ศูนย์วิทย์ฯ ขอนแก่นทำสำเร็จ..พัฒนาโปรแกรมตรวจสารระเหย

จันทร์ ๒๖ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๕:๐๓
กรุงเทพ--26 ม.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น พัฒนาโปรแกรมตรวจวิเคราะห์สารระเหยสำเร็จ สามารถลดเวลาและลดขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ลงจากเดิม และอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเพิ่มการบริการเชิงรุกแก่ประชาชน
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา จังหวัดในเขตที่รับผิดชอบของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น มีการส่งตัวอย่างสารระเหยมาตรวจวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นจากเดิมเฉลี่ยปีละประมาณ 235 ตัวอย่างโดยในปีงบประมาณ 2540 มีจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งสิ้น 838 ตัวอย่าง ซึ่งในขบวนการตรวจพิสูจน์สารระเหยนี้จะใช้เวลาประมาณ 10 วันทำการ ประกอบด้วยการทำรายงานตรวจรับของกลาง การตรวจวิเคราะห์ รายงานการตรวจวิเคราะห์ การเก็บรักษาและการส่งทำลายของกลาง ทั้งนี้การทำรายงานการตรวจพิสูจน์จะต้องมีความสมบูรณ์ของรายละเอียดตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อประกอบเป็นหลักฐานทางคดี โดยใช้รายงาน 1 ฉบับ ต่อ 1 ตัวอย่าง ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลาในการจัดทำเอกสารทั้งหมดประมาณ 120 นาที จึงทำให้เกิดความล่าช้าผู้ใช้บริการต้องใช้เวลารอคอยนานไม่ทันต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
จากปัญหาความล่าช้าของขั้นตอนด้านเอกสารดังกล่าว ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น จึงได้พัฒนาโปรแกรมการทำงานตรวจสารระเหย ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2540 จนเสร็จสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม 2540 โปรแกรมดังกล่าวสามารถทดแทนการทำรายงานในขั้นตอนต่างๆ แบบอัตโนมัติ โดยรวบรวมข้อมูลจากการบันทึกในครั้งแรก ผลของการพัฒนาโปรแกรมการตรวจสารระเหยนี้สามารถลดเวลาลงเหลือเพียง 30 นาที หรือลดลงจากระยะเวลาเดิมถึงร้อยละ 75 นอกจากนี้ยังลดความผิดพลาดต่างๆ ในด้านเอกสารได้อย่างมากผลการพัฒนาโปรแกรมด้วยระบบพึ่งตนเองของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์นี้ ยังส่งผลดีในด้านการพัฒนางานบริการเชิงรุกของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น สามารถรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่วันที่รับตัวอย่างจนกระทั่งส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ประมาณ 5 วันทำการ ซึ่งสามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการทั้งของภาครัฐและเอกชนได้ในระดับหนึ่ง
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากโปรแกรมทำงานตรวจสารระเหยที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น ได้พัฒนาขึ้นมาใช้เพื่อบริการประชาชนแล้ว ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้ริเริ่มพัฒนาโปรแกรมการทำงานในด้านอื่นๆ อีกเพื่อเพิ่มการบริการเชิงรุกแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ฐานข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ทั้งหมดยังได้จัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาประมวลผลได้ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางด้านการบริหารจัดการ และใช้ข้อมูลแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลได้อย่างทั่วถึง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 5910203-14 ต่อ 9017, 9018--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version