กรุงเทพ--30 ม.ค.--กทม.
นายมหินทร์ ตันบุญเพิ่ม โฆษกคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายมานะ นพพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ได้ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารว่า ที่ประชุมวันนี้ได้มีมติให้กทม. ประกาศรายชื่อถนนที่มีการห้ามขุดเป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งมีจำนวน 45 สาย ดังนี้ ถนนสุขุมวิท 22 สายน้ำทิพย์ (ช่วงจากถนนสุขุมวิท-ถนนพระราม 4) ถนนสุขุมวิท 40 บ้านกล้วยใต้ (ช่วงจากถนนสุขุมวิท-ถนนทางรถไฟสายปากน้ำ) ถนนสุขุมวิท 63 เอกมัย (ช่วงจากถนนสุขุมวิท-ถนนเพชรบุรีตัดใหม่) ถนนสุขุมวิท 77 อ่อนนุช (ตลอดสาย) ถนนเจริญนคร (ตลอดสาย) ถนนประชาธิปก (ตลอดสาย) ถนนอิสรภาพ (ตลอดสาย) ถนนประชาชื่น (ตลอดสาย) ถนนเตชะวณิช (ตลอดสาย) ถนนเทอดดำริห์ (ตลอดสาย) ถนนนครไชยศรี (ตลอดสาย) ถนนนครสวรรค์ (ตลอดสาย) ถนนประชาราษฎร์สาย 1(ตลอดสาย) ถนนประดิพัทธ์ (ตลอดสาย) ถนนพระราม 5 (ตลอดสาย) ถนนพิษณุโลก (ตลอดสาย) ถนนราชดำเนิน (ตลอดสาย) ถนนเศรษฐศิริ (ตลอดสาย) ถนนสวรรคโลก (ตลอดสาย) ถนนอรุณอัมรินทร์ (ตลอดสาย) ถนนอินทรพิทักษ์ (ตลอดสาย) ถนนเทอดไท (ตลอดสาย) ถนนจรัญสนิทวงศ์ 13 (ตลอดสาย) ถนนโชคชัย 4 (ตลอดสาย) ถนนสาธุประดิษฐ์ (ตลอดสาย) ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ประชาราษฎร์) (ตลอดสาย) ถนนวงศ์สว่าง (ตลอดสาย) ถนนจรัญสนิทวงศ์ (ตลอดสาย) ถนนมหาพฤฒาราม (ตลอดสาย) ถนนอังรีดูนังต์ (ตลอดสาย) ถนนบำรุงเมือง (ตลอดสาย) ถนนพลับพลาไชย (ตลอดสาย) ถนนมิตรพันธ์ (ตลอดสาย) ถนนไมตรีจิตร (ตลอดสาย) ถนนเสือป่า (ตลอดสาย) ถนนประชาธิปไตย (ตลอดสาย) ถนนพระจันทร์ (ตลอดสาย) ถนนมหาราช (ตลอดสาย) ถนนสนามไชย (ตลอดสาย) ถนนหน้าพระธาตุ (ตลอดสาย) ถนนเสนานิคม 1 (ตลอดสาย) ถนนพหลโยธิน (จากช่วงแยกลาดพร้าว-แยกอนุสรณสถาน) ถนนพัฒนาการ (ตลอดสาย) ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ตลอดสาย) และถนนสุขุมวิท 105 ซอยลาซาล (ตลอดสาย) ทั้งนี้การห้ามขุดในถนนดังกล่าวได้รวมถึงหน่วยงานสาธารณูปโภค และหน่วยงานของกทม. ด้วย โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และหากมีผู้ฝ่าฝืนกทม. จะดำเนินการตามกฏหมายด้วย
ด้านผู้อำนวยการสำนักการโยธา กล่าวเสริมว่า มาตรการดังกล่าวกทม. ได้แจ้งให้หน่วยงานสาธารณูปโภคทราบแล้ว ซึ่งก็ยังไม่มีหน่วยงานใดแจ้งกลับมาว่า ยังมีความจำเป็นที่จะต้องขุดในถนนสายดังกล่าวอีก สำหรับการห้ามขุดในถนนทั้ง 45 สาย กทม. ได้มีการพิจารณากลั่นกรองอย่างรอบคอบโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ เป็นถนนสายหลักที่ประชาชนใช้สัญจรเข้า-ออกเมือง ผิวจราจรอยู่ในสภาพดี และสาธารณูปโภคได้วางไว้เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งถนนที่ไม่ใช่ถนนสายหลักและเพิ่งมีการปรับปรุงผิวจราจรเสร็จใหม่ ๆ นอกจากนี้กทม.ยังได้พิจารณารวมถึงการห้ามขุดในถนนสายดังกล่าวนั้นจะไม่กระทบกระเทือนกับโครงการของหน่วยงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่มีอยู่ ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของกทม.และหน่วยงานสาธารณูปโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งผู้ว่าฯกทม. ได้เคยมีการหารือกับหัวหน้าส่วนราชการ 15 หน่วยงาน แล้ว สำหรับถนนสายใหม่ ๆ กทม.จะมีการออกแบบเพื่อให้มีเขตทางเป็นที่วางท่อรวมสาธารณูปโภคเพื่อไม่ให้สาธารณูปโภคไปอยู่ในผิวจราจรซึ่งได้เริ่มดำเนินการในถนนหลายสายแล้ว
นายมหินทร์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้เอกชนเข้าดำเนินงานต่าง ๆ ของกทม. โดยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นโครงการ/กิจกรรมที่ให้เอกชนลงทุนทั้งหมด (เก็บเงินจากผู้ใช้ประโยชน์) ได้แก่ ตู้บริการท่องเที่ยว การให้เอกชนทดลองเก็บขยะตามอาคารสูงในเขตพื้นที่ชั้นในและชั้นกลาง เช่น จากโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ การบริการที่จอดรถ การรักษาป้ายรถประจำทาง ประมาณ 1,200 จุด ห้องน้ำสาธารณะ ป้าย (ขนาด 1.5*3 ม. และ 0.8*1 ม. ทดลองติดตั้งในถนนตัวอย่าง 40 เส้นทาง ๆ ละ 4 ป้าย) ศูนย์บริการสาธารณสุข และอนามัยชุมชน รถวางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน และรถรางเลียบคลองพระราม 3 ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้เอกชนลงทุนแล้วเก็บเงินจากกทม. ได้แก่ การกวาดถนนโดยใช้รถกวาดและดูดฝุ่น 104 คันของกทม.ดำเนินใน 4 โซน ความยาว 1,200 ก.ม. การเก็บขนและการทำลายขยะก่อสร้าง โครงการโรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย โครงการบำบัดน้ำเสียที่กทม.ลงทุนก่อสร้างแล้ว 5 โครงการ (โครงการบำบัดน้ำเสียยานนาวา โครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 1 โครงการบำบัดน้ำเสียกรุงรัตนโกสินทร์ โครงการบำบัดน้ำเสียหนองแขม-ภาษีเจริญ-ราษฎร์บูรณะ และโครงการบำบัดน้ำเสียสี่พระยา) พิพิธภัณฑ์เด็ก หอศิลปร่วมสมัย การซ่อมบำรุงรถยนต์ การให้บริการรักษาความปลอดภัย และทำความสะอาดสถานที่ราชการ โรงเรียนขนาดเล็ก การดูแลสวนสาธารณะและต้นไม้บนบาทวิถี
สำหรับกลุ่มที่ 3 ให้เอกชนลงทุนแล้วเก็บเงินจากกทม. โดยกทม.จะผ่อนชำระให้ในระยะยาว ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนสายใหม่ 6 สาย คือ ถ.เจ้าคุณทหาร (ร่มเกล้าฉลองกรุง) ถ.รามคำแหง-สุขาภิบาล 3 (คลองบางชัน-สุวินทวงศ์) ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา ถ.เชื่อมสาธุประดิษฐ์-พระราม 3 ถ.พรานนกเชื่อม ถ.พุทธมณฑลสาย 4 และ ถ.ศรีอยุธยา-อโศก-ดินแดง โครงการทางลอดใต้ทางแยกรัชโยธิน, บางพลัด, ท่าพระ, มไหสวรรย์ โครงการ U-Turn เกือบม้า 2 แห่ง บริเวณถนนลาดพร้าวและถนนพัฒนาการ โครงการเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา และริมคลองใหญ่ และโครงการก่อสร้างอาคารสถานที่ราชการ โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งนี้การให้เอกชนมาลงทุนโครงการต่าง ๆ ของกทม. โดยกทม.ผ่อนชำระให้ จะเป็นการแก้ปัญหาด้านงบประมาณ เนื่องจากการลงทุนแต่ละโครงการต้องใช้งบฯ มาก ประกอบกับขณะนี้เป็นช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย การใช้วิธีการดังกล่าวสามารถทำให้กทม.ได้งานตามที่วางแผนไว้--จบ--