สธ.ตรวจแล้วชุดชั้นในกินไม่ได้

ศุกร์ ๑๕ สิงหาคม ๑๙๙๗ ๑๐:๕๕
กรุงเทพ--15 ส.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์ชุดชั้นใน สติกเกอร์ และถุงยางอนามัยที่โฆษณาว่ากินได้ ผลปรากฏว่า กินไม่ได้อย่างที่โฆษณา เพราะพบสีอินทรีย์สังเคราะห์ปริมาณสูงมาก และนอกจากนี้ยังพบสารปรอทปริมาณเกินมาตรฐานปนเปื้อนด้วย
นายสุนทร วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าตามที่มีข่าวโฆษณาขายชุดชั้นใน และถุงยางอนามัยกินได้เมื่อเดือน มิ.ย. 40 นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ไปสุ่มตัวอย่างชุดชั้นในจากบริษัท ทาชินโด อินเตอร์ไพรส์ จำกัด ส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ เสื้อชั้นในและกางเกงในสีขาว (ฉลาก "Edible Undies Dessous Mangeable Made in U.S.A.") สติกเกอร์รูป ต้นไม้ นก หัวใจ สีส้ม เหลือง แดง และน้ำตาล (ฉลาก "LICKUM & STICKUM Tastee Tattoos Made in U.S.A.") และถุงยางอนามัยลักษณะเป็นแผ่นบางรูปสี่เหลี่ยมโค้งด้านบนประกบกัน สีแดง เหลือง ส้ม และชมพู (ฉลาก "Le'Sensuous Sheath Kandie Kondoms Condom Mangeable Made in U.S.A.") ผลการตรวจวิเคราะห์ปรากฏว่าไม่พบวัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก) ในตัวอย่างทั้งสามแต่พบสีอินทรีย์สังเคราะห์หลายชนิดในตัวอย่างสติกเกอร์ และถุงยางอนามัยในปริมาณสูงมาก ถึงร้อยละ 2.1 และนอกจากนี้ยังพบสีห้ามใช้ผสมอาหารอีกด้วย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2525) อนุญาตให้ใช้สีอินทรีย์สังเคราะห์ในอาหารได้ไม่เกินร้อยละ 0.007 เพราะถ้ารับประทานอาหารที่มีสีปริมาณมาก สีจะไปเคลือบตามเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้การดูดซึมอาหารมีประสิทธิภาพลดลง เกิดอาการท้องเสียอ่อนเพลีย น้ำหนักลด และหากได้รับระยะติดต่อกันนาน ๆ อาจเกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ชีพจรและการหายใจอ่อน ถ้าเป็นมากประสาทและสมองเป็นอัมพาต และอาจเป็นมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง และที่อื่น ๆ ได้ และนอกจากนี้ยังพบสารปรอทปนเปื้อนในถุงยางอนามัย ชุดชั้นใน และสติกเกอร์ 0.50, 0.38 และ 0.15 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตามลำดับ ประกาศฯ ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) กำหนดให้มีสารปรอทปนเปื้อนในอาหารไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม พิษจากสารปรอททำให้เกิดอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่สำคัญก็คือจะทำลายระบบทางเดินหายใจและทำลายเนื้อเยื่อในปอดมีผลกระทบต่อระบบขัดถ่าย โดยจะทำลายไต นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม ประสาทหลอน หวาดระแวง และประสาทตาเสื่อม เป็นต้น
นายสุนทร วิลาวัลย์ กล่าวในตอนท้ายว่า จากผลการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า วัตถุตัวอย่างทั้ง 3 ชนิด ไม่สามารถบริโภคได้ ฉะนั้นประชาชนไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อหลอกลวงของสินค้าที่แปลก ๆ เพราะนอกจากจะเสียเงินไปโดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรแล้วยังอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๔๖ นักศึกษา มจพ.คว้า 2 เหรียญทอง หมากรุกไทยและหมากรุกอาเซียน กีฬาแห่งชาติ จันท์เกมส์ ครั้งที่ 49 ณ จังหวัดจันทบุรี
๑๗:๒๗ JAS Group จัดกิจกรรม JAS Virtual Run ก้าวสู่ปีที่ 42 อย่างยั่งยืน
๑๗:๔๓ เจียไต๋เดินหน้าจัด เจียไต๋ โซเชียล เดย์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รวมพลังเจียไต๋อาสาทั่วประเทศปลูกความยั่งยืนให้ชุมชน
๑๗:๒๖ กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน อัลตร้า นอริชชิ่ง ลิป แอมพูล มาสก์ เติมความชุ่มชื้นให้ปากฉ่ำในช่วงฤดูหนาวนี้
๑๗:๔๑ 3 ร้านอาหารเครืออิมแพ็ค แนะนำเมนู Festive เชิญร่วมฉลองส่งท้ายปีกับเมนูแสนอร่อย ตั้งแต่ วันนี้ - 31 ธันวาคม
๑๗:๒๔ กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน กิฟฟี่ ฟาร์ม คิดส์ เจล ทูธเพสท์ สำหรับเด็กๆ
๑๗:๑๑ โคคา-โคล่า ไทยน้ำทิพย์ นำโรงงานรังสิตคว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการพลังงาน ชูนวัตกรรมด้านความยั่งยืนในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
๑๗:๔๕ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับพันธมิตร เตรียมจัดงาน WOW 2025: Wonder Of Well-Living City เมืองดี คนมีพลัง ยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน
๑๗:๔๓ กทม. เร่งแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสอง ขอความร่วมมือชุมชนไม่ทิ้งขยะ-เศษอาหารลงคลอง
๑๗:๐๖ ดั๊บเบิ้ล เอ รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award 2024 ต่อเนื่อง