จุฬาฯ - NEDO ลงนามความร่วมมือวิชาการเพื่อศึกษาและจัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในภูมิภาคเอเชีย

จันทร์ ๑๑ มกราคม ๑๙๙๙ ๑๔:๑๘
กรุงเทพ--11 ม.ค.--องค์การพัฒนาพลังงานใหม่ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการมอบหมายจากองค์การพัฒนาพลังงานใหม่ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (New Energy and Industrial Technology Development Organization - NEDO) ให้ดำเนินการศึกษาและสำรวจกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งจัดการประชุมนานาชาติในหัวข้อเรื่อง "Activities Related to Climate Change in Asian Countries: Potentials for Regional Cooperation after COP4" ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2542 ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และองค์การ NEDO เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาสภาวะเรือนกระจก ที่ส่งผลกระทบทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยพิธีลงนามในสัญญาความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยมี ศ.ดร. เทียนฉาย กีระนันทน์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มร. ยูกิฮิโร ฮาตะ ประธานและผู้แทนภาคพื้นเอเชีย องค์การ NEDO เป็นผู้ลงนาม ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความร่วมมือทางการวิชาการดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจากองค์การ NEDO ได้เล็งเห็นความสำคัญและความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกลไกแนวทางความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อแสวงหาโครงการความร่วมมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจอย่างมาก และวิตกกังวลต่อคำทำนายของนักวิทยาศาสตร์ที่ว่า หากไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขปฏิกิริยาเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นแล้ว ภายในสิ้นศตวรรษหน้าอุณหภูมิของโลกจะร้อนขึ้นประมาณ 2.5 องศาเซลเซียส ซึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศของโลก ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบลักษณะฝนตก การระเหยของน้ำ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาวะความแห้งแล้ง และสภาวะความเป็นทะเลทรายในบางพื้นที่ของโลก
การจัดประชุมนานาชาติดังกล่าว จะมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 ณ โรงแรมฮิลตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพฯ ส่วนการประชุมในวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2542 จะจัดขึ้น ณ โรงแรม ดุสิต รีสอร์ท พัทยา โดยจะมีผู้แทนจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไทย รวมทั้งผู้แทนจากโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนวทางความร่วมมือในระดับภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการลดหรือแก้ไขปัญหาสภาวะเรือนกระจก ที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น อันเป็นการตอบสนองผลการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 4 (COP4 - the 4th Conference of Parties) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่กรุงบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: รศ. ดร. ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU)โทรศัพท์: (66 2) 218 6930 หรือ* นางสาว วรรณา ธนัญชัยวัฒนา สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (MOSTE)โทรศัพท์: (66 2) 272 3054 หรือ นายวิศิษฐ์ อภัยทาน องค์การพัฒนาพลังงานใหม่ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO)โทรศัพท์: (662) 256 6726 โทรสาร: (662) 256-6727 --จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ