NPC ปี'41 พัฒนาความสามารถองค์การและบุคลากร เตรียมพร้อมหลังเศรษฐกิจฟื้น

พฤหัส ๒๖ มีนาคม ๑๙๙๘ ๑๑:๓๘
กรุงเทพ--26 มี.ค.--เอ็นพีซี
เอ็นพีซีสรุปผลการดำเนินงานปี 2540 ธุรกิจหลักเดินหน้าเต็มตัว โอเลฟินส์ ไฟฟ้า และไอน้ำ ยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนท่าเทียบเรือช่วยเสริมการส่งออกตามนโยบายรัฐบาลอย่าง ต่อเนื่อง ปี 2541 เน้นพัฒนาความสามารถขององค์การและบุคลากร เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตชิงความเป็นผู้นำช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น
นายกมลชัย ภัทโรดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นพีซี เปิดเผยผลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายในปี 2540 ดังนี้
*โอเลฟินส์และสาธารณูปการ
- เอ็นพีซีมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ทั้งหมด 528,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นเอทิลีน 401,000 ตันต่อปี และโพรพิลีน 127,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ยังผลิตมิกซ์ซีโฟร์ 30,000 ตันต่อปี โดยภายในปี 2540 จำหน่ายให้กับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่อง (Downstream) ได้ทั้งหมด เนื่องจากลูกค้าขยายปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้นถึง 40-50% ทำให้เอ็นพีซีมียอดขายโอเลฟินส์ในปี 2540 ประมาณ 470,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2539 ถึง 20,000 ตัน
- ในปี 2540 เอ็นพีซีได้จัดส่งไฟฟ้าเต็มกำลังการผลิต จำนวน 100 เมกะวัตต์ ให้กับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่อง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ เอสพีพี (Small Power Producer : SPP) ในระยะสัญญา 21 ปี
- เอ็นพีซีมีกำลังการผลิตไอน้ำ จำนวน 340 ตันต่อชั่วโมง จำหน่ายให้กับลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่องเช่นกัน
โดยเอ็นพีซีมีรายได้ปี 2540 ส่วนใหญ่จากการขายโอเลฟินส์และสาธารณูปการ รวม 8,805 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 จำนวน 2,513 ล้านบาท หรือ 40%
*ท่าเทียบเรือและคลังเก็บผลิตภัณฑ์
ท่าเทียบเรือส่วนขยายได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2540 เอ็นพีซีได้ให้บริการขนถ่ายเคมีภัณฑ์เหลวและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ ทั้งการนำเข้าและส่งออกแก่กลุ่มอุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่องประ มาณ 341,000 เมตริกตัน โดยมีจำนวนเที่ยวเรือที่ผ่านท่าเทียบเรือเอ็นพีซีตลอดทั้งปีประมาณ 170 เที่ยว นอกจากนี้ ยังได้มีการก่อสร้างถังเก็บผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมให้กับลูกค้าอีก 2 ถัง จากปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมด 18 ถัง เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มาขอใช้บริการเพิ่มมากขึ้น รวมถึงบริษัท ไทยเอ็มซี จำกัด ซึ่งได้ลงนามบันทึกความเข้าใจให้บริการขนถ่ายผลิตภัณฑ์เมทานอล ปีละ 32,000 ตัน เป็นเวลา 15 ปี จะเพิ่มรายได้ให้เอ็นพีซีอีกกว่า 10 ล้านบาทต่อปี
เอ็นพีซีมีรายได้จากท่าเทียบเรือและบริการอื่น ๆ ของเอ็นพีซี และบริษัทย่อยรวม 833 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2539 จำนวน 243 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 41%
*ธุรกิจบริการ
ปี 2540 เอ็นพีซีได้ขยายขอบเขตการให้บริการครอบคลุมความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยแบ่งตามประเภทของธุรกิจบริการได้ดังนี้
- บริการฝึกอบรมความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ให้บริการลูกค้ารอบบริเวณโรงโอเลฟินส์ โรงงานอุตสาหกรรมในระยองและลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม บริการที่ปรึกษาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 บริการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ที่รับรองโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- บริการด้านรัฐกิจสัมพันธ์ ให้บริการขอรับใบอนุญาต และขอใบรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทางด้านการลงทุนให้แก่บริษัทในเครือ บริษัทในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง และบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งมีผู้สนใจขอรับบริการเพิ่มขึ้น
- บริการงานพิธีศุลกากร ให้บริการดำเนินงานพิธีการศุลกากรและออกของ การขอรับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีอากรขาเข้าแต่ละเที่ยวเรือ และประสานงานในการจัดส่งสินค้าแก่บริษัทร่วมทุน บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง
- บริการที่ปรึกษากฎหมาย ให้บริการบริษัทร่วมทุน บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ และบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
- บริการห้องปฏิบัติการทดลอง ให้บริการทดสอบและตรวจวิเคราะห์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซ น้ำ ตัวเร่งปฏิกิริยา น้ำมันหล่อลื่น การวิเคราะห์ทางด้านสิ่งแวดล้อม และการทดสอบตามที่ลูกค้าต้องการ และเมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม 2540 เอ็นพีซีได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 1300-2537 ISO/IEC Guide 25 จากสำ นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งลูกค้าสามารถนำผลการทดสอบและตรวจวิเคราะห์ไปอ้างอิงได้
นายกมลชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2540 เอ็นพีซีได้ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง มีผลงานด้านการผลิตโอเลฟินส์และสาธารณูปการ ตลอดจนการให้บริการต่าง ๆ เต็มประสิทธิภาพ สามารถผลิตโอเลฟินส์ได้สูงกว่าปีที่ผ่านมา ในด้านการตลาดและจัดจำหน่ายสามารถรักษาลูกค้า และนำกลยุทธ์ด้านราคามาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันทำธุรกิจต่อไปได้ ส่วนในด้านการเงิน มีการบริหารสภาพคล่อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เอ็นพีซีผ่านพ้นภาวะวิกฤตของเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี
ส่วนในปี 2541 เอ็นพีซีเน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสามารถ (Competency) ขององค์การและบุคลากร ตลอดจนมุ่งเน้นการปลูกฝังทัศนคติที่เหมาะสมในการทำงาน ให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม และทดแทนกันได้ ด้วยการสร้างเสริมความสามารถใหม่ที่จำเป็นแก่ผู้บริหารและพนักงานในแต่ละตำแหน่ง ทุกระดับ เพื่อให้สามารถรักษาตลาด และคงอัตราการเติบโตทางธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันไว้ และพร้อมสำหรับการขยายธุรกิจในอนาคต ทั้งในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรให้พร้อมรองรับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตได้ทันท่วงทีและเพื่อรักษาเสถียรภาพในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างความสามารถในการเป็นผู้นำทางธุรกิจในระดับสากลต่อไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ