กปภ.แนะวิธีแก้ไขปัญหาน้ำประปาไหลอ่อน

พุธ ๐๙ กันยายน ๑๙๙๘ ๑๔:๒๑
กรุงเทพ--9 ก.ย.--กปภ.
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาน้ำประปาไหลอ่อน โดยใช้ปั๊มสูบน้ำ ต้องมีถังพักน้ำด้วย ห้ามต่อตรงเข้ากับท่อประปาโดยตรง
นายวิเชียร อุดมรัตนะศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ กปภ. เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำประปาไหลอ่อนนั้นพบได้เสมอกับผู้ใช้น้ำที่อยู่ปลายเส้นท่อ หรืออยู่ในพื้นที่สำนักงานประปาที่มีกำลังส่งน้อย สามารถแก้ไขปัญหาโดยการติดตั้งปั้มน้ำ
"การติดตั้งปั้มน้ำที่ถูกวิธีต้องสร้างถังพักน้ำควบคู่ไปด้วย ปกติบ้านเรือนทั่วๆ ไปจะใช้ถังเก็บน้ำขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร อาจเป็นชนิดตั้งพื้นหรือฝังใต้ดินก็ได้ โดยให้น้ำค่อยๆ ไหลเข้าถังเก็บน้ำได้เองตลอดทั้งวัน และให้ติดตั้งลูกลอยไว้ที่ปลายท่อ เพื่อควบคุมการไหลของน้ำเมื่อน้ำเต็มถังแล้ว ส่วนปั้มน้ำให้ต่อตรงกับถังเก็บน้ำ เพื่อสูบเข้าไปใช้ในบ้านเรือนได้ต่อไป ปัจจุบันมีบ้านเรือนจำนวนไม่น้อยที่ติดตั้งปั้มน้ำเข้ากับเส้นท่อประปาโดยตรง ซึ่งถือว่าผิดวิธี เพราะจะทำให้เจ้าของบ้านต้องจ่ายค่าน้ำประปามากกว่าความเป็นจริง เนื่องจากปั๊มน้ำจะสูบลมผ่านมิเตอร์เข้าไปด้วย ในกรณีที่มีน้ำไม่เต็มเส้นท่อ นอกจากนี้ หากท่อประปาในบริเวณใกล้เคียงเกิดแตกรั่วขึ้น ปั้มน้ำก็จะดูดน้ำสกปรกนอกเส้นท่อเข้าไปด้วย" นายวิเชียรกล่าว--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ