กรุงเทพ--3 ก.ย.--สนช.
นายณรงค์ โตสมภาค ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการฝึกอบรมช่างฝีมือด้านต่างๆ เช่น ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ช่างเชื่อมโลหะ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างซ่อมเครื่องไฟฟ้าทุกประเภท อาทิ ช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ ฯลฯ คหกรรมศาสตร์ ศิลปกรรม คอมพิวเตอร์ และพิมพ์ดีด เป็นต้น รวมทั้งการฝึกอบรมอาชีพต่างๆ ในโรงเรียนฝึกอาชีพของกรุงเทพมหานคร และได้ขยายการบริการฝึกอาชีพด้านช่างฝีมือในโรงเรียนสามประโยชน์ในโรงเรียนประถมของกรุงเทพมหานคร จำนวน 44 โรงเรียน โดยเปิดให้บริการเรียนฝึกอาชีพแก่ประชาชนในภาคค่ำ ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจะขยายโรงเรียนสามประโยชน์ให้เพิ่มขึ้นตามความต้องการของประชาชน
จากการฝึกอาชีพในโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร รุ่นที่ 1 ของปี 2540 มีผูเรียนจบการศึกษา 3,400 คน สำหรับผูที่เรียนจบด้านช่างฝีมือจะสามารถใช้วิชาช่างไปประกอบอาชีพได้ และจากสถิติที่รวบรวมไว้ปรากฏว่า ผู้ผ่านการฝึกอาชีพจากกรุงเทพมหานครจะสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ถึงร้อยละ 90 ซึ่งในอนาคตสำนักพัฒนาชุมชนมีนโยบายที่จะร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ส่งช่างฝีมือเหล่านี้เป็นแรงงานไปประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศเป็นการส่งเสริมการนำเงินเข้าประเทศ ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับผู้ที่เรียนจบช่างฝีมือของกรุงเทพมหานคร รุ่นนี้จะได้รับประกาศนียบัตรในวันนี้ (3 กันยายน 2540) โดย ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะลาชะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีมอบ ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง--จบ--
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กทม.จัดงานวันส่งเสริมอาชีพช่วยคนตกงานยุคเศรษฐกิจถดถอย
- ๒๕ ธ.ค. ครบรอบ 60 ปี UFM คืนกำไรสู่สังคมมอบผลิตภัณฑ์แป้งสาลีให้โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพ
- ๒๔ ธ.ค. UFM ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนไทย มอบผลิตภัณฑ์สนับสนุนโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพ สังกัดสำนักพัฒนาสังคม
- ๒๔ ธ.ค. กทม. แจงขั้นตอนสอบเป็นวิทยากรโรงเรียนฝึกอาชีพฯ กำชับตรวจสอบเอกสารให้รอบคอบ