กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือนภัยจากอีกัวน่า

พุธ ๑๔ ตุลาคม ๑๙๙๘ ๑๔:๔๔
กรุงเทพ--14 ต.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอเตือนประชาชนที่นิยมนำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยวไว้ในบ้าน โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งพบว่าเป็นแหล่งสะสมและเป็นพาหะของเชื้อซัลโมเนลล่า อันเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่าในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกนิยมนำสัตว์เลื้อยคลาน โดยเฉพาะอีกัวน่ามาเลี้ยงไว้ดูเล่นและเป็นเพื่อน อีกัวน่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มกิ้งก่า มีถิ่นอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ ประเทศเม็กซิโก และหมู่เกาะเวสอินดิส สำหรับประเทศไทยนิยมเลี้ยงกรีนอีกัวน่าเกล็ดใหญ่ (common green iguana) ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 180-200 ซม. เมื่อวัดตามลำตัวจนถึงหาง อายุโดยเฉลี่ย 15 ปี ทั้งนี้ผู้เลี้ยงมักจะมีความใกล้ชิดกับอีกัวน่าเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับสุนัขและแมว โดยนิยมเลี้ยงไว้ในบ้าน ให้เกาะตามตัวให้นอนและกินอาหารด้วย จากการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศในสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด เช่น งู เต่า จระเข้ จิ้งจก และตุ๊กแก มักจะพบเชื้อซัลโมเนลล่า แสดงว่าสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้สามารถจะเป็นแหล่งแพร่ระบาดและเป็นพาหะของเชื้อซัลโมเมลล่าได้ดี ซึ่งเชื้อซัลโมเนลล่านับเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งทางสาธารณสุข และเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อนี้ สามารถที่จะพบได้ใน คน อาหาร น้ำ สัตว์ อาหารสัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เป็นต้น จากรายงานของศูนย์ควบคุมและปัองกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention) ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ในระหว่าง ค.ศ.1994-1995 ระบุว่าได้รับข้อมูลจาก 13 รัฐ แจ้งว่ามีคนไข้เข้ารับการรักษาด้วยการติดเชื้อซัลโมเนลล่าโดยตรงและโดยอ้อมจากจิ้งจก งู เต่า และอีกัวน่า ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ อาเจียน หนาวสั่น ปวดหลัง ท้องเสีย เช่นโรงพยาบาลในรัฐ Connecticut ได้นำอุจจาระของผู้ป่วยไปตรวจพบเชื้อซัลโมเนลล่าชนิด Salmonella Serovor Bassenaar และผู้ป่วยรายนี้ได้เลี้ยงอีกัวน่า 2 ตัว และเมื่อนำอุจจาระของอีกัวน่าไปเพาะเชื้อพบ Salmonella Serovor Wassenaar เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายนี้ แสดงว่าน่าจะมีการปนเปื้อนของเชื้อซัลโมเนลล่าจากอีกัวน่าสู่ผู้ป่วยรายนี้ และจากการศึกษาวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยทำการสำรวจหาเชื้อจากอีกัวน่าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ และที่เลี้ยงอยู่ในประเทศไทย จำนวน 92 ตัว พบเชื้อซัลโมเนลล่า 62 ตัว คิดเป็นร้อยละ 67.37 โดยจำแนกได้เป็น 20 serotype ที่พบในอีกัวน่ามีเพียง 9 serotype เท่านั้น ที่เคยพบในประเทศไทย ส่วนอีก 11 serotype ยังไม่เคยพบในประเทศไทยมาก่อน
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า ผลจากการศึกษาครั้งนี้เพื่อสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบให้กับผู้นิยมเลี้ยงอีกัวน่า ให้ระมัดระวังการติดเชื้อซัลโมเนลล่าจากอีกัวน่า และเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมการนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในประเทศได้มีมาตรการที่เข้มงวดในการอนุญาตนำเข้า และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังเชื้อโรคที่ไม่เคยพบในประเทศไทยมาก่อนไม่ให้แพร่ระบาด ถ้าผู้เลี้ยงอีกัวน่าไม่มีการระมัดระวังที่ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปล่อยให้อีกัวน่าถ่ายไม่เป็นที่เป็นทางหรือเปรอะเปื้อนตัวผู้เลี้ยงเองอาจเกิดอันตรายได้ และหากใช้ยาปฏิชีวนะรักษาอีกัวน่าจะต้องมีการศึกษาให้ดีก่อนใช้ หากไม่ระมัดระวังโอกาสในการดื้อยาของเชื้อซัลโมเนลล่าย่อมมีมากขึ้นและเป็นปัญหาต่อการดื้อยาของเชื้อซัลโมเลล่าย่อมมีมากขึ้นและเป็นปัญหาต่อการดื้อยาของเชื้อนี้ในอนาคต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร.5910203-14 ต่อ 9017,9081--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๙ คัมมิ่นส์ ดีเคเอสเอช ร่วมจัดแสดงสินค้าเครื่องยนต์คัมมิ่นส์ รุ่น QSB6.7 สำหรับรถตัดอ้อย
๑๗:๑๒ ค็อกพิทรุกขยายสาขาต่อเนื่อง ปักหมุดสาขาใหม่ย่านถนนศรีจันทร์ ขอนแก่น มอบความสุขลูกค้าส่งท้ายปีด้วยโปรโมชันใหญ่สุดคุ้ม
๑๖:๐๐ ไอคอนสยาม ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เตรียมพร้อมกำลังพลปฏิบัติการด้านความปลอดภัยขั้นสุด ต้อนรับงานเคานต์ดาวน์
๑๕:๑๒ เซ็นทาราออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรก สอดรับการเติบโตในเอเชีย
๑๕:๑๐ ดีเดย์! 4 ศูนย์การค้าในเครือ เอ็ม บี เค เปิดโครงการ ข.ขวดรักษ์โลก แยกขวดช่วยน้อง สนองเป้า Net Zero บริหารจัดการขยะอย่างรู้คุณค่า 4
๑๕:๔๘ สจส. เร่งศึกษารูปแบบจัดการเดินเรือในคลอง-สนับสนุนเอกชนลงทุน-ใช้พลังงานสะอาด
๑๕:๐๓ D-Link ยืนยัน มุ่งสร้างความมั่นใจในการเชื่อมต่ออัจฉริยะและความปลอดภัยทางไซเบอร์
๑๕:๔๑ TBC จัดงาน Business Partner Award 2024 ครั้งแรกกับงานมอบรางวัลเกียรติคุณยกย่อง ให้กับพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน
๑๕:๒๕ ต้นกล้าฟ้าใส จัด 3 เซ็ตเมนูพิเศษแบบ อร่อย.ดี ฟินคุ้ม เริ่มเพียง 149 บาท
๑๕:๑๔ สสว. ปลื้มกิจกรรมส่งท้าย Roadshow SME Academy On Tour ที่ จ.ยะลา มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ SME เสริมเกราะความรู้เพื่อธุรกิจเติบโต