กรุงเทพ--20 ต.ค.--สกศ.
ดร.รุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ และทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัขจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม "การศึกษา" เป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นวิกฤตเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางทางการศึกษา จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองและครู เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งมีต่อค่าใช้จ่ายในการเรียนของนักเรียนและการปฏิบัติงานของครู เพื่อเป็นข้อมูลในการเสนอแนะและแสวงหาแนวทางในการแก้ไข
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กล่าวต่อไปว่า สกศ.ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม และตลอดเดือนกันยายน 2540 โดยประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ปกครองของนักเรียนและครูทั่วประเทศ สำหรับกลุ่มตัวอย่าง ผูวิจัยได้สุ่มจากโรงเรียนในสังกัด สปช. และเทศบาลจากทุกภาคทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 229 โรง ซึ่งได้รับแบบสอบถามตอบกลับมา จำนวน 7,541 ฉบับ จำแนกเป็นของผู้ปกครอง จำนวน 5,547 ฉบับ และของครู จำนวน 1,994 ฉบับ
ผลสำรวจในกลุ่มผู้ปกครอง พบว่า
1. ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่มีต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของนักเรียนในปกครอง เกือบ 90% ของผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างต่างกล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรหลานในปกครอง โดยค่าใช้จ่ายที่ได้รับผลกระทบ คือ ค่าอาหาร/ขนม/เครื่องดื่ม ค่เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และค่าอุปกรณ์การเรียน
2. วิธีการแก้ไขปัญหาด้านค่าใช้จ่ายของนักเรียนที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่กระทำ คือ หาทางหารายได้ให้เพิ่มขึ้น โดยไม่ลดค่าใช้จ่ายของบุตรหลาน (ร้อยละ 58) ในขณะที่ผู้ปกครองส่วนหนึ่งจะลดเงินให้เด็กที่ไปโรงเรียน (ร้อยละ 36) ส่วนการให้เด็กหยุดเรียนมาช่วยทำงานหรือรุนแรงถึงขั้นให้เด็กลาออกมาทำงานมีน้อยมาก (ร้อยละ 3)
3. ระดับการศึกษาที่ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้เรียนมากที่สุด ซึ่งอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 26) ม.ปลายหรือ ปวช. (ร้อยละ 25) และสูงกว่าปริญญาตรี (ร้อยละ 24)
4. วิธีการที่ผู้ปกครองต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ ส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือด้วยการให้นักเรียนได้เรียนฟรีถึงชั้น ม.6 (ร้อยละ 45) รองลงไปคือ ช่วยค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียน เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่าหนังสือ (ร้อยละ 23) และการลดค่าบำรุงการศึกษา ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นที่โรงเรียนเก็บจากนักเรียน (ร้อยละ 17) ตามลำดับ
ผลของการสำรวจของครู พบว่า
1. ความรู้สึกที่ทราบว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เกือบ 90% กล่าวว่า รู้สึกตกใจ ไม่คาดคิดมาก่อน
2. สิ่งที่กลัวมากที่สุดในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ คือ การที่สินค้าจะมีราคาแพงขึ้น (ร้อยละ 59) รองลงไปคือ การศึกษาของประเทศจะได้รับผลกระทบ การพัฒนาการศึกษาจะต้องชะลอตัว (ร้อยละ 34) นอกนั้น ปรากฏว่า ได้รับความสนใน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นการไม่ขึ้นเงินเดือน หรือได้งบประมาณน้อยลง
3. ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ครูได้รับในปัจจุบัน ส่วนใหญ่กล่าวว่า ได้รับผลกระทบแล้ว คือสินค้ามีราคาแพง (ร้อยละ 74)
4. ฐานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ครูส่วนใหญ่จะมีหนี้สินมาก หรือมีหนี้สินแต่ไม่มาก (ร้อยละ 40 และ 39) ตามลำดับ และผู้ที่ไม่มีเหลือเก็บ แต่ไม่มีหนี้สิน เหลือเก็บบ้าง จนถึงมีความเป็นอยู่อย่างสบายมีน้อยถึงน้อยมาก เพราะมากกว่า 90% ของครู ไม่ได้ทำอาชีพเสริม
5. วิธีการที่ผู้ปกครองต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ ส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐช่วยเหลือด้วยการให้นักเรียนได้เรียนฟรีถึงชั้น ม.6 (ร้อยละ 45) รองลงไปคือ ช่วยค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียน เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่าหนังสือ (ร้อยละ 23 ) และการลดค่าบำรุงการศึกษา ตลอดจนค่าใช้จายอื่นที่โรงเรียนเก็บจากนักเรียน (ร้อยละ 17) ตามลำดับ
ผลการสำรวจของครู พบว่า
1. ความรู้สึกที่ทราบว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เกือบ 90% กล่าวว่า รู้สึกตกใจ ไม่คาดคิดมาก่อน
2. สิ่งที่กลัวมากที่สุดในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ คือ การที่สินค้าจะมีราคาแพงขึ้น (ร้อยละ 59) รองลงไปคือ การศึกษาของประเทศจะได้รับผลกระทบ การพัฒนาการศึกษาจะต้องชะลอตัว (ร้อยละ 34) นอกนั้น ปรากฎว่า ได้รับความสนใจน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นการไม่ขึ้นเงินเดือน หรือได้งบประมาณน้อยลง
3. ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ครูได้รับในปัจจุบัน ส่วนใหญ่กล่าวว่า ได้รับผลกระทบแล้ว คือ สินค้ามีราคาแพง (ร้อยละ 74)
4. ฐานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ครูส่วนใหญ่จะมีหนี้สินมาก หรือมีหนี้สินแต่ไม่มาก (ร้อยละ 40 และ 39) ตามลำดับ และผู้ที่ไม่มีเหลือเก็บ แต่ไม่มีหนี้สิน หรือมีเหลือเก็บบ้าง จนถึงมีความเป็นอยู่อย่างสบายมีน้อยถึงน้อยมาก เพราะมากกว่า 90% ของครู ไม่ได้ทำอาชีพเสริม
5. หากเศรษฐกิจไม่ดีขึ้น จนกระทบถึงความเป็นอยู่ ส่วนใหญ่กล่าวว่า ไม่มีกำลังใจสอบ และทำให้การสอน และทำให้การเรียนการสอนไม่มีคุรภาพ (ร้อยละ 45) ส่วนครูอีกกลุ่มหนึ่งจำนวนไม่น้อย (ร้อยละ 39) มีความคิดเห็นตรงกันข้ามกัน คือ จะปฏิบัติหน้าที่ไปตามปกติ เพราะครูต้องมีความอดทน
6. ถ้ารัฐบาลให้ความช่วยเหลือครู โดยเพิ่มเงินเดือน ตั้งกองทุนให้กู้กดอกเบี้ยต่ำ หรือให้ครูทุกคนเบิกค่าเช่าบ้านได้ ครูส่วนใหญ่เลือกที่จะให้เพิ่มเงินเดือนมากขึ้นเป็นกรณีพิเศษ แบบสาขาขาดแคลนมากที่สุด (ร้อยละ 46) รองลงไปคือ การตั้งกองทุนให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ (ร้อยละ 32)
7. กรณีที่มีอาชีพหรืองานอื่นให้เงินเดือนมากกว่าที่ได้รับ ครูส่วนใหญ่กล่าวว่า อาจจะเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเหล่านั้น หากมีความมั่นคงแบบราชการ (ร้อยละ 60) สำหรับผู้ที่กล่าวว่า จะไม่เปลี่ยนอาชีพ มีประมาณร้อยละ 31 และผู้ที่คิดว่าจะต้องเปลี่ยนอาชีพแน่นอน หากได้รับเงินเดือนมากกว่าเพียงร้อยละ 10
อนึ่ง เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขสำหรับผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง "ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจต่อการศึกษา" ในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2540 เวลา 09.00-13.00 น. โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายมนตรี ด่านไพบูลย์) รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (นายปราโมทย์ โชติมงคล) รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายไพบูลย์ เสียงก้อง) ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. (นายพุธทรัพย์ มณีศรี) รวมทั้งอธิการบดีสถาบันราชภัฏ คณบดีจากมหาวิทยาลัย สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป จึงขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาในวันและเวลาดังกล่าว โทร. 668-7123 ต่อ 1114-9--จบ--