สรุปผลการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ

จันทร์ ๑๙ พฤษภาคม ๑๙๙๗ ๑๖:๑๒
กรุงเทพ--19 พ.ค.--ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอสรุปเรื่องที่น่าสนใจ ดังนี้
1. เรื่อง โครงการปรับปรุงขยายการประปาหนองคาย-อุดรธานี
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ พิจารณาโครงการปรับปรุงขยายการประปาหนองคาย- อุดรธานี ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติการลงทุนโครงการปรับปรุงขยายการประปาหนองคาย-อุดรธานี ในวงเงิน 2,137 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ต่างประเทศ 60% และเงินการประปาส่วนภูมิภาค 15% ส่วนเงินอุดหนุน 25% ให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานงบประมาณ คือ ให้การสนับสนุนเงินลงทุนในส่วนที่จะขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในรูปของเงินยืมแทนการขอรับการอุดหนุนแบบให้เปล่า ทั้งนี้ ให้การประปาส่วนภูมิภาคประสานงานกับสำนักงานงบประมาณในรายละเอียดต่อไป
2. กรณีขอปรับค่าน้ำเฉลี่ยของการประปาหนองคายและอุดรธานี ให้คณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) เป็นประธาน รัฐมนตรีฯ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รับไปพิจารณาศึกษาในรายละเอียดแล้วนำกลับมาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ โดยเร่งด่วนต่อไป นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดนี้จะดำเนินการพิจารณาในส่วนของการกำหนดราคาค่าประปาทั้งระบบด้วย
2. เรื่อง การลดการขาดทุนของการประปาส่วนภูมิภาค
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจ พิจารณาผลการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ เรื่องเกี่ยวกับการลดการขาดทุนของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในปีงบประมาณ 2538 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. รับทราบสรุปความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. มอยหมายให้คณะกรรมการที่ตั้งขึ้น ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) เป็นประธาน รับไปพิจารณาแล้วนำกลับมาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจโดยเร็วต่อไป
3. เรื่อง การกำหนดราคาขาย ค่าบริการและความสะดวกต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
คณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจเห็นชอบกำหนดการแนวทางปรับปรุงกำหนดราคาขาย ค่าบริการ และความสะดวกต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภสาธารณูปการ ตลอดจนอำนาจในการอนุมัติและความเห็นชอบในการกำหนดราคาขายฯ ให้เป็นมาตรฐานและมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากการกำหนดอัตราค่าบริการของรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคสาธารณูปการในปัจจุบัน กฎหมายจัดตั้งของรัฐวิสาหกิจประเภทนี้ได้กำหนดให้มีผู้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้แตกต่างกัน ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) เสนอ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2540 ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) กระทรวงการคลัง สำนักงานงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รับไปดำเนินการ โดยรัฐแบ่งรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคสาธารณูปการออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านพลังงาน มีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายและแผนการบริการและพัฒนาพลังงาน ซึ่งได้กำหนดหลักสูตรปรับอัตโนมัติในการปรับอัตราค่าบริการ
2. ด้านน้ำประปา มีคณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ (กปช.) เป็นผู้กำกับดูแล
3. ด้านสื่อสารโทรคมนาคม มีแนวทางที่จะจัดตั้งคณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติ (กสช.) ตามแผนแม่บทโทรคมนาคม
4. ด้านขนส่ง มีรัฐวิสาหกิจขนส่ง 5 แห่ง ที่ยังไม่มีองค์การดูแล คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การรถไฟฟ้ามหานคร องค์การขนส่งมวชนกรุงเทพ บริษัทขนส่ง จำกัด และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยให้ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายเดิม--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ