ก.แรงงานฯ สานฝันร่วมเอกชนกระชับบทบาทสร้างงาน-สร้างเงินแก่ผู้ด้อยโอกาสเป็นกลุ่มแรก

พุธ ๒๒ ตุลาคม ๑๙๙๗ ๐๙:๑๘
กรุงเทพ--22 ต.ค.--กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายมนตรี ด่านไพบูลย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พร้อมนายผัน จันทรปาน ปัดกระทรวง นายประสงค์ รณะนันทน์ รองปลัดกระทรวง และข้าราชการระดับบริหาร เปิดเผยภายหลังจากที่นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้อำนวยการและนายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนได้เข้าพบที่ปรึกษาหารือในการกระชับบทบาทภาครัฐบาลและเอกชนที่จะร่วมสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมไปในแนวทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะแก่ผู้ด้อยโอกาสได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สามารถช่วยเหลือตนเองลดภาระแก่สังคม ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวทางกระทรวงแรงงานฯ และสมาคมฯ มีความสอดคล้องกันอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องง่ายต่อการประสานงาน
นายมนตรี ชี้แจงว่า ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบันประชาชนได้รับผลกระทบกันโดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ซึ่งมักอพยพมาจากชนบทเพื่อหางานทำต้องได้รับความเดือดร้อนอาศัยตามชุมชนใต้สะพาน ชุมนแออัดต่างๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้หากภาคเอกชนและรัฐบาลจะหันเข้าหากันเพื่อร่วมพิจารณาโครงการต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่เดิมให้มีความสำเร็จเป็นไปได้สูงขึ้น ทั้งนี้ ทางกระทรวงแรงงานฯ มีพื้นที่และแหล่งน้ำในนิคมสร้างตนเองต่างๆ ที่จะใช้เป็นต้นทุนในการผลิตทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแหล่งทำกินของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งจะเป็นคนกลุ่มแรกที่จะได้รับการพิจารณาเข้าร่วมโครงการ ส่วนสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนก็มีโครงการต่างๆ ที่สำเร็จรูปและประสบผลดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะในด้านความชำนาญทางภาคธุรกิจเช่น ทักษะด้านการเน การจัดการ การผลิต และการตลาดกระจายอยู่ทั่วไปทั้วงที่เชียงราย พิษณุโลก นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี เข้ามาเสริม ซึ่งจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของหมู่บ้านได้ในระยะแรกตั้งเป้าหมายจะพัฒนาในเขตนิคมฯ ละ 1,000 คนและหมู่บ้านใกล้นิคมฯ 1,000 คนเพื่อไม่เป็นการยุ่งยากจึงมุ่งหมายปรับปรุงการประกอบอาชีพเดิมที่เคยทำอยู่แล้ว โดยให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อยกระดับประสิทธิผลและรายได้ ตลอดจนมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้สามารถตัดสินใจเลือกผลิตสิ่งที่มีลู่ทางการตลาดที่ดีกว่า หรืออาจไปถึงขั้นริเริ่มโครงการที่จะเป็นผลดีต่อการครองชีพและเศรษฐกิจของท้องถิ่น เช่น การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต กิจการต่อเนื่องการเกษตร ได้แก่ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ใช้แรงงานหรือวัตถุดิบในท้องถิ่นมาก อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอและการตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องแบบ
ทั้งนี้ นายมนตรี กล่าวว่า ในจำนวนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แต่ละแห่งจะกำหนดจำนวนสมาชิกไม่เกิน 2,000 คน พื้นที่แต่ละแห่งไม่เกิน 50 ไร่ จะสามารถสร้างรายได้ให้แต่ละครอบครัวเดือนละ 5 หมื่นบาท ปีละประมาณหนึ่งร้อยล้านบาท โดยทุกคนจะได้อยู่กับครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตาอีกด้วย และในส่วนของกระทรวงแรงงานฯ ก็พร้อมที่จะให้ความสนับสนุนเพราะมีการดำเนินงานในสิ่งเห่านี้อยู่แว เพียงแต่อาจจะต้องการด้านการประสานงานจากผู้ที่มีความชำราญในเชิงธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้หวังค้ากำไรเชิงพาณิชย์แต่กลับต้องการส่งผลประโยชน์ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสมากกว่า ทั้งนี้กระทรวงแรงงานฯ จะได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจข้อูลผู้ด้อยโอกาสที่มีความเดือดร้อนต้องการเข้าร่วมโครงการ และประสงค์ที่จะมีที่ทำกินเลี้ยงชีพพร้อมอยู่กับครอบครัวต่อไป
มีปัญหาด้านแรงงานหรือถูกเลิกจ้าง ติดต่อศูนย์ช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้าง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมโทร. 248-4141--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม