หญิงไทยนิยมผ่าท้องมากกว่าคลอดปกติ มีอัตราเพิ่มสูงถึง 22.4%

จันทร์ ๓๐ มิถุนายน ๑๙๙๗ ๑๙:๒๐
กรุงเทพ--30 มิ.ย.--สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หรือสวรส. วิจัยพบหญิงไทยนิยมผ่าท้องคลอดบุตรปี 2539 สูงถึง 22.4% จากการศึกษาโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ
นายแพทย์วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร นักวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการวิจัยแบบแผนการคลอดบุตรในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ 344 แห่ง (โรงพยาบาลรัฐ 236 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 108 แห่ง) ของหญิงไทยระหว่างปี 2533-2539 พบอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง (Cesarean Section) สูงขึ้นจาก 15.2% ในปี 2533 เป็น 22.4% ในปี 2539 จากจำนวนการคลอดบุตรทั้งสิ้นทั่วประเทศ 382,913 และ 492,148 ตามลำดับ ในขณะที่การคลอดบุตรปกติมีอัตราลดลงจาก 74% ในปี 2533 เป็น 67% ในปี 2539 และการคลอดด้วยวิธีอื่น 10.98% ในปี 2533 เป็น 10.72% ในปี 2539
นอกจากนี้ จำนวนสูติแพทย์ในโรงพยาบาลที่ศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 648 คนในปี 2533 เป็น 882 คนในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้น 36% แต่ปริมาณการผ่าตัดคลอดบุตรเพิ่มขึ้นจาก 58,183 รายในปี 2533 เป็น 109,867 รายในปี 2539 หรือเพิ่มขึ้น 89% ในเวลาเดียวกัน
นายแพทย์วิโรจน์กล่าวว่า เมื่อแยกการคลอดบุตรของหญิงไทยตามกลุ่มโรงพยาบาลที่ได้ศึกษาพบว่า โรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ เป็นการคลอดปกติถึง 86% แต่ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อัตราการคลอดปกติทางช่องคลอด และคลอดวิธีอื่น ๆ ลดลง ทำให้อัตราการผ่าตัดคลอดลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ปี 2539 กลุ่มโรงพยาบาลระดับจังหวัดส่วนใหญ่ เป็นการคลอดปกติ 65% อีก 23% เป็นการผ่าตัดคลอดบุตร ทำให้ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อัตราการคลอดบุตรลดลงชัดเจน และอัตราการผ่าตัด เพิ่มขึ้นชัดเจนด้วย
สำหรับกลุ่มโรงพยาบาลรัฐอื่น ๆ มีการคลอดบุตรคล้ายกับโรงพยาบาลระดับจังหวัด ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อัตราการคลอดบุตรปกติ และอัตราคลอดวิธีอื่น ๆ ลดลงเล็กน้อย ทำให้อัตราการผ่าตัดเพิ่มขึ้นค่อนข้างชัดเจน ส่วนกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน จะแตกต่างจากโรงพยาบาลภาครัฐ มีอัตราการผ่าตัดสูงกว่าอัตราการคลอดปกติ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา จนปัจจุบันอัตราการผ่าตัดคลอดบุตรเท่ากับ 51% และอัตราการคลอดปกติเท่ากับ 34% ดังนั้นในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อัตราการคลอดปกติลดลงชัดเจน ทำให้อตราการผ่าตัดเพิ่มขึ้นชัดเจนด้วย
นายแพทย์วิโรจน์กล่าวต่อว่า หากคิดรวมทั้งประเทศแล้ว แม้อัตราการผ่าตัดคลอดบุตรของโรงพยาบาลเอกชนสูงก็ตาม แต่ไม่ทำให้ภาพรวมของประเทศสูงมากนัก เนื่องจากปริมาณการคลอดบุตรของโรงพยาบาลเอกชนยังมีสัดส่วนที่น้อยเพียง 9% ของจำนวนการคลอดบุตรทั้งหมด
อย่างไรก็ดีการศึกษาครั้งนี้ อาศัยข้อมูลทุติยภูมิ หรือบันทึกห้องคลอด ห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลทั่วประเทศ การศึกษานี้ยังไม่ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยอื่น ๆ การมีหรือไม่มี ประกันสุขภาพหรือสวัสดิการรักษาพยาบาล ความมั่นใจในความปลอดภัยระหว่างการคลอดปกติและการผ่าตัด รวมทั้งรายละเอียดในการตัดสินใจผ่าตัดเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการการวิจัยเพิ่มเติม นายแพทย์วิโรจน์กล่าวในตอนท้าย--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ