ASIANET: ควอลคอมม์,อาซาฮีคาเซอิขยายเวลาหนังสือเจตจำนงจัดหาชิพเซ็ท

ศุกร์ ๑๐ กรกฎาคม ๑๙๙๘ ๑๓:๕๕
โตเกียว--10 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์เอเชียเน็ท
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาบริษัทควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรเต็ด ได้ประกาศว่า ทางบริษัทได้ขยายอายุหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) ที่ทำไว้กับบริษัทอาซาฮี คาเซอิ ไมโครซิสเต็มส์ (AKM) ออกไปเป็นเวลา 2 ปีเพื่อจัดหาชิพเซ็ทให้กับตลาด Code Division Multiple Access (CDMA) ในญี่ปุ่นต่อไป
ในขณะนี้ข้อตกลงใหม่นี้จะอนุญาตให้มีการจัดหาชิพเซ็ทเสริมที่ประกอบเข้ากับชิพ MSM 3000, IFT3000 และ IFR3000 ที่พัฒนาขึ้นใหม่ของควอลคอมม์ และ AKM-developed Audio Interface/Voice Codec รวมทั้ง Phase-Locked Loop (PLL) โดยชิพเซ็ทนี้จะทำการส่งสัญญาณ Intermediate Frequency (IF) โดยสมบูรณ์ และจะรับโซลูชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือในรุ่นต่อไปที่เป็นระบบ CDMA เท่านั้น
นายโดนัลด์ ชร็อค ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ ASIC Products ของควอลคอมม์ ได้กล่าวว่า "การร่วมงานของเรากับ AKM ประสบความสำเร็จอย่างมาก ไม่เพียงแต่สำหรับบริษัทของเราเท่านั้น แต่ลูกค้าของเราก็ยังได้ประโยชน์จากชิพเซ็ท 3 ระบบในระดับโลกอีกด้วย อันได้แก่ CDMA, J-TACS, N-TACS ในโทรศัพท์มือถือยุคปัจจุบัน ซึ่งจากการรวมความแข็งแกร่งหลักๆของเราในเทคโนโลยี CDMA เข้ากับการออกแบบชิพที่มีความสามารถในการสนับสนุนการใช้งานอย่างก้าวหน้า เราสามารถนำโซลูชั่นที่ดีที่สุดเข้าสู่ตลาดโดยเร็ว"
อุปกรณ์ AKM PLL/Codec ใหม่ ที่รู้จักกันในชื่อ AK2486 รวมกับ MSM3000,IFT/IFR3000 และ RF front-end ทำให้การออกแบบโทรศัพท์มือถือขนาดเล็กมาก มีคุณประโยชน์สูงสุดสำหรับแผนความถี่ระบบ CDMA ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ อุปกรณ์ AK2486 และ IFT/IFR3000 ใช้การควบคุม serial bus interface (SBI) แบบพิเศษจาก MSM3000 ที่มีความสามารถสูงสำหรับการจัดการกับการอุปโภคในปัจจุบันและขยายระยะเวลาสำรองของโทรศัพท์มือถือ
นายโยชิฟูมิ โอชิมา ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์การสื่อสารของ AKM ได้กล่าวว่า "เรามีความยินดีที่จะขยายความสัมพันธ์ของเรากับควอลคอมม์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพเซ็ท CDMA ในช่วงที่ระบบ CDMA ได้กลายเป็นเทคโนโลยีชั้นนำในญี่ปุ่น ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาได้ทำให้เกิดการออกแบบที่ริเริ่มสร้างสรร รวมทั้งการใช้งานและผลที่เหนือกว่าสำหรับลูกค้าของเรา โดยความเชี่ยวชาญในสัญญาณระบบคละเคล้าที่ใช้พลังงานต่ำของ AKM และเทคโนโลยี CDMA ของควอลคอมม์ ถือว่าเป็นการรวมกันที่ดีเยี่ยม"
การประกาศนี้ได้มีขึ้นหลังประกาศเมื่อไม่นานมานี้ของควอลคอมม์เกี่ยวกับการส่งมอบปริมาณการผลิตชิพเซ็ท MSM2310 และการส่งมอบตัวอย่างชิพเซ็ท MSM3000 ในรุ่นที่ 5 โดยในขณะที่มีการทำข้อตกลงให้ใบอนุญาตที่ได้มีการประกาศไปสำหรับเครื่องมือการพัฒนาซอฟท์แวร์ ARM ชิพเซ็ทของควอลคอมม์ก็ยังคงเป็นชิพเซ็ทที่ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด
นายโจฮัน โลเดเนียส รองประธานด้านการตลาดของฝ่าย ASIC Products ของควอลคอมม์ ได้กล่าวว่า "ในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นตลาดเซลลูลาร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในโลก ญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นตลาดยุทธศาสตร์สำหรับควอลคอมม์ ซึ่งเป็นตลาดที่ผู้บริโภค, ผู้ให้บริการ และผู้ผลิต ได้รับเทคโนโลยี CDMA อย่างรวดเร็ว ซึ่งการขยายการร่วมงานของเราจะทำให้เราสามารถรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันของเราเอาไว้ในภูมิภาคที่มีการแข่งขันสูงนี้"
ทั้งนี้ บริษัทอาซาฮี คาเซอิ ไมโครซิสเต็มส์ (AKM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ที่บริษัทอาซาฮี เคมิคัล อินดัสตรีย์ ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว ได้เข้ามาทำธุรกิจ LSI ในเดือนมิ.ย.ปี 1983 โดยสายผลิตภัณฑ์ของ AKM ได้รวมถึง LSIs และ ASSPs แบบสมบูรณ์สำหรับการสื่อสารเคลื่อนที่, การถ่ายทอดในระบบดิจิตอล, การใช้ PC audio และ audio/video ระบบดิจิตอล และอิงตามเทคโนโลยีอนาล็อก/ดิจิตอลที่คละเคล้ากันของ CMOS
บริษัทควอลคอมม์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานดิเอโก้ รัฐแคลิฟอร์เนียนั้น ได้พัฒนา, ผลิต, จำหน่าย, ให้ใบอนุญาต และดำเนินการระบบการสื่อสารและผลิตภัณฑ์ที่ก้าวล้ำบนพื้นฐานของเทคโนโลยีไร้สายระบบดิจิตอลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของทางบริษัท
ทั้งนี้ ขอบเขตผลิตภัณฑ์หลักๆของบริษัทได้แก่ ระบบ OmniTRACS (R) (ซึ่งเป็นระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ผ่านดาวเทียมบนสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะให้บริการรายงานตำแหน่งและข้อมูลทั้งส่งไปและตอบกลับ), ระบบการสื่อสารแบบไร้สายและผลิตภัณฑ์ในระบบ CDMA, การพัฒนาระบบ Globalstar (TM) ซึ่งเป็นระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมแบบวงโคจรระดับต่ำ
นอกเหนือจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆของบริษัทยังรวมถึง Eudora Pro (TM) ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์สำหรับการส่งข้อความทางอิเล็คทรอนิคส์, ผลิตภัณฑ์ ASIC, และอุปกรณ์รวมทั้งระบบสื่อสารสำหรับรัฐบาลและลูกค้าในเชิงพาณิชย์ทั่วโลก
สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของควอลคอมม์นั้นสามารถเปิดดูได้ที่เว็บไซด์ของบริษัทที่ http://www.qualcomm.com/ซึ่งนอกเหนือจากจะประกอบไปด้วยข้อมูลทางด้านประวัติความเป็นมาของบริษัทแล้ว ข่าวประชาสัมพันธ์นี้ยังประกอบไปด้วยคาดการณ์แนวโน้ม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ ที่รวมถึงการพัฒนาและการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทในเชิงพาณิชย์ตามเวลาอันสมควร รวมทั้งความเสี่ยงอื่นๆที่ได้มีการระบุรายละเอียดในบางครั้งในรายงาน SEC ของทางบริษัท ซึ่งรวมถึงรายงานเกี่ยวกับ Form 10-K สำหรับปีงบการเงินที่สิ้นสุดลงในวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา และ Form 10-Q ฉบับล่าสุด
ทั้งนี้ ควอลคอมม์, OmniTRACS, QCELP, และ Eudora ต่างก็เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน และ Eudora Pro, MSM, MSM2310 และ MSM3000 เป็นเครื่องหมายการค้าของควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรเต็ด ส่วน Globalstar เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทลอรัล ควอลคอมม์แซทเทิลไลท์ เซอร์วิสเซส อินคอร์ปอเรเต็ด และ ARM เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Advanced RISC Machines Limited --จบ--
--บิสนิวส์แปลและเรียบเรียง-สจ/กก--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย
๐๙:๑๘ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัด Pitching day การเขียนโฆษณา และ การเล่าเรื่องผ่านแคมเปญ
๐๙:๔๔ รมว.เอกนัฏ โชว์ ดีพร้อม หนุนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ในงาน ShowPow ต้อนรับปีใหม่ ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น
๐๙:๓๒ กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หารือแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล)
๐๙:๐๘ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ภายใต้โครงการ อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย