งานแรก รมช.ทศพร เปิดประชุม คกก.จัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน

พุธ ๒๙ ตุลาคม ๑๙๙๗ ๑๓:๕๔
กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายทศพร มูลศาสตรสาทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นประธานการประชุมครั้งที่ 1 ของคณะกรรมการจั้ดงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนครั้งที่ 3 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพประมาณเดือนธันวาคม 2541 โดยคณะกรรมการมาจากประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ ได้แก่ บรูไน พม่า ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานและกรอบการจัดแข่งขัน ซึ่งตามข้อตกลงจะจำกัดในการแข่งขัน 14 สาขาช่าง ได้แก่ ช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ (CAD) ช่างเชื่อม ช่างต่อประกอบมุมไม้ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ช่างซ่อมรถยนต์ พนักงานประกอบอาหาร พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม ช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ช่างกลึง และพนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ประเทศที่จะส่งเยาวชนเข้าแข่งขันจะต้องระบุสาขา กำหนดนัดหมายวันประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาข้อสอบแข่งขันจาก IVTO หรือ International Vocational Training Organization พร้อมทั้งกำหนดวัน สถานที่แข่งขัน กำหนดจำนวนคณะผู้แทนของทีมชาติแต่ละประเทศ พิจารณาแก้ไขกฎข้อบังคับของการแข่งขัน รวมถึงกำหนดประเทศเจ้าภาพในการจัดงานครั้งที่ 4
นายทศพลกล่าวว่า แรงงานฝีมือเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแม้ในระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพอย่างยั่งยืน ให้สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้าในระดับโลกได้ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม สถาบันอาชีวศึกษา สถาบันการฝึกอาชีพและองค์กรเอกชนที่จัดแข่งขันฝีมือแรงงานขึ้นทั้งระดับชาติและระดับอาเซียนจะเป็นมาตรฐานในการพัฒนาทรัพยากรแรงงานของประเทศสมาชิกได้ต่อไป กับทั้งยังจะได้เป็นหนทางพิสูจน์ให้ประชาคมโลกได้รับรู้และยอมรับมาตรฐานนี้เทียบเท่ามาตรฐานโลก ซึ่งจะเป็นเครื่องมือต่อรองทางการค้าในภูมิภาคต่าง ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมความเชื่อมั่นในการมาลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้เป็นอย่างดี
รมช.แรงงานฯ กล่าวด้วยว่าแม้ตนจะเพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียงวันเดียวและรับผิดชอบงานในส่วนกรมประชาสงเคราะห์ แต่ตนก็เห็นว่ากระทรวงแรงงานฯ เน้นการทำงานเป็นทีมมีการประสานงานโยงใยไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ไม่จำกัด เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะการชะลอการเลิกจ้าง ซึ่งเรื่องนี้ต้องดูงานใกล้มือที่สุด เช่น ตำแหน่งอัตรางานต่าง ๆ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ควรพิจารณาจัดสรรให้คนในพื้นที่ก่อนเป็นอันดับแรกโดยเฉพาะในภูมิภาค เพื่อเป็นการกระจายงานสู่ชนบทพร้อมทั้งส่งเสริมให้คนอยู่ใกล้ชิดครอบครัวลดปัญหาเศรษฐกิจสังคมได้ ส่วนปัญหาแรงงานต่างตัวนี้ตนเห็นว่าปัญหาเกิดจากงานที่คนกลุ่มนี้ทำมักเป็นงานหนัก สกปรก คนไทยจึงไม่ทำกันแต่ถ้ามีการปรับปรุงแล้วเชื่อว่าคนไทยคงเข้ามาทำมากขึ้นก็จะผลักดันแรงงานต่างด้าวไปในที่สุด แต่ทั้งนี้หากควบคุมแรงงานต่างด้าวมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายก็จะมีผลคุ้มครองด้านต่าง ๆ เหมือนคนไทยทุกประการ อย่างไรก็ตาม หากมีการปฏิบัติไม่เป็นไรตามกฎหมายในเรื่องนี้แล้วก็จะต้องดำเนินไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero