแข่งขันสูง ส่วนสาเหตุประการสุท้ายเกิดจากภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนตัว ทำให้ต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส.ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามในภาวะที่ต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส.เพิ่มขึ้นดังกล่าว ธ.ก.ส.ได้พยายลดต้นทุนการบริหารลงเป็นจำนนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รียกเก็บจากเกษตรกรไว้เท่าเดิมให้นานที่สุด อย่างเช่น การลดค่าลงทุนในทรัพย์สินประจำลง้อยละ 20 ของงบประมาณ การปรับลงค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน โดยชะลอการบรรจุพนักงานใหม่ออก การงดจัดประชุมสัมมนาบางหลักสูตรที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน การขอความร่วมมือพนักงานงดเบิกค่าทำงานล่วงเวลา รวมทั้งการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ เป็นต้น--จบ--
- ๒๓ ม.ค. สทบ.จับมือ กรมปศุสัตว์และธกส. ชวนเกษตรกรไทย ร่วมงาน มหกรรม "โคแสนล้าน" ระหว่างวันที่ 23-24 พ.ย.67 จ.มหาสารคาม
- ๒๓ ม.ค. PTG ผนึกมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ-กรมป่าไม้-ธ.ก.ส. ส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้า และพืชเศรษฐกิจยั่งยืน หนุนเกษตรกรมีชีวิตอยู่ดีมีสุข -ส่งตรง "กาแฟพันธุ์ไทย"
- ๒๓ ม.ค. บมจ. เออาร์ไอพี และ ม.หอการค้าไทย มอบรางวัล THAILAND TOP ENTREPRENEUR AWARDS 2024 สร้างแรงบันดาลใจให้ธุรกิจยั่งยืน