คณะกรรมการเจ้าหนี้ทีพีไอขอให้บริษัทปฏิบัติตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ที่ตกลงกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

อังคาร ๐๗ ธันวาคม ๑๙๙๙ ๑๔:๒๑
กรุงเทพ--7 ธ.ค.--บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย
กรุงเทพมหานคร 03 ธันวาคม 2542: วันนี้ คณะกรรมการเจ้าหนี้ของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI แถลงว่า บริษัท TPI ได้แสดงเจตนาไม่ยอมรับแผนปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บริษัท TPI มีมูลหนี้ประมาณ 3,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหนี้จำนวนเกือบครึ่งเป็นหนี้ของสถาบันการเงินไทย ขณะที่เจ้าหนี้ทั้งหมดของบริษัทมีจำนวน 150 ราย โดยเป็นสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศ
คณะกรรมการเจ้าหนี้ ได้พิจารณาเห็นว่า แผนปรับโครงสร้างหนี้ที่ TPI ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงและยื่นต่อคณะกรรมการเจ้าหนี้ควรจะนำขึ้นมาพิจารณาภายหลังจากการลงนามอย่างเป็นทางการในข้อตกลงที่ได้เห็นชอบร่วมกันก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ในแผนดังกล่าวบริษัท TPI ได้เสนอให้แก้ไขเนื้อหาสำคัญหลายประการ รวมทั้งการเพิ่มทุนที่ให้ดำเนินการก่อนเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อแก้ไขที่ TPI เสนอมานั้นอาจจะต้องมีการเจรจารอบใหม่ที่ยืดเยื้อยาวนานอีก ทั้งนี้ คณะกรรมการเชื่อว่าหากแผนได้รับการปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ทั้งเจ้าหนี้และบริษัท TPI จะได้ประโยชน์ร่วมกัน
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542 บริษัท TPI และเจ้าหนี้ได้เห็นชอบในแผนการปรับโครงสร้างหนี้ที่ร่างขึ้นเป็นเอกสารสัญญา (Term Sheet) จำนวน 70 หน้า โดยร่างเอกสารดังกล่าวได้แปลงเป็นข้อตกลง และส่งมอบให้กับบริษัท TPI แล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 และต่อมา ร่างเอกสารดังกล่าวได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง โดยข้อตกลงฉบับล่าสุดได้ส่งมอบให้กับบริษัท TPI แล้วเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2542 ทว่าเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา TPI ได้ยื่นข้อเสนอที่ไม่ได้มีการเจรจากันก่อนหน้านี้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสำคัญหลายประการที่บริษัทได้ตกลงไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542
คณะกรรมการคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่บริษัท TPI ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ได้ยืนยันต่อที่ประชุมว่าจะลงนามในสัญญาเพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้หลังจากที่ใช้เวลาในการเจรจาเกือบ 2 ปี อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเชื่อว่าการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้เห็นชอบร่วมกันเป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหนี้ในประเทศที่มีความสำคัญยิ่ง นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการแก้ไขปัญหาของ TPI ด้วยวิถีทางที่ดีที่สุดต่อทุกฝ่าย และต้องการให้ผลประโยชน์ของทุกฝ่ายได้รับการปกป้องอย่างเป็นธรรม
คณะกรรมการเจ้าหนี้ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า เจ้าหนี้ไม่มีเจตนาที่จะต่อต้านแผนการเพิ่มทุนของ TPI เพราะในร่างเอกสารที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้าได้กล่าวถึงการเพิ่มทุนของบริษัทในอนาคตไว้เช่นกัน ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่าทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องตกลงในเรื่องพื้นฐานให้สำเร็จเป็นอันดับแรก และจึงลงนามในสัญญา ซึ่ง TPI จะมีเวลาเพียงพอที่จะหานักลงทุนที่เหมาะสมที่สุดที่จะสามารถช่วยให้บริษัทเติบโตต่อไปทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศในระยะยาว
คณะกรรมการเจ้าหนี้ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ของ TPI ซึ่งครองสัดส่วนหนี้มากกว่าร้อยละ 68 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด โดยสถาบันการเงินดังกล่าวได้แก่ ธนาคารออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซิตี้แบงก์ ธนาคารส่งออก-นำเข้าสหรัฐอเมริกา บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ธนาคาร KfW ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซันวา ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด และธนาคารส่งออก-นำเข้าเกาหลี เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา TPI ประกาศว่าบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้ แต่กลุ่มเจ้าหนี้ยังคงดำเนินกระบวนการเจรจาอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเจ้าหนี้ได้จัดการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการเรื่อยมาจนกระทั่งสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันในร่างเอกสารในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาในที่สุด ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันให้บริษัท TPI ยืดระยะเวลาการชำระหนี้กับเจ้าหนี้การค้า และให้คณะผู้บริหารและผู้ถือหุ้นชุดปัจจุบันของบริษัทยังคงทำหน้าที่ควบคุมและบริหารบริษัทได้ต่อไปหากไม่มีการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมกรรมเจ้าหนี้ได้แจ้งให้ TPI รับทราบว่าหาก TPI ไม่ดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ภายในวันที่ 17 มกราคม 2543 ทางคณะกรรมการจะแสวงหาแนวทางอื่นเพื่อให้ TPI ดำเนินการตามแผนที่ตกลงกันไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2542--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๓ LE โชว์ผลงาน Q3/67 กำไรทะยาน 312% รายได้อยู่ที่ 720 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง ล่าสุดกอด Backlog แน่น 1,300
๑๗:๕๐ แม็คโคร พัทยา ปรับโฉมใหม่ รองรับกำลังซื้อช่วงไฮซีซั่น พร้อมจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้าส่งท้ายปี ส่งมอบความคุ้มค่าทั่วเมืองพัทยา
๑๗:๒๑ ยันม่าร์ โชว์นวัตกรรมการเกษตร ในงานประชุมใหญ่ชาวไร่อ้อยสามัญประจำปี พร้อมฉลองครบรอบ 45 ปี สนับสนุนเงินดาวน์แทรกเตอร์ถึง 3
๑๗:๕๒ CHAYO งบ Q3/67 สุดปังทั้งรายได้และกำไร งวด 9 เดือนรายได้พุ่ง 38.85% มั่นใจรายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 20%
๑๗:๔๘ TNP เข้ารับเกียรติบัตร CAC ในฐานะบริษัทฯ ที่ได้รับการต่ออายุรับรองครั้งที่ 2 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในภาคเอกชนไทย
๑๗:๕๙ คริสตัล โฮม ร่วมกับ AXOR จัดเวิร์กชอป The Power of Colors เผยเคล็ดลับดีไซน์ห้องน้ำหรูด้วยสีสันที่โดดเด่น
๑๗:๓๕ ทีเอ็มบีธนชาต ชวนซื้อสลากกาชาดทีทีบี ได้บุญ พร้อมลุ้นโชค 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การให้ บำรุงสภากาชาดไทย
๑๗:๒๕ PRTR ประกาศงบ Q3/67 กำไรนิวไฮอีกครั้ง โตกว่า 14% ธุรกิจ Outsource ดาวเด่น คาด Q4/67 ดีมานด์พุ่ง
๑๗:๔๔ PLUS ส่ง Coco Royal ลุยช่องทางการขายชั้นนำในจีน ดันยอดขายพุ่ง รับออเดอร์ลูกค้ารายใหญ่ พร้อมเดินหน้าเต็มกำลังการผลิต
๑๗:๓๘ PRAPAT ฟอร์มแกร่ง! กวาดกำไร Q3/67 โต 77% แตะ 17.49 ล้านบาท รับปัจจัยหนุนจากรายได้กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านครัว