บทสรุปของ "เพชรตาแมว"

จันทร์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๙๙๘ ๑๓:๔๖
กรุงเทพ--16 ก.พ.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้ชัดถึงผลร้ายของเพชรตาแมวอาบรังสี อาจทำให้ทารกในครรภ์มารดามีโอกาสเป็นเด็กปัญญาอ่อนมากกว่าปกติ รวมทั้งผู้ที่ทำงานด้านรังสีหรือประชาชนทั่วไปที่สัมผัสถูกเป็นประจำก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้น พร้อมจัดหน่วยงานเตรียมรับมือการตรวจเพชรตาแมวที่ต้องสงสัยอย่างเต็มรูปแบบ
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนส่วนหนึ่งวิตกว่าตนเองอาจจะได้รับอันตรายจากเพชรตาแมวอาบรังสี ที่ได้ครอบครองอยู่หรือเคยสัมผัสถูก นั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจสอบแล้ว พบว่า เพชรตาแมวที่เป็นข่าวดังกล่าวเป็นการนำเพชรตาแมวที่มีคุณภาพต่ำราคาถูก นำมาผ่านขบวนการปรับปรุงคุณภาพให้มีราคาสูงขึ้นโดยวิธีการฉายรังสี ซึ่งรังสีใช้ฉายอัญมณีในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 ชนิด คือ การใช้รังสีอิเลกตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาคพลังสูง รังสีโฟตอนซึ่งเป็นรับสีเอกซ์หรือแกมม่าจากต้นกำเหนิดรังสีโคบอลท์ -60 หรือซีเซี่ยม -137 และการใช้รังสีนิวตรอนจากเตาปฎิกรณ์ปรมาณู ซึ่ง 2 วิธีแรกเป็นการทำให้ธาตุต่าง ๆ ในเนื้ออัญมณีมีการจัดเรียงตัวกันใหม่ให้เป็นระเบียบขึ้น สีของอัญมณีนั้นจึงเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจะคล้ายกับอัญมณีที่มีราคาแพงได้ แต่เป็นการเปลี่ยนสีชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่งและจะกลับคืนสู่สภาพปกติตามเดิม ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะให้ความร้อนต่ำคล้ายกับการเผาพลอยด้วยความร้อน จึงไม่ทำให้นิวเคลียสของอะตอมเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุไอโซโทปรังสี ดังนั้นจึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่หรือสัมผัส
อธีบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับวิธีที่ใช้รังสีนิวตรอนจากเตาปฎิกรณ์ปรมาณูนั้น ผลที่ได้ก็จะคล้ายกับ 2 วิธีแรก จะต่างกันก็แต่เพียงสีที่เปลี่ยนจะอยู่คงทนมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ แต่ผลกระทบที่ตามมาจะเป็นอันตรายมาก เพราะรังสีนิวตรอนจะไปทำปฎิกิริยากับนิวเคลียสของธาตุทั้งหมดในเนื้ออัญมณีนั้น ทำให้ธาตุในเนื้ออัญมณีกลายเป็นแหล่งกำเนิดรังสีในตัวเอง จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าหญิงมีครรภ์ระยะ 8-15 สัปดาห์ หากได้รับรังสีขนาด 1 ซีเวิร์ต เด็กที่เกิดมีโอกาสเป็นเด็กปัญญาอ่อนถึงประมาณ 40 คน จาก 100 คน และยังอาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมประมาณ 1 คน จาก 100 คน นอกจากนั้นผลกระทบดังกล่าวแล้วผู้ได้รับรังสียังมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังสูงกว่าปกติประมาณ 4 คน จาก 100 คน หลายประเทศในภูมภาคเอเซียแปซิฟิก จึงกำหนดค่าปลอดภัยของรังสีจากอัญมณีอย่างน้อยไม่เกิน 2 นาโนคูรี่
ดร.เรณู โกยสุโข กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยปกติอัญมณีที่ผ่านการฉายรังสีทั้ง 3 ชนิด หากมองด้วยตาเปล่าจะไม่สามารถแยกแยะได้ว่าผ่านการฉายรังสีประเภทใด ฉะนั้นหากผู้ใดมีข้อสงสัย ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดหน่วยงานไว้คอยให้บริการแก่ประชาชนที่ครอบครองเพชรตาแมว หรืออัญมณีชนิดอื่นที่ต้องสงสัยว่าจะมีการปนเปื้อนรังสีอันตราย โดยสามารถมารับบริการตรวจรังสีได้ที่ กองรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถนนบำรุงเมือง ยศเส กรุงเทพ 10110 หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หมายเลข 2234674 ได้ทุกวันในเวลาราชการ--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๙ คัมมิ่นส์ ดีเคเอสเอช ร่วมจัดแสดงสินค้าเครื่องยนต์คัมมิ่นส์ รุ่น QSB6.7 สำหรับรถตัดอ้อย
๑๗:๑๒ ค็อกพิทรุกขยายสาขาต่อเนื่อง ปักหมุดสาขาใหม่ย่านถนนศรีจันทร์ ขอนแก่น มอบความสุขลูกค้าส่งท้ายปีด้วยโปรโมชันใหญ่สุดคุ้ม
๑๖:๐๐ ไอคอนสยาม ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เตรียมพร้อมกำลังพลปฏิบัติการด้านความปลอดภัยขั้นสุด ต้อนรับงานเคานต์ดาวน์
๑๕:๑๒ เซ็นทาราออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรก สอดรับการเติบโตในเอเชีย
๑๕:๑๐ ดีเดย์! 4 ศูนย์การค้าในเครือ เอ็ม บี เค เปิดโครงการ ข.ขวดรักษ์โลก แยกขวดช่วยน้อง สนองเป้า Net Zero บริหารจัดการขยะอย่างรู้คุณค่า 4
๑๕:๔๘ สจส. เร่งศึกษารูปแบบจัดการเดินเรือในคลอง-สนับสนุนเอกชนลงทุน-ใช้พลังงานสะอาด
๑๕:๐๓ D-Link ยืนยัน มุ่งสร้างความมั่นใจในการเชื่อมต่ออัจฉริยะและความปลอดภัยทางไซเบอร์
๑๕:๔๑ TBC จัดงาน Business Partner Award 2024 ครั้งแรกกับงานมอบรางวัลเกียรติคุณยกย่อง ให้กับพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน
๑๕:๒๕ ต้นกล้าฟ้าใส จัด 3 เซ็ตเมนูพิเศษแบบ อร่อย.ดี ฟินคุ้ม เริ่มเพียง 149 บาท
๑๕:๑๔ สสว. ปลื้มกิจกรรมส่งท้าย Roadshow SME Academy On Tour ที่ จ.ยะลา มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ SME เสริมเกราะความรู้เพื่อธุรกิจเติบโต