แนวทาง 3 ข้อ บรรเทาปัญหาเลิกจ้าง

พุธ ๒๙ ตุลาคม ๑๙๙๗ ๑๔:๒๖
กรุงเทพ--29 ต.ค.--กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายเอกพร รักความสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาไตรภาคี เรื่องการปรับปรุงแก้ไขมาตรการและแนวทางปัญหาการเลิกจ้าง ณ ห้องพาโนราม่า 1 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ
นายเอกพร กล่าวว่า ความคิดใหม่ ๆ มีความจำเป็นในสังคมปัจจุบัน ยิ่งถ้าจะพูดถึงเรื่องการสัมมนาครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าคิดมาก เพราะผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นกุญแจสำคัญที่จะแก้ไขความสัมพันธ์ที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาทางกระทรวงแรงงานฯ ไม่เคยใช้คำว่า "นายจ้าง ตามที่สังคมเข้าใจ ส่วนมากจะใช้คำว่าผู้ประกอบการ ส่วนคำว่าลูกจ้างเป็นภาษาโบราณ หลังจากที่ประเทศไทยประกาศการเลิกทาส แล้วตามความจริงคำที่ควรจะถูกใช้คือคำว่าคนทำงานมากกว่า เมื่อเปลี่ยนความรู้สึกจากคำว่านายจ้าง ลูกจ้างไม่ได้ คนที่เป็นลูกจ้างจะต้องเข้าใจว่าเป็นคนทำงาน ฉะนั้น ถ้าพูดคำว่าลูกจ้างแล้วหมายถึงผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ แต่สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ลูกจ้างหมายถึง คนทำงาน ฝ่ายผลิตเป็นกุญแจของบ้านเมืองที่จะขับเคลื่อนผลักสังคมในฝ่ายของนายจ้างถ้าถูกเรียกว่านาย ก็จะสามารถคุ้มครองทุก ๆ เรื่องได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถูกกฎหมาย หรือผิดกฎหมาย ปัจจุบันนี้สังคมอาจจะไม่สามารถคุ้มครองได้ แม้กระทั่งตนเองเพราะเรามีปัญหาทั้งนอกและในประเทศ ฉะนั้นภาพของนายจ้างถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ประกอบการ นั่นคือมุมมองใหม่ของกระทรวงแรงงานฯ ที่จัดการบริหารประโยชน์ของประเทศจากคนในประเทศ ซึ่งปัจจุบันนี้ปัญหาทางเศรษฐกิจมีความล่มสลายทางสังคม จึงได้ระดมความคิดจากการสัมมนาเพื่อช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา ดังนั้นจึงขออนุญาตให้หลักคิด 3 ประการคือ
1. ความเป็นเอกภาพ การทำงานปัจจุบันต้องทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดเอกภาพ และในทีมต้องพูดความจริง ดังนั้นปัญหาในสถานประกอบการถ้าลูกจ้างรู้ความเป็นไปของบริษัท นายจ้างเข้าในจิตใจของลูกจ้างโอกาสจะขัดแย้งกันก็ลดลง นั่นคือหลักเบื้องต้นการทำงานเป็นเอกภาพ
2. จริยภาพ เรื่องจริยภาพเป็นความจำเป็นในสังคมในเวลานี้ ถ้าใจของคนในสังคมไทยขาดจริยภาพความเห็นแก่ตัวก็จะเกิดขึ้น
3. อัฉริยภาพ ถ้าเกิดปัญหาขึ้นเราต้องนึกถึงตนเองเป็นเบื้องต้น หาสมมุติฐาน หาต้นเหตุ สาเหตุจากตนเอง เมื่อจะต้องแก้ไขแต่ไปเกี่ยวข้องกับคนอื่นก็ค่อยติดต่อ และประสานงานกัน อัฉริยภาพเป็นเรื่องของความคิดที่บรรจุแล้ว
นายเอกพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาอย่างอัฉริยภาพแบ่งเป็น 3 ทางคือ
1. การแสวงหาความรู้
2. จิตนาการ การที่จะหลุดพ้นจากความยากจน ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความล่มสลายทางสังคม คนในสังคมต้องมีจิตนาการ
3. ความกล้าหาญ ต้องมีความคิดใหม่ ๆ กล้าทำในสิ่งที่ตกอยู่ในสภาวะการณ์ต่าง ๆ ให้ได้ เพราะแนวความคิดและสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้นทุกคนต้องช่วยแสดงความกล้าหาญส่วนตัวออกมา เอาปัญหาของบ้านเมืองจากเรื่องใหญ่ ๆ ให้เป็นเรื่องเล็ก จากเรื่องเล็ก ๆ ให้เป็นเรื่องไม่มีเลย ส่วนอุปสรรคต่าง ๆ ในวิธีนำเสนอนั้น ถ้ามีความกล้าหาญแล้วอาจจะลดได้--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ