TDB9: ไทยทนุรายงานผลประกอบการปี 2540

พุธ ๒๑ มกราคม ๑๙๙๘ ๒๐:๑๓
กรุงเทพ--20 ม.ค.--ธ.ไทยทนุ
ไทยทนุประกาศผลประกอบการปี 2540 ทำกำไรได้ 28.2 ล้านบาท เผยได้กันสำรอง 3,566 ล้านบาท ครบถ้วนตามกฏเกณฑ์ใหม่อันเข้มงวดของทางการเรียบร้อยแล้วในปี 2540 โดยไม่จำเป็นต้องรอปีถัดไป รวมทั้งยังได้มีการจำหน่ายเงินลงทุนในกลุ่ม 56 ไฟแนนซ์และหนี้สูญออกจากบัญชีทันที เพื่อให้งบการเงินมีความแข็งแกร่ง และก้าวสู่มาตรฐานสากล
นายพรสนอง ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการปี 2540 จากรายการย่อแสดงหนี้สิน และสินทรัพย์ (ธพ.1.1) ณ สิ้นธันวาคม 2540 ว่าผลประกอบการธนาคารโดยรวมมีการขยายตัวในอัตราที่ลดลงพอสมควร ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาวะการณ์ของเศรษฐกิจของประเทศ โดยมียอดสินทรัพย์จำนวน 130,266 ล้านบาท มียอดสินเชื่อลูกค้าจำนวน 115,814 ล้านบาท และยอดเงินฝากลูกค้าจำนวน 89,859 ล้านบาท และจากงบกำไรขาดทุนที่ยังไม่ได้สอบทานและยังไม่ได้ตรวจสอบ ณ สิ้น ธันวาคม 2540 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 28.2 ล้านบาท และที่สำคัญในสิ้นงวดปี 2540 ธนาคารได้กันสำรองฯจำนวนถึง 3,566 บาท ซึ่งเป็นการกันสำรองที่เพิ่มขึ้นในอัตรากว่าร้อยละ 153 เมื่อเทียบกันกับปี 2539 ที่สำรองไว้จำนวน 1,409 ล้านบาท
"จากตัวเลขประกอบการของธนาคารข้างต้น จะเห็นว่าการขยายตัวของธนาคารโดยรวมนั้นลดลง โดยเฉพาะการขยายตัวของกำไร ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการตั้งสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นทั้งประเภทต่ำกว่ามาตรฐานและประเภทสงสัยจะสูญ ตามกฏเกณฑ์ใหม่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะทำให้ธนาคารมีสัดส่วนสินทรัพย์จัดชั้นต่อเงินให้สินเชื่อ (ธพ.1.1) เพิ่มสูงขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 14.73 ซึ่งเชื่อว่าคุณภาพยังอยู่ในอันดับต้น ๆ ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย โดยสำหรับสินเชื่อที่ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกิน 6 เดือน ธนาคารก็ให้จัดชั้นประเภทของสินทรัพย์และให้ใส่เงินสำรองทันที เนื่องจากในอดีตธนาคารมีสำรองส่วนเกินจึงไม่เป็นภาระมากและไม่จำเป็นต้องทยอยตั้งสำรอง อีกสาเหตุหนึ่งคือการเสื่อมถอยของคุณภาพสินทรัพย์ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ทำให้ลูกค้าที่ดีบางรายไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดไว้ ส่งผลให้ตัวเลขสินทรัพย์จัดชั้นของธนาคารสูงขึ้น ซึ่งต้องกันสำรองทันทีโดยปริยาย และ ณ สิ้นปี 2540 ธนาคารก็ได้ดำเนินการตามกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของทางการได้เสร็จสิ้นทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงสิ้นปี 2541 ซึ่งก็รวมถึงการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS ของธนาคารที่สามารถสำรองไว้สูงกว่าที่กฏหมายกำหนดอีกด้วย"
นอกจากนี้ ธนาคารก็ได้มีการจำหน่ายเงินลงทุนประเภทหุ้นสามัญ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ปิดกิจการออกจากงวดบัญชีนี้ทันที ซึ่งรวมถึงการดำเนินนโยบายที่เข้มงวดในด้านของการตีค่าเงินลงทุนต่าง ๆ ในระดับราคาที่สะท้อนระดับความน่าเชื่อถือที่ลดลงอย่างต่อเนื่องด้วย ทั้งนี้เพื่อให้งบการเงินของธนาคารมีความแข็งแกร่ง และก้าวสู่มาตรฐานสากล
นายพรสนอง กล่าวเพิ่มเติมว่า การตั้งสำรองสูงถึง 3,566 ล้านบาท เป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความมีศักยภาพในการแข่งขันของธนาคาร อีกทั้งในส่วนของผู้ถือหุ้นเองก็ไม่ได้มีมูลค่าที่ลดลงอย่างมากแต่อย่างใด เพราะ ณ สิ้นธันวาคม 2540 ธนาคารยังมีฐานะของเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS ประมาณร้อยละ 11.3 ซึ่งสูงกว่าที่กฏหมายกำหนดคือร้อยละ 8.5 ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเม็ดเงินจากการประกาศเพิ่มทุนของธนาคารที่ได้เสนอขายให้กับกลุ่มธนาคารดีบีเอสจำนวน 6,000 ล้านบาท ที่จะเข้ามาประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ศกนี้ ก็จะยิ่งทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น และเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS สูงถึงเท่าตัวคือประมาณ ร้อยละ 17
"อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินต่อสถาบันการเงินไทย โดยเฉพาะการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาจากประชาชนผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ต่างประเทศ ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับระบบการเงินของประเทศมากมาย ทำให้หลายสถาบันขาดสภาพคล่อง จนในที่สุดต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน แต่ในส่วนของธนาคารไทยทนุในรอบปีที่ผ่านมา ธนาคารยังคงรักษาสภาพคล่องให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยไม่ได้มีการขอความช่วยเหลือจากองทุนฟื้นฟูฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากยังคงมีเงินฝากจากประชาชนที่ยังคงไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง และเมื่อธนาคารประกาศเพิ่มทุนครั้งล่าสุดยิ่งทำให้ประชาชนผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของธนาคารมากยิ่งขึ้น ทำให้ทั้งเงินฝาก สภาพคล่อง ความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ของธนาคารไทยทนุกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ดังเดิม"
นายพรสนอง ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อไปว่า ธนาคารไทยทนุจะต้องให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะรูปโฉมการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งรวมถึงภาวะเศรษฐกิจในปี 2541 ก็คงไม่เอื้ออำนวยอีกเช่นเคย ธนาคารจึงจะต้องมีคุณภาพสินทรัพย์ที่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และมีฐานของเงินกองทุนที่หนาแน่นพอที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับงบการเงินของธนาคาร ที่สำคัญการมีพันธมิตรต่างประเทศที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงก็จะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้ธนาคารไทยทนุสามารถฟันฝ่าอุปสรรคในอนาคตไปได้อย่างแน่นอน
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) กล่าวในที่สุด--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๓ LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๗:๕๐ แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๗:๒๑ ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๗:๕๒ CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๗:๔๘ TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๗:๕๙ คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๗:๓๕ ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๗:๒๕ PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๗:๔๔ PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๗:๓๘ PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว