ซิตี้แบงก์ ครองตำแหน่งผู้นำตลาดบัตรเครดิตในทวีปเอเซียแปซิฟิก ด้วยยอดสมาชิกกว่า 5 ล้านราย

จันทร์ ๓๑ มีนาคม ๑๙๙๗ ๑๖:๔๕
กรุงเทพ--31 มี.ค.--ซิตี้แบงก์
เป็นธนาคารแรกที่นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการขยายเครือข่ายบริการลูกค้าทั่วภูมิภาค
รายงานข่าวจากธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคารฯ มีสมาชิกผู้ถือบัตรเครดิตในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกกว่า 5 ล้านราย ซึ่งมากกว่าคู่แข่งที่ตามมาเป็นอันดับสองถึงเกือบสองเท่าตัว และคาดว่า ลูกค้าบัตรเครดิตของธนาคารจะยังคงขยายตัวเพิ่มขี้นอีกกว่าสองเท่าตัวภายในปี 2543 นอกจากนี้ ซิตี้แบงก์ยังเป็นธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตระหว่างประเทศรายใหญี่ที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีสมาชิกผู้ถือบัตรอยู่เป็นจำนวนกว่า 60 ล้านใบ ทั่วโลก
มร.โฮเวร์ด แบนเวลล์ ผู้บริหารแผนกบุคคลธนกิจของธนาคารซิตี้แบงก์ประจำภูมิภาคเอเซียใต้ กล่าวว่า "การมีลูกค้ากว่าห้าล้านรายเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า ซิตี้แบงก์ของเราประสบความสำเร็จ ทั้งที่ธนาคารฯ เพิ่งเริ่มเข้ามาดำเนินธุรกิจด้านบัตรเดรดิตเมื่อปี 2532 นี้เอง ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจของเราเติบโตอย่างรวดเร็วก็คือ ความมุ่งมั่นสร้างสรรค์สิทธิประโยชน์และบริการใหม่ ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง"
ผู้บริโภคสู่ยุคไร้พรมแดน
เอเซียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่อุตสาหกรรมการเดินทางมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกและคาดว่าความต้องการด้านการเดินทางทางอากาศจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 8.6 ต่อปี ระหว่างปี 2536-2543 ในปี 2536 มีการเดินทางภายในภูมิภาคคิดเป็นร้อยละ 63 ของการเดินทางระหว่างประเทศทั้งหมด และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 67 ในปี 2553 (ข้อมูลจาก TravelNews Asia วันที่ 12-25 สิงหาคม 2539)
ตลาดบัตรเครดิตของธนาคารซิตี้แบงก์ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย ไทย ไต้หวัน ตุรกี และสาธารณรัฐอาหรับอิมิเรสต์
มร.ราจิฟ โจริ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ประจำภูมิภาคกล่าวว่า "คนเอเซียกำลังเดินทางกันมากขึ้น ภูมิภาคนี้จะกลายเป็นเหมือนตลาดเดียว ผู้บริโภคจะแตกต่างกันน้อยลงเรื่อย ๆ การทำธุรกรรมด้วยบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ทั่วภูมิภาคนี้ประมาณร้อยละ 25 จะเกิดขึ้นในต่างประเทศ ขณะที่ปริมาณการใช้บริการสายด่วนโทรฟรีต่างประเทศตลอด 24 ชั่วโมงของเราเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 6-9 เดือน"
บริการที่เหมือนกันในทุก ๆ ประเทศ
มร.จอห์น ลอริเมอร์ เป็นหัวหอกของคณะทำงาน กล่าวว่า "เราเป็นธนาคารแห่งแรกที่ริเริ่มในการตอบสนองต่อแนวโน้มด้านการเดินทางของลูกค้าด้วยการเปิด "บริการระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นบริการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของซิตี้แบงก์ โดยลูกค้าทุกคนจะได้รับการเอาใจใส่ดูแลเป็นรายบุคคลในขณะที่เดินทางในต่างประเทศเหมือนเช่นที่ได้รับเมื่อยู่ในประเทศของตน"
วันนี้ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีของลูกค้าอยู่ในระบบ "On-Line" ดังนั้น สามารถตรวจสอบดูได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ข้อมูลที่เข้าไปดูนั้นจะเป็นข้อมูลล่าสุดถึง ณ เวลา นั้น ๆ ทีเดียว (Real-Time) ทำให้ไม่ต้องใช้โทรศัพท์และแฟกซ์ติดต่อไปมาระหว่างสาขาในแต่ละประเทศ ซึ่งทำให้บริการล่าช้ากว่าและเกิดความผิดพลาดได้
"นี่คือสิทธิประโยชน์ที่แท้จริงสำหรับลูกค้า" มร.ลอริเมอร์ ซึ่งเป็นผู้จัดการใหญ่ของธุรกิจบัตรเครดิตที่อินโดนีเซียด้วยอีกตำแหน่ง กล่าวเสริม "ลูกค้าของเราต้องการความรวดเร็วทันใจเมื่อพวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์คับขันอย่างเช่นบัตรเครดิตสูญหายในต่างประเทศ เวลาทุกชั่วโมงนาทีมีความหมายอย่างยิ่ง"
มร.หลิม ลี่ อัน ลูกค้าชาวสิงคโปร์ผู้ซึ่งทำบัตรเครดิตหายขณะกำลังท่องเที่ยวอยู่ที่จาร์กาตา เล่าถึงการให้บริการในส่วนนี้ของซิตี้แบงก์ว่า "ผมแปลกใจมากเลย หลังจากที่ผมใช้เวลาสองนาทีแจ้งเหตุไปที่สิงคโปร์ว่าบัตรหาย ผมก็ได้รับบัตรเครดิตที่ซิตี้แบงก์ในอินโดนีเซีย ออกให้ใหม่และส่งมาให้ที่โรงแรมภายในเวลาไม่ถึงสิบสองชั่วโมง"
ความมั่นใจที่ได้รับจากระบบเครือข่ายทั่วโลก
"ในอดีต ธนาคารผู้ออกบัตรทุกแห่งจำเป็นต้องพึ่งพาใช้บริการส่งเอกสารด่วนในการส่งบัตรใหม่ ให้แก่นักเดินทางท่องเที่ยวที่ไปทำบัตรหายในต่างประเทศ และจะดำเนินการให้เฉพาะในช่วงวันจันทร์-วันศุกร์เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ ซิตี้แบงก์สามารถส่งข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่างตรงไปยังตลาดหลัก ๆ ได้อย่างง่ายดายผ่านทางเครือข่ายของเรา ซึ่งส่งผลให้สำนักงานสาขาท้องถิ่นของซิตี้แบงก์สามารถออกบัตรใหม่ที่นำไปใช้ได้ทันทีเหมือนใบเก่าภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง"
มร.อาจิต คานาการสุนด์ราม ผู้อำนวยการศูนย์บัตรประจำภูมิภาคของซิตี้แบงก์ อธิบาย "เราเป็นผู้ออกบัตรรายแรกและรายเดียวที่สามารถให้บริการในลักษณะนี้แก่ลูกค้า"
เพื่อเป็นการรองรับจำนวนลูกค้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและธุรกรรมระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซิตี้แบงก์ได้ทุ่มเงินลงทุนรวม 60 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์เมื่อสองปีก่อน โดยศูนย์นี้จะรับหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจบัตรเครดิตทั้งหมดครอบคลุม 14 ประเทศ จากตุรกีไปถึงฮ่องกงและถึงออสเตรเลียในแบบ "On-Line Real-Time" ตลอด 24 ชั่วโมง
บริการระหว่างประเทศ
มร.สตีเวน ปินโต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบัตรซิตี้แบงก์ประจำภูมิภาค กล่าวว่า "ลูกค้ามองเห็นคุณค่าของเครือข่ายระดับโลกของเราและคาดหวังว่าจะได้รับบริการแบบรายบุคคลที่มีคุณภาพสูงจากเรา ซึ่งรวมถึงความสามารถในการเบิกเงินสดหรือชำระค่าใช้จ่ายประจำเดือนไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด"
นอกจากบริการ "ทำบัตรใหม่ภายในวันรุ่งขึ้น" แล้ว "บริการระหว่างประเทศ" ยังนำเสนอบริการให้ลูกค้าขณะอยู่ในต่างประเทศเหมือนเช่นที่ลูกค้าได้รับขณะอยู่ที่บ้านทุกประการอาทิ
- เบิกเงินสดฉุกเฉิน (สูงสุด 1,000 เหรียญสหรัฐหรือเทียบเท่าต่อวัน และ 2,000 เหรียญสหรัฐ สำหรับผู้ถือบัตรทอง) แม้ในขณะที่ยังไม่ได้รับบัตรใหม่ และเอกสาร ประจำตัวต่าง ๆ สูญหายหมด
- ลูกค้าสามารถแวะที่สาขาของซิตี้แบงก์ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง ทำการชำระเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือนขณะอยู่ต่างประเทศหรือสอบถามยอดวงเงินคงเหลือ ที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้เหล่านี้ เป็นบริการที่ไม่มีผู้ออกบัตรรายใดสามารถทำได้ นอกจากซิตี้แบงก์เพียงแห่งเดียว
- และซิตี้แบงก์เป็นผู้ออกบัตรรายแรกในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกที่ให้บริการย้ายภูมิลำเนาใหม่แก่ลูกค้า โดยจะทำการอนุมัติและออกบัตรสำหรับใช้ ณ ที่อยู่ใหม่ให้ทันที จากการสำรวจพบว่า มีลูกค้าที่ต้องการใช้บริการนี้เพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 15 ทุกปี
ซิตี้แบงก์เริ่มเสนอบริการระหว่างประเทศในลักษณะโครงการนำร่องในภูมิภาคนี้ ซึ่งลูกค้าสามารถเรียกใช้ผ่านทางบริการ Phone Home โทรฟรีสายตรงระหว่างประเทศตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะให้คำแนะนะวิธีใช้บริการในภาษาพื้นบ้านของตนเองจากเกือบทุกประเทศทั่วโลก ณ ที่ทำการสาขา 100 แห่ง ทั่วภูมิภาค "ในอีก 18-24 เดือนข้างหน้า" ซึ่งซิตี้แบงก์จะเริ่มเปิดให้บริการทำบัตรใหม่ภายในวันรุ่งขึ้นและบริการเบิกเงินสดฉุกเฉินในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก
ซิตี้แบงก์ผู้นำในทวีปเอเซีย
ซิตี้แบงก์ สถาบันการเงินระดับโลกซึ่งมีสาขาในเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก เป็นธนาคารแห่งแรกของอเมริกาที่เริ่มเข้ามาดำเนินงานในทวีปเอเซียในปี พ.ศ. 2445 ปัจจุบัน ซิตี้แบงก์มีเครือข่ายกิจการกว้างขวางที่สุดในภูมิภาค ด้วยสำนักงานสาขามากว่า 260 แห่งในกว่า 28 ประเทศ
ธนาคารซิตี้แบงก์เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยโดยการเปิดสำนักงานตัวแทนเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกในปี 2538 ปัจจุบันธนาคารซิตี้แบงก์และบริษัทในเครือซิตี้คอร์ป มีเจ้าหน้าที่ทำงานรวมทั้งสิ้นกว่า 1,300 คน และบริการลูกค้าทั่วประเทศกว่า 500,000 ราย
นายคำราน ชิดดิคิ ผู้จัดการใหญ่ ศูนย์บัตรเครดิตธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวว่า ธนาคารซิตี้แบงก์ภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจบัตรเครดิต โดยธนาคารฯ มีความมุ่งมั่นที่พัฒนาบริการและสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมมอบให้กับสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวกและมั่นใจต่อการบริการในระดับสูงสุด
ปัจจุบันธนาคารซิตี้แบงก์ มีสมาชิกผู้ถือบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่า และซิตี้แบงก์มาสเตอร์คาร์ดในไทย รวมทั้งสิ้นกว่า 500,000 ราย ซึ่งนับว่ามีส่วนแบ่งตลาดบัตรเครดิตสูงสุดในประเทศไทยเช่นเดียวกัน
ในปี 2539 บัตรซิตี้แบงก์ทำกำไรให้ธนาคารฯ รวม 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 26 ของยอดกำไรจากการดำเนินงานทั่วโลกจำนวน 3,800 ล้านเหรียญสหรัฐของธนาคารฯ และนับเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดของธนาคารฯ ด้วยเช่นกัน--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ