อีคอนไทยสนับสนุน การผลักดันในเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ของ กกร.

พฤหัส ๑๑ มิถุนายน ๑๙๙๘ ๑๔:๓๕
กรุงเทพ--11 มิ.ย.--อีคอนไทย
นายสมพงศ์ นครศรี ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ชี้แจงว่า ขณะนี้เป็นที่เป็นที่ทราบกันดีว่าหาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 ส.ค. 41 จะก่อให้เกิดความสับสนแก่ทั้งของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างในฐานะผู้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเนื่องจากกฎหมายลูกอีกจำนวนหลายฉบับ ยังไม่ผ่านการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ จะยิ่งก่อให้เกิดปัญหาและความสับสนมากยิ่งขึ้น หากขาดการพิจารณาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ
ขณะนี้ สภาองค์การนายจ้างฯ-อีคอนไทย ได้รับการสอบถามจากบริษัทสมาชิก ผู้ลงทุนชาวต่างประเทศ หอการค้าต่างประเทศ ตลอดจนสถานทูตต่างๆ จำนวนมาก ถึงแนวทางของสภาองค์การนายจ้างฯ-อีคอนไทย ว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ไปในทิศทางใด
นายสมพงศ์ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ก่อนที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จะผ่านการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการวิสามัญ สภาองค์การนายจ้างฯ-อีคอนไทย และองค์กรภาคเอกชน ได้เสนอความคิดเห็นในหลายมาตราถึงความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและไม่เหมาะสมของร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว โดยรวบรวมและประมวลความคิดเห็นจากนายจ้างในหลายอุตสาหกรรมผ่านไปยังกรรมาธิการวิสามัญ แต่เมื่อ พ.ร.บ. ผ่านการพิจารณาแล้ว พบว่า มีหลายมาตราที่แตกต่างไป ก่อให้เกิดปัญหาการตีความในภาคปฏิบัติ อีกทั้งบางมาตราซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.ประกันสังคมซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะนี้
สภาองค์การนายจ้างฯ-อีคอนไทย เชื่อแน่ว่าผลการศึกษาของสภาองค์การนายจ้างฯ-อีคอนไทย กับของ 3 สถาบันเอกชน (กกร.) ที่ได้เสนอแนะถึงประเด็นปัญหา วิธีแก้ไขและเหตุผล ในหลายเวทีสัมนาที่จัดอยู่ขณะนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมคงได้รับแล้ว และสามารถใช้เป็นข้อมูลการพิจารณาออกกฎหมายลูกของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ นายสมพงศ์ ยังได้เสนอแนะให้ลูกจ้างในกิจการทุกประเภท ได้ศึกษา พ.ร.บ.คุ้มครอง แรงงานฉบับใหม่อย่างละเอียด เพราะขณะนี้มีลูกจ้างจำนวนมากของหลายอุตสาหกรรม สงสัยว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวตัดสิทธิที่พึงมีพึงได้ ของลูกจ้างแต่เดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ประจำของตน เฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเศรษฐกิจวิกฤตขณะนี้
"การบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ จะกล่าวอ้างเพียงเพื่อออกกฎหมายให้สอดคล้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) คงไม่ใช่เหตุผลที่พอเพียง จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยและความพร้อมของประเทศในหลายด้าน อาทิเช่น สภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมของกฎหมายที่จะบังคับใช้ผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน ความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่จะแก้ปัญหาเมื่อกฎหมายมีข้อขัดแย้งในทางปฏิบัติ" นายสมพงศ์ กล่าวในที่สุด--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ