กรุงเทพ--6 ต.ค.--สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
สถาบันวิจัยสาธารณสุข เผยลผการศึกษาอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ใน 4 จังหวัดใหญ่ พบอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยไม่ถึง 50% เนื่องจากกฎหมายไม่ได้บังคับ แม้ทราบถึงประโยชน์ก็ตาม
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาอัตราการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ใน 4 จังหวัดที่มีการจราจรหนาแน่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา และภูเก็ต ทั้งในเมืองและนอกเมือง โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เดือนมาราคม 2539 และครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2540 ซึ่งศึกษาด้วยวิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์ รวมทั้ง 2 ครั้ง 126,318 คัน พบว่า อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยมีแนวโน้ม ลดลง โดยเฉพาะคนขับรถยนต์คือ เดือนมกราคม 2539 มีอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยร้อยละ 42.7 ส่วนเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกันลดลงเหลือ 30.7 โดยมีอัตราการลดลงร้อยละ 28.1 ของอัตราเดิม ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อัตราการคาดลดลงในช่วงระยะเวลา 6 เดือน เนื่องจากกฎหมายยังไม่บังคับใช้กับรถทุกคัน แต่จะบังคับใช้เฉพาะรถใหม่ที่จดทะเบียนหลัง 8 ตุลาคม 2538 ส่วนรถเก่านั้นยังผ่อนผันให้จนถึงตุลาคม 2541 ดังนั้นในการบังคับใช้ต้องตรวจจับเฉพาะรถใหม่เท่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดความลำบากเชิงปฏิบัติ จึงยังไม่มีการตรวจจับกันอย่างจริงจัง
ทางด้านนายแพทย์วิชัย เอกพลากร อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า อัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยที่ทำการศึกษาใน 4 จังหวัดนั้น พบว่าอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยในภูมิภาคต่ำกว่าในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กล่าวคือ อัตราการคาดเข็มขัด ในเขตกรุงเทพฯ มีอัตรา (64.9% และ 42.1%) ภูเก็ต (30.6% และ 24.6%) เชียงใหม่ (25.9% และ 22.1%) และนครราชสีมา (22.4% และ 18.5%) ตามลำดับ
นายแพทย์วิชัย กล่าวต่อว่า คนขับรถหญิงมีอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยสูงกว่าคนขับชายคือ ในเดือนมกราคม 2539 เพศหญิงมีอัตราการคาด 48.5% เพศชาย 41.7% และในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน มีอัตราการคาดลดลงทั้งเพศหญิงและเพศชายคือ 36.7% และ 29.8% ตามลำดับ
นอกจากการศึกษาอัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยแล้ว ยังได้มีการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัย พบว่า ในกลุ่มคนที่คาดเข็มขัดเป็นประจำร้อยละ 96.7 มีความเห็นว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถป้องกันอันตรายได้ ร้อยละ 7.3 มีความเห็นว่าทำให้หีออกจารถได้ลำบาก อึดอัดร้อยละ 4.0 และไม่แน่ใจว่าช่วยป้องกันอันตรายได้ร้อยละ 2.0 ส่วนกลุ่มที่ไม่คาดประจำหรือไม่คาดเลย 73.0% มีความคิดเห็นว่าเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยป้องกันอันตรายได้ 73.0% ไม่แน่ใจว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยช่วยป้องกันอันตรายได้ 18.2% ทำให้เกิดอันตราย 4.4% และอึดอัดไม่คล่องตัว 3.4%
อย่างไรก็ดี ประโยชน์ทางการแพทย์ของการคาดเข็มขัดนิรภัยย่อมมีประโยชน์มากกว่าโทษ เพราะจะมีส่วนช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรงและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรได้กว่า 40-70% ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะประสานงาน เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างต่อนเองในการคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องการให้แนะนำผู้ป่วยของตนอย่างสม่ำเสมอ เพราะการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับการที่แพทย์ให้มีความรู้เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ และเมื่อครบกำหนดระยะผ่อนผันแล้ว ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเนาวรัตน์ ชุมยวง โทร.951-1286-93 ต่อ 139--จบ--
- ๒๑ ธ.ค. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จับมือ โรช ไทยแลนด์ ลงนาม MOU หนุนการพัฒนาระบบสุขภาพให้ชาวไทย
- ๒๑ ธ.ค. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สวรส. เผยผลวิจัยความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อทางโลหิตบริจาค "ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย"
- ธ.ค. ๒๕๖๗ เดินหน้าความร่วมมือด้านจีโนมิกส์ประเทศไทย - อังกฤษ เตรียมพัฒนาแนวทางนำข้อมูลพันธุกรรมใช้ประโยชน์วิจัย วินิจฉัยรักษา ในไทย