ระดมผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาหาข้อสรุปการกำหนดสิทธิคุ้มครองคนแก่

อังคาร ๒๗ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๑:๔๙
กรุงเทพ--27 ม.ค.--กระทรวงสาธารณสุข
ประเทศไทยเตรียมหาข้อสรุปการกำหนดสิทธิและกฎหมายสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อตราเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้สูงอายุและเพื่อให้ทันกับปีผู้สูงอายุสากลของทั่วโลกที่จะถึงในปีหน้านี้
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2541 เวลา 09.00 น. ที่ห้องรับรอง 1 - 2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 กทม. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง "แนวทางการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้สูงอายุ " โดยมีนายแพทย์ชาติ พิชญางกูร อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้กล่าวรายงานของการสัมมนาในครั้งนี้ว่า จากการเปลี่ยนโครงสร้างประชากรของประเทศไทยในทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นว่าสัดส่วนผู้สูงอายุมีมากขึ้นปัจจุบันทั้งประเทศมีผู้สูงอายุประมาณ 5 ล้านคน และคาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวจากการที่ผู้สูงอายุอยู่ในฐานะของ"ผู้ให้"มามากกว่าครึ่งชีวิตแล้ว จึงสมควรได้รับการตอบสนองในฐานะ"ผู้รับ"จากสังคมบ้าง โดยเฉพาะความชอบธรรมในสิทธิมนุษยชนที่พึงมีทั้งด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา ความมั่นคงทางรายได้ สังคมวัฒนธรรม ตลอดจนสวัสดิการต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เสนอมารวม 7 ด้าน และในด้านที่ 6 ซึ่งเกี่ยวกับด้านกฎหมาย ได้มีการเร่งรัดให้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกประเด็น ด้วยเหตุนี้กรมการแพทย์ โดยสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ จึงรับเป็นแกนกลางที่จะประสานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จึงจัดสัมมนาในครั้งนี้ขึ้น
โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ จากกระทรวง สาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการสังคม ศึกษาธิการ มหาดไทย กลาโหม ทบวงมหาวิทยาลัย สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย องค์กรเอกชนและผู้เกี่ยวข้องรวม 120 คนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลปัญหาของผู้สูงอายุทุกๆด้าน ทั้งนี้จะได้นำมาประมวลเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิและกฎหมายสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อตราเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้สูงอายุต่อไป และเพื่อให้สามารถรองรับผู้สูงอายุที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้อย่างครอบคลุม ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้กำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยมาตราที่ 54 ว่า บุคคลซึ่งอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐและตามมาตราที่ 80 รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ แต่ปรากฎว่ายังไม่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่กำหนดชัดเจนว่าผู้สูงอายุควรมีสิทธิอันพึงได้ที่ภาครัฐจะต้องให้หรือคุ้มครอง คาดว่าการสัมมนาครั้งจะหาข้อยุติได้เป็นรูปธรรม --จบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ