กรุงเทพ--28 พ.ย.--เบลล์ แลบอราทอรี่ส์
บรรดานักวิจัยที่เบลล์ แลบอราทอรี่ส์ ซึ่งเป็นหน่วยพัฒนาและ ค้นคว้าวิจัยของลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ที่เมอร์รี่ ฮิล (มลรัฐนิวเจอร์ซี) ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ใช้งานที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกเป็นผลสำเร็จ ทรานซิสเตอร์นี้มีขนาดเล็กกว่าเดิมถึงสี่เท่า มีความเร็วมากกว่าห้าเท่า และใช้พลังงานน้อยกว่า 60 ถึง 160 เท่าของทรานซิสเตอร์ธรรมดา
ในขณะที่เบลล์ แลบส์ และหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ต่างได้คิดค้นทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่มีส่วนประกอบทั้งหมดได้รับ การออกแบบให้มีขนาดใช้งานได้จริงสำหรับไมโครชิพ ความสำเร็จครั้งนี้จะนำไปสู่การสร้างแผงวงจรไฟฟ้ารวมประสิทธิภาพสูงซึ่งบรรจุทรานซิสเตอร์หลายพันล้านตัวสำหรับซิลิคอนชิพเพียงหนึ่งตัว เปรียบเทียบกับปัจจุบันที่บรรจุได้เพียงหลายล้านตัว
มร. มาร์ค พินโต หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของกลุ่มไมโครอีเล็คโทรนิคส์ของลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ กล่าวว่า “ในขณะที่เรากำลังเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ที่เบลล์ แลบส์ เรากำลังแสดงให้เห็นถึงการก้าวย่างเข้าสู่ยุค “นาโนอิเล็กทรอนิคส์” (nanoelectronics) โดยการพัฒนาเทคโนโลยี่เพื่อผลิตไมโครชิพรุ่นใหม่ในอนาคต ในยุคไมโครอิเล็กทรอนิคส์นั้น คุณสมบัติของชิพจะวัดกันที่หน่วยไมครอน หรือหนึ่งในล้านของเมตร แต่ในยุคนาโนอิเล็กทรอนิคส์ คุณสมบัติของชิพจะวัดกันที่หน่วยนาโนเมตร หรือ หนึ่งในพันล้านของเมตร
“นาโนทรานซิสเตอร์” ซึ่งอยู่ในขั้นทดลองมีขีดความสามารถเกินทรานซิสเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน โดยวัดจากคุณสมบัติหลัก คือ ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่สามารถไหลผ่านได้ต่อหนึ่งทรานซิสเตอร์และปริมาณของสัญญาณที่ถูกขยายส่งออกไปได้ต่อหนึ่งทรานซิสเตอร์ ดังนั้น ชิพในอนาคตซึ่งใช้เทคโนโลยี่ดังกล่าวเป็นพื้นฐานจะใช้พลังงานน้อยกว่ามาก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เครื่องมือสื่อสารและเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
“เทคโนโลยี่ใหม่นี้สามารถก้าวไปได้อีกไกลในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องของการยืดเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่, มีน้ำหนักที่เบา และขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการใช้งานของโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์แบบพกพา” มร. พินโต กล่าว “การลดปริมาณการใช้พลังงานทำให้การเชื่อมต่อของระบบมัลติมีเดียชนิดพกพาทำงานได้นานเป็นสัปดาห์ โดยใช้แบตเตอรี่เพียงก้อนเดียว และยังรวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ เช่น การปรับการทำงานอย่างอัตโนมัติกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายที่มีอยู่ทั่วโลกได้”
คาดว่าเทคโนโลยี่นี้จะเป็นที่สนใจอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณระบบดิจิตอล (digital signal processors-DSP) ซึ่งเป็นชิพชนิดที่ใช้สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ซึ่งลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ เป็นผู้นำรายหนึ่งของโลกในการผลิตอุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณระบบดิจิตอล (DSP)
มร. พินโต กล่าวเสริมว่า การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับนาโนทรานซิสเตอร์เกิดขึ้นได้เพราะความเชี่ยวชาญของเบลล์ แลบส์ในการเป็นผู้นำด้านการวิจัยในหลากหลายสาขา เช่น ความรู้เรื่องการสร้างแบบวงจรรวมด้วยลำอิเล็คตรอน (electron-beam lithography) ความรู้เรื่องวัสดุศาสตร์ (materials science) และการทำแผงวงจรเซมิคอนดัคเตอร์ (precision etching)
“นาโนทรานซิสเตอร์ทำให้เราก้าวล้ำนำหน้าในอุตสาหกรรม เพราะเป็นสิ่งซึ่งอุตสาหกรรม เซมิคอนดัคเตอร์คาดการณ์ว่าจะกลายเป็นเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยที่สุดนับจากปัจจุบันไปอีก 12 ปีข้างหน้า” มร. พินโต กล่าวนักวิทยาศาสตร์ของเบลล์ แลบส์ และผู้นำทีมวิจัย คือ มร. เกรก ทิมพ์ จะนำเสนอเรื่องราว ความสำเร็จดังกล่าวในวันที่ 8 ธันวาคม 2540 ที่งานการประชุมอุปกรณ์อิเล็คตรอนนานาชาติ (International Electron Devices Meeting - IEDM) ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญเกี่ยวกับ พัฒนาการของอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิคส์ โดยจะจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี ที่โรงแรมวอชิงตัน ฮิลตัน
ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมอร์รี่ ฮิลล์ มลรัฐนิวเจอร์ซี ออกแบบ สร้างและ จำหน่าย ระบบเครือข่ายที่หลากหลายของระบบพื้นฐานและเฉพาะกิจ ระบบสื่อสารและซอฟแวร์ ระบบชุมสายโทรศัพท์สาขาอัตโนมัติสำหรับองค์กรธุรกิจ และชิ้นส่วนไมโครอิเล็กทรอนิคส์ โดยมีเบลล์ ลาบอราทอรีส์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนงานด้านวิจัยและพัฒนา หากต้องการทราบข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ สามารถเปิดดูในเว็บไซด์ http://www.lucent.com.
----------หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อคุณปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล มร. อู เม็งบริษัท เพรสโก้ แชนด์วิค (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์ (65) 2408060โทรศัพท์ : 273 8800 โทรสาร (65) 240 8068โทรสาร : 273 8881 [email protected] : [email protected]
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ แนะนำผลิตภัณฑ์สำหรับระบบอินเตอร์เน็ตยุคใหม่ เพื่อตลาดผู้ให้บริการเชื่อมต่อสัญญาณและองค์กรธุรกิจ
- ธ.ค. ๒๕๖๗ อวาย่า เอเชีย แปซิฟิค อิ๊งค์ ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานเปิดตัวบริษัท วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2543
- ธ.ค. ๒๕๖๗ อวาย่า เอเชีย แปซิฟิค ทุ่มทุน 80 ล้านเหรียญพัฒนาธุรกิจในเอเชีย แปซิฟิค