กรมวิทย์ฯ พัฒนาผู้ปฏิบัติการชันสูตรโรค

พฤหัส ๑๐ กันยายน ๑๙๙๘ ๑๕:๐๐
กรุงเทพ--10 ก.ย.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ SEAMIC NGTC on Quality Assurance in Clinical Laboratory ให้แก่นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2541 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี เพื่อมุ่งพัฒนาระบบคุณภาพของการชันสูตรโรค โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการตรวจวิเคราะห์ชันสูตรโรคได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรม ที่มีบทบาทหน้าที่หลักในการศึกษาวิจัยและเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศ จึงมีนโยบายมุ่งพัฒนาระบบคุณภาพของการชันสูตรโรค เพราะนอกจากทำหน้าที่ให้บริการตรวจชันสูตรยืนยันโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อแล้วยังต้องวิจัยและพัฒนาเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการชันสูตร อีกทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บุคลากรในสถานบริการสาธารณสุขอื่น ๆ การดำเนินงานด้านชันสูตรหรือวิจัยพัฒนาโดยมีระบบประกันคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งข้อมูลในการตรวจวิเคราะห์นี้แพทย์สามารถจะนำไปใช้ประกอบการรักษา หรือใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผน การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาสาธารณสุข โดยในช่วงปี 2541 ที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมให้แก่บุคลากรทุกระดับไปแล้วทั้งสิ้น 3 หลักสูตร ได้แก่ การประกันคุณภาพและรับรองห้องปฏิบัติการ การรับส่งตัวอย่างชันสูตร และการบำรุงรักษา การปรับเทียบเครื่องมือ ซึ่งทั้ง 3 หลักสูตรเป็นการปูพื้นฐานด้านระบบประกันคุณภาพในแนวกว้างเท่านั้น กรมจึงได้จัดการอบรมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะของเจ้าหน้าที่ทั้งในเชิงปฏิบัติการและการนำไปปรับใช้ให้เกิดประสิทธิผล
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า เนื่องจากกรมอยู่ในฐานะเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของประเทศ การจัดอบรมในครั้งนี้ก็เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เสริมทักษะ เพิ่มวิสัยทัศน์เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพ ห้องปฏิบัติการชันสูตร มีการพัฒนาให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ประสานความร่วมมือ ในการดำเนินงานพัฒนาการชันสูตรโรคให้ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล อีกทั้งสามารถนำไปปรับใช้กับงานที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยมหิดลมาเป็นวิทยากร และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ จาก SEAMIC/IMFJ (Southeast Asian Medical Information Center and International Medical Foundation of Japan) ประเทศญี่ปุ่น สำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 30 คน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 5910203-14 ต่อ 9017, 9081 โทรสาร 591-1707 มือถือ 01-9047716--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ