อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ

อังคาร ๐๗ ตุลาคม ๑๙๙๗ ๑๔:๐๘
กรุงเทพ--7 ต.ค.--จุฬาฯ
ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นขอาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ (ด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์) จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปี 2539 ร่วมกับผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นสาขาต่าง ๆ อีก 8 ท่าน โดยนายเอนก สิทธิประศาสน์ ประธานคณะอนุกรรมการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ ได้เป็นประธานแถลงข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้
ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ อธิการบดี ได้รับการยกย่องและประกาศเกียรติคุณจากผลงานการเป็นผู้ริเริ่มงานสอนและงานวิจัยสาขาเศรษฐศาสตร์ประชากรและเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ได้ริเริ่มการวิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงจำนวนและโครงสร้างทางประชากรที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการจัดสรรทรัพยากรการศึกษา การสาธารณสุขและสวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นผู้นำให้เห็นความสำคัญของการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 และได้ศึกษาวิจัยในแนวลึกเป็นหลายกรณีรวมทั้งการลงทุนทางการศึกษา การเงินอุดมศึกษา การลงทุนทางการแพทย์และสาธารณสุข และการประกันสังคม เป็นผู้ชี้ชวนให้สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้ให้ความสำคัญและเริ่มหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านประชากรและทรัพยากรมนุษย์ และผลงานศึกษาวิจัยหลายเรื่องได้รับการนำไปใช้เป็นหลักในการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย ได้ทุ่มเททำการวิจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ในประเทศอย่างต่อเนื่องกว่า 25 ปี เป็นจำนวนกว่า 25 โครงการ และเขียนตำรากว่า 10 เล่ม ซึ่งเป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์และอ้างอิงอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึง "การเงินอุดมศึกษา" ในปี พ.ศ.2537 "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพอนามัย" ในปี พ.ศ.2537 และ "เศรษฐกิจการเงินสาธารณสุข" ในปี พ.ศ.2538 ในระยะหลังได้ริเริ่มประยุกต์เศรษฐศาสตร์ในงานบริหารวิชาการ เป็นแนวทางเศรษฐศาสตร์การบริหารโดยเฉพาะการพัฒนาแบบจำลอง "การวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย" ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากในเวลาต่อมา
สำหรับผู้ได้รับการยกย่องครั้งนี้อีก 8 ท่าน ประกอบด้วย 1.นางเตือนใจ ดีเทศน์ สาขาการพัฒนาสังคม (ด้านการพัฒนาชนบทและชุมชน) 2.นายประเวศ ลิมปรังษี สาขาการพัฒนาสังคม (ด้านสถาปัตยกรรมไทย) 3.ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต สาขาการพัฒนาสังคม (ด้านการศึกษา) 4.ศ.อารี วัลยะเสวี สาขาการพัฒนาสังคม (ด้นสาธารณสุข) 5.นายโสภณ สุภาพงษ์ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ (ด้านเศรษฐกิจชุมชน) 6.ศ.อดุล วิเชียรเจริญ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.รศ.สุจิตรา ประสานสุข สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์) 8.โครงการปลูกสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้านสมุนไพรไทย)
ผู้ได้รับการยกย่องทั้ง 9 ท่านจะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลเกียรติคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสต่อไป--จบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ