ภาครัฐและเอกชนจับมือควบคุมมลภาวะจากสัตว์รับปีอะเมซิ่งไทยแลนด์

จันทร์ ๑๒ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๓:๓๓
กรุงเทพ--12 ม.ค.--กระทรวงสาธารณสุข
ภาครัฐและเอกชนประสานความร่วมมือควบคุมมลภาวะที่เกิดจากสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยวรับปีอะเมซิ่งไทยแลนด์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยจากโรคที่เกิดจากสัตว์
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2541 เวลา 11.30 น. นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะร่วมแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับ"โครงการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว"ว่า โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนเป็นโรคที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาก จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่ามีโรคของคนที่ติดมาจากสัตว์มากกว่า 180 โรค ทำให้มีคนป่วยด้วยโรคที่ติดมาจากสัตว์มากมาย สำหรับประเทศไทยในปี 2541-2542 ตามนโยบายรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ได้มีการคาดประมาณว่าจะมีนักท่องเที่ยวนานาชาติทั่วโลกมาเที่ยวประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 16 ล้านคนในช่วงเวลา 2 ปีนี้ ซึ่งการเตรียมการต้อนรับในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไท การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ภาคเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินโครงการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น การควบคุมจำนวนสุนัข กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ อันจะก่อความรำคาญแก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยได้เกิดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับมาตรการควบคุมโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นจากสัตว์สู่คน
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนอย่างต่อเนื่อง และสามารถลดอัตราการป่วยและตายได้อย่างมาก เช่น สามารถลดอัตราป่วยของโรคพิษสุนัขบ้าจาก 370 รายเมื่อปี 2523 เหลือเพียง 47 รายในปี 2540 โรค แอนแทรกซ์จาก 130 รายในปี 2522 เหลือเพียง 39 ราย ในปี 2540 โรคทริคิโนซีส 557 ราย ในปี 2526 เหลือเพียง 68 รายในปี 2540 ในอนาคตคาดว่าจะหมดไป
สำหรับมาตรการที่กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ และส่วนราชการในท้องถิ่นกรมการปกครองได้ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนดำเนินการเตรียมความพร้อมในครั้งนี้คือมาตรการควบคุมโรคในสัตว์และมาตรการควบคุมสัตว์ในที่สาธารณะ โดยมุ่งเป้าไปในเรื่องของการควบคุมจำนวนสุนัขและที่สำคัญที่สุดคือการฉีดวัคซีนให้สุนัขและแมวเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้จะใช้มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในที่สาธารณะเพื่อไม่ให้ก่อปัญหาความรำคาญแก่ผู้พบเห็น โดยพื้นที่เป้าหมายที่จะทำเป็นโครงการนำร่องคือ ที่เมืองพัทยา ภูเก็ต สมุย กทม. เชียงใหม่ ต่อจากนั้นจะขยายผลไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น ชายทะเล โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยว ตลาดนัด ตลาดน้ำ ศาสนสถานที่มี ความสำคัญประจำจังหวัด และสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ตามที่กำหนดเป็นแหล่งท่องเที่ยว
คาดว่าแผนความพร้อมในการรองรับปีท่องเที่ยวไทยด้านความปลอดภัยของสุขภาพครั้งนี้จะทำให้ต่างชาติมีความเชื่อ มั่นในงานสาธารณสุขไทยมากยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอยืนยันความปลอดภัยด้านนี้ 100 % --จบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ