กรมวิทย์ฯ ตรวจไม่พบสารพิษกรณีปลาในสระ รง.ยาสูบตาย

จันทร์ ๑๒ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๕:๑๑
กรุงเทพ--12 ม.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขตรวจหาสารพิษในตัวอย่างน้าและปลาจากสระน้ำของโรงงานยาสูบ เนื่องจากเกรงว่าจะมีผู้นำปลาตายไปบริโภค และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ผลปรากฎว่า ตรวจไม่พบสารพิษไซยาไนด์ และสารกำจัดศัตรูพืชประเภทต่างๆ ในน้ำและปลาทุกตัวอย่าง
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงผลการตรวจวิเคราะห์สารพิษกรณีปลาในสระน้ำของโรงงานยาสูบตายเป็นจำนวนมาก ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ว่าเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2541 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บตัวอย่างน้ำในสระ และปลาจากโรงงานยาสูบ เพื่อตรวจหาสารพิษ โดยได้เก็บตัวอย่างน้ำบริเวณต่างๆ ของสระ จำนวน 6 จุด ปลา และซากสุนัขที่ตาย 2 ตัว ไปดำเนินการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ทั้งทางด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ด้านสารกำจัด ศัตรูพืชตกค้างในอาหาร ด้านไวรัสวิทยา และสัตว์แพทย์ สรุปได้ดังนี้
น้ำและปลา ตรวจหาสารพิษไซยาไนด์และสารกำจัดศัตรูพืชประเภทต่างๆ ประมาณ 100 ชนิด ได้แก้ สารกำจัดแมลงกลุ่มสารประกอบฟอสเฟต กับกลุ่มไพรีธรอยด์โดยใช้เครื่องแก้สโครมาโตกราฟ กลุ่มคาร์บาเมต โดยเครื่องลิควิคโครมาโตกราฟ สารโรติโนน (สารสำคัญในโล่ติ้น) นิโตคิน (สารสำคัญในใบยาสูบ) และสารกำจัดหญ้าพาราควอต โดยวิธีกลั่นแยกส่วนและตรวจปฏิกริยาทางเคมี ผลปรากฎว่า ไม่พบสารดังกล่าว ในน้ำและปลาทุกตัวอย่าง แม้จะทำให้น้ำเข้มข้นขึ้นถึง 50 เท่าแล้วก็ตาม สำหรับปลาได้ตรวจแยกเครื่องใน กับเนื้อ สำหรับการตรวจน้ำพบค่าความเป็น กรด-ด่าง (pH) ของน้ำในสระในวันที่ 2,3 และ 4 มกราคม 2541 มีค่า 7.7, 7.9 และ 7.5 ตามลำดับ (pH ปกติ=6.5-9.0)
จากการผ่าซากสุนัขที่ตายทั้ง 2 ตัว ตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้ากระเพาะอาหารมีลักษณะเป็นปกติ ไม่มีเศษอาหารในกระเพาะ และตรวจไม่พบสารกำจัดแมลง นิโคติน โรติโนน และสารสตริคนินในน้ำล้างกระเพาะและตับสุนัข
นสพ. ดร.จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำคณะสัตว์แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของทีมงานได้เข้าร่วมดำเนินการเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2541 เวลา 8.30 น. โดยตรวจสอบคุณภาพน้ำ 3 จุด พบค่า DO 0.15-0.25 ppm เป็นค่าที่ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาน้ำจืด ซึ่งควรจะมีค่าไม่ต่ำกว่า 5 ppm เป็นค่าที่ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาน้ำจืด ซึ่งควรจะมีค่าไม่ต่ำกว่า 5 ppm สำหรับการวัดค่า แอมโมเนีย (NH3) พบว่ามีค่าสูงประมาณ 0.488-0.1708 ppm นอกจากนี้ยังได้ตัวอย่างปลาหลายชนิดไปตรวจวิเคราะห์ทางจุลวิทยาซึ่งจะได้ยืนยันสาเหตุการตายของปลาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จะทราบผลในวันศุกร์ที่ 9 มกราคม 2541--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท โรงแรมที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของคุณ
๑๗:๑๔ คอนติเนนทอล เปิดตัวเทคโนโลยี Ac2ated Sound เมื่อหน้าจอแสดงผลสามารถส่งเสียงได้ !
๑๖:๑๑ ออปโป้ชวนสัมผัสความงามประเพณีไทย ผ่านภาพพอร์ตเทรต จากวิดีโอสารคดี สีสันใหม่ ในวันสงกรานต์
๑๖:๕๙ ล้ำไปอีกขั้น. ไฟน์ไลน์ซักผ้าเข้มข้น ดีลักซ์ เพอร์ฟูม คริสตัล บูเก้ มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ Charming Booster
๑๖:๑๙ Phytomer Thailand เปิดตัวทรีทเม้นท์สำหรับผิวคนในเมืองที่จะต้องเผชิญภาวะฝุ่นละออง PM 2.5
๑๖:๒๕ เตรียมล็อคคิว หลิง-ออม ชวนแฟน ๆ ร่วมเบิร์ดเดย์ LINGORM BIRTHDAY CHARITY 2025 กดบัตร 20 เม.ย. นี้
๑๖:๓๐ โก โฮลเซลล์ ลุยเคาะรั้วมหาวิทยาลัย ชี้ช่องตำแหน่งงาน นำร่อง ม.มหาสารคาม เจาะนิสิตเฉพาะทาง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ ตอกย้ำ Brand Core
๑๖:๐๐ กรมการท่องเที่ยว ชวนผู้ประกอบการไทยอบรมออนไลน์ รู้ลึก เกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง Home Lodge
๑๖:๓๑ MOTHER ส่งซิกผลงาน Q1/68 เริ่ด!
๑๖:๓๖ บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมงาน Sustainability Week Asia 2025 ครั้งที่ 4 ฉายวิสัยทัศน์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ก้าวสู่เป้าหมาย Net