ผลศึกษาโครงการจัดหาแหล่งน้ำ จังหวัดภูเก็ต

อังคาร ๒๐ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๙:๑๔
กรุงเทพ--20 ม.ค.--กรมชลประทาน
การศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมโครงการจัดหาแแหล่งน้ำ จังหวัดภูเก็ต ได้ผลสรุปว่าการผันน้ำจากคลองบางใหญ่มาเติมให้กับอ่างเก็บน้ำบางวาด อำเภอกะทู้ และการพัฒนาแอ่งเก็บน้ำใต้ดินบางเทา อำเภอถลาง เป็นแนวทางที่เหมาะสมในปัจจุบัน สำหรับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของจังหวัดภูเก็ต
นายปราโมทย์ ไม้กลัด อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการที่กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมโครงการจัดหาแหล่งน้ำจังหวัดภูเก็ต เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเริ่มดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2538 จนถึงขณะนี้ได้มีการสรุปผลของการศึกษาว่าการเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำบางวาด ที่อำเภอกะทู้ และการพัฒนาอ่างเก็บน้ำใต้ดินบางเทาที่อำเภอถลาง เป็นวิธีและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาในปัจจุบัน
การเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำบางวาดนั้น จะเป็นการผันน้ำจากคลองบางใหญ่บริเวณขุมเหมืองกรมธนารักษ์มายังอ่างเก็บน้ำบางวาด โดยจะต้องปรับปรุงเขื่อนให้สูงขึ้น 3.2 เมตร ยกระดับเก็บกักให้สูงขึ้นอีก 6 เมตร ทำให้ความจุน้ำเพิ่มขึ้นจาก 7.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 10.6 ล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนการพัฒนาแอ่งเก็บน้ำใต้ดินบางเทา จะเป็นการก่อสร้างกำแพงทึบน้ำใต้ดิน ยาวประมาณ 1,804 เมตร เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใต้ดิน และก่อสร้างบ่อสูบน้ำ บ่อควบคุมน้ำ บ่อควบคุมความเค็มและระบบระบายน้ำจะทำให้สามารถสูบน้ำมาใช้ได้โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับความต้องการใช้น้ำของจังหวัดภูเก็ต ได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จากข้อมูลในช่วงปี 2539 มีความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยปีละประมาณ 23 ลูกบาศก์เมตร ขณะที่หน่วยงานรับผิดชอบสามารถให้บริการได้ปีละประมาณ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร และในปี 2538 คาดว่าเกาะภูเก็ตจะมีความต้องการใช้น้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค ปีละประมาณ 31 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่การเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำบางวาดและการพัฒนาแอ่งเก็บน้ำใต้ดินบางเทา จะทำให้แหล่งน้ำของเกาะภูเก็ตเพิ่มขึ้นเป็น 28.08 ล้านบาศก์เมตร/ปี
อนึ่ง ในวันที่ 23 มกราคมที่จะถึงนี้ กรมชลประทานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจะจัดให้มีการประชุมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อมวลชน ที่ศาลาประชาคม จังหวัดภูเก็ต เพื่อชี้แจงผลการศึกษา ตอบข้อซักถาม ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ซึ่งผลสรุปที่ได้จากการประชุมจะใช้เป็นแนวทางประกอบในการแก้ไขและปรับปรุงสำหรับจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมฉบับสุดท้าย--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ