11 ประเทศ ร่วมหาแนวทางใช้เทคโนโยลี เพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า

ศุกร์ ๐๗ พฤศจิกายน ๑๙๙๗ ๑๓:๔๖
กรุงเทพ--7 พ.ย.--กระทรวงสาธารณสุข
11 ประเทศในภูมิภาคเอเซีย สร้างกลไกความร่วมมือให้มีการใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ป้องกันการใช้เทคโนโลยีอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
นายแพทย์ปรากรม วุฒิพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม ความร่วมมือในโครงการประเมินการใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพในภูมิภาคเอเซีย ที่โรงแรมมารวยการ์เดนท์ ผู้เข้าประชุมเป็นตัวแทนจาก 11 ประเทศ มี บังคลาเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เวียดนาม ไทย ว่า เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขต่าง ๆ นับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการบริการสาธารณสุข จากข้อมูล ปี 2536 จากสมาคมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ราคาแพง ประเมินว่า ประเทศที่มีการนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงมากที่สุดในโลกคือ ประเทศไทยและจีน และมีการนำเข้าสูงขึ้นทุกปี
ดังนั้น ตัวแทน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเซีย จึงได้ร่วมมือที่จะสร้างกลไก การประเมินใช้เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ทั้งในแง่ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ประสิทธิผลและราคา เพื่อลดการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างฟุ่มเฟือยหรือเกินความจำเป็น ซึ่งการประชุมครั้งนี้คาดว่าจะได้กลไกในการใช้เทคโนโลยีแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
ปัญหาเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ มักเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง เป็นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยระบบ MRI เครื่องมือผ่าตัดสมองด้วยรังสีแกรมม่า เป็นต้น เมื่อมีการนำเข้าก็จะมีการโฆษณา หรือเชิญชวนให้มาใช้บริการเครื่องมือที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนสนใจและเข้าไปใช้บริการ ซึ่งจริงแล้วการตรวจวินิจฉัยหรือโรคบางโรคไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีราคาแพงดังกล่าว ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นเช่นนี้ การนำเข้าเครื่องมือดังกล่าวก็คงจะลดน้อยลง ซึ่งก็คงถึงเวลาแล้วที่จะได้มีการทบทวนและให้ความรู้ ความเข้าใจทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ดังนั้นการที่ประเทศในภูมิภาคเอเซียทั้ง 11 ประเทศ ได้ร่วมกันศึกษาประเมินการใช้เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพทั้งการควบคุม การจัดการ การนำเข้า การจำหน่าย การเผยแพร่ข้อมูล และวิธีการใช้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขระดับชาติ
สำหรับประเทศไทย ในการประเมินความคุ้มค่าการใช้เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยในภูมิภาคในการประเมินว่ามีความเหมาะสมจำเป็นหรือคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไรก็ตามในสภาพภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นเช่นนี้ นับว่าถึงเวลาที่จะได้มีการวางแนวทางการปฏิบัติในการใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่ามากที่สุด ทั้งนี้ต้องอาศัย 2 มาตรการคือ มาตรการทางกฏระเบียบ กฏหมายซึ่งต้องเสนอต่อรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก ใช้เวลานาน อีกมาตรการคือ การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามทำเรื่องนี้อยู่ เพราะการเจ็บป่วยบางอย่าง หรือการวิจัยโรคบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งเครื่องมือที่มีราคาแพง หากประชาชนผู้รับบริการได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้อง คงลดการใช้เกินความจำเป็นได้
นอกจากนี้ ทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ก็ได้ร่วมหาแนวทาง กลไก ให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า โดยทำการวิจัยในโรงพยาบาล ลดการใช้เครื่องมืออย่างฟุ่มเฟือย และการยกระดับมาตรฐานโรงพยาบาลทั้งใน 35 โรงพยาบาล นำเรื่องที่โรงพยาบาลรัฐ - เอกชน เพื่อให้คุณภาพดีขึ้น ให้ผู้บริหารโรงพยาบาล หมอ เข้าใจและนำไปใช้ในโรงพยาบาล ส่งผลให้มีการใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพอย่างเหมาะสมราคาพอเหมาะ--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ