กรุงเทพ--17 มี.ค.--การไฟฟ้านครหลวง
นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้กำกับดูแลการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้ หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง ปรับปรุงการให้บริการประชาชน ให้เกิด ความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั้น ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัด พิจารณาหา ช่องทางเพิ่มการบริการประชาชน โดยให้หลักการว่าประชาชนต้องได้รับความสะดวก รวดเร็วกว่าเดิม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
"รองปลัดกระทรวงมหาดไทย คุณประมวล รุจนเสรี ซึ่งท่านเป็นประธาน คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ได้นำนโยบายนี้ไปให้ทางการไฟฟ้านครหลวง พิจารณาดำเนินการ ซึ่งการไฟฟ้านครหลวง ได้เสนอให้เพิ่มช่องทางการให้บริการ ประชาชน ในเรื่องของการบริการรับชำระค่าไฟฟ้า โดยให้บริษัทเคาท์เตอร์เซอร์วิส รับดำเนินการ ซึ่งทางคณะกรรมการ กฟน.ได้มีมติเห็นชอบ" นายเกียรติชัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบปริมาณผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 1 ล้าน 9 แสนราย พบว่า ร้อยละ 64 หรือประมาณ 1 ล้าน 2 แสนราย ชำระผ่านพนักงานเก็บเงินที่ไปเก็บ เงินตามบ้าน, ร้อยละ 13 หรือประมาณ 2.5 แสนรายชำระผ่านบัญชีธนาคาร ส่วน ที่เหลืออีก ร้อยละ 23 หรือประมาณ 4 แสน 4 หมื่นราย เดินทางมาชำระ ณ ที่ทำ การของการไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขา เท่ากับว่า ในแต่ละวันจะมีคนออกเดิน ทางจากบ้านมาที่ทำการไฟฟ้าเขต หรือสาขาเพื่อชำระค่าไฟฟ้าถึงวันละ 2 หมื่นราย ซึ่งหากสามารถทำให้ประชาชน 2 หมื่นรายชำระค่าไฟฟ้าได้ใกล้ ๆ บ้าน โดยไม่ ต้องเดินทางมา ณ การไฟฟ้านครหลวงเขตหรือสาขา จะเป็นการอำนวยความสะดวก ได้มากขึ้น
ผมทราบว่า แม้ทางการไฟฟ้านครหลวงพยายามเพิ่มสาขาการให้บริการ มากขึ้น จนปัจจุบันมีสำนักงานเขตและสาขาอยู่ถึง 24 แห่ง และจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ ถ้าจะให้ประชาชนได้รับความสะดวก จำเป็นต้องเพิ่มจุดบริการรับชำระค่าไฟฟ้า ซึ่ง ตรงนี้ จำเป็นต้องอาศัยบริษัทเอกชนเข้ามารับภาระ โดยต้องเป็นบริษัทที่มีขีดความ สามารถ ติดตั้งจุดให้บริการกระจายไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ และที่สำคัญคือ ต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ในเรื่องของ การออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน นอกจากนี้คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ยังได้เปิดโอกาสให้กับภาคเอกชนทุกบริษัทที่อยู่ในเงื่อนไขดังกล่าว และเสนอตัวเข้า มาเป็นบริษัทตัวแทนรับชำระค่าไฟฟ้า เช่นเดียวกับบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด
นายเกียรติชัย กล่าวต่อว่า บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด มีจุด บริการติดตั้งอยู่ประจำ ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันทุกสาขา, ห้างโลตัสซูปเปอร์ เซ็นเตอร์ และร้าน 7-ELEVEN ที่มีเครื่องหมายของบริษัทติดตั้งอยู่ ประมาณ 52 สาขา ซึ่งทางบริษัทสามารถเพิ่มจุดบริการได้ประมาณปีละ 50 แห่ง ทำให้ประชาชน มีโอกาสชำระค่าไฟฟ้าได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดและใกล้บ้านมากขึ้น เป็นการอำนวย ความสะดวกแก่ประชาชนและช่วยลดปัญหาการจราจรในวันทำการหรือในชั่วโมงเร่ง ด่วนอีกทางหนึ่ง
สำหรับการชำระค่าไฟฟ้าผ่านจุดบริการบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิสนั้น ผู้ ใช้ไฟฟ้าสามารถนำใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า พร้อมเงินสดค่าไฟฟ้า ไปชำระได้ โดยทาง บริษัทจะออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อย่างย่อให้ หลังจากรับใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษีแล้ว ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องตรวจสอบหมายเลขเครื่องวัดฯ และ จำนวนเงิน ค่าไฟฟ้า ให้ถูกต้อง หากมีข้อผิดพลาดสามารถยกเลิก และขอแก้ไขได้ ณ จุดให้ บริการนั้น ๆ หากมีการขอแก้ไขหรือยกเลิกในวันรุ่งขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดต่อการไฟฟ้า นครหลวงเขตหรือสาขา ด้วยตนเอง
นายเกียรติชัย กล่าวตอนท้ายว่า การชำระค่าไฟฟ้า ผ่าน บริษัทเคาน์ เตอร์เซอร์วิส ทางบริษัทคิดค่าบริการ รายการละ 15 บาท แต่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้อง เสียค่าบริการในส่วนนี้แต่อย่างใด เพราะทางการไฟฟ้านครหลวง จะเป็นผู้รับภาระ ค่าใช้จ่าย 15 บาทนี้แทน ถือเป็นการอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ในระหว่างนี้ ทางการไฟฟ้านครหลวง กับทางบริษัทกำลังอยู่ในช่วงการพิจารณา รายละเอียดของสัญญา คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้เร็ว ๆ นี้
** บริการรับชำระค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวงเปิดให้บริการตามปกติ ได้แก่
- ชำระผ่านพนักงานหรือตัวแทน ณ สถานที่ใช้ไฟฟ้าฯ
- ชำระ ณ ที่ทำการเขตหรือสาขาของการไฟฟ้านครหลวง
- ชำระโดยตั๋วแลกเงินหรือธนาณัติผ่านทางไปรษณีย์
- ชำระผ่านทางบัญชีเงินฝากของธนาคาร --จบ--
- พ.ย. ๒๕๖๗ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ พรรคชาติพัฒนา
- ๒๔ พ.ย. กรมที่ดินเริ่มแล้ว เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินให้ประชาชน 69 จังหวัด รมช.ทรงศักดิ์ มอบนโยบายแก่เจ้าหน้าที่ เน้นย้ำปฏิบัติงานตามกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด
- ๒๓ พ.ย. กปภ. เดินหน้ายกระดับองค์กร ยกระดับบริการประชาชน ด้วยนโยบาย PWA FIRST
- ๒๓ พ.ย. กรมโยธาธิการและผังเมือง เตรียมพร้อม จัดงานสัมมนาเนื่องในวันผังเมืองโลก 8 พฤศจิกายน 2567 "Urban Solution for Climate Crisis : เมืองเพื่อการรองรับวิกฤตภูมิอากาศ"