กรมประชาสงเคราะห์แถลงผลการสำรวจคนเร่ร่อนและคนขอทานปี 2540

อังคาร ๒๙ กรกฎาคม ๑๙๙๗ ๑๕:๐๔
กรุงเทพ--29 ก.ค.--กรมประชาสงเคราะห์
นายอำพล สิงหโกวินท์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสังคม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2540 ณ ห้องประชุมชั้น 5 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาสังคมในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (นายสุขวิช รังสิตพล) เป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายฉัตรชัย เอียสกุล) เป็นผู้ชี้แจง ที่ประชุมได้ให้ข้อสังเกตในเรื่องเด็กว่ายังมีปัญหาเด็กเร่ร่อนขอทานจรจัดจำนวนมากน่าจะได้มีการสำรวจในภาพรวมของประเทศ กรมประชาสงเคราะห์จึงได้รับมาดำเนินการสำรวจโดยแบ่งบุคคลที่จะทำการสำรวจเป็น 4 กลุ่ม คือ คนเร่ร่อนร่างกายปกติ, คนเร่ร่อนร่างกายพิการ, คนขอทานร่างกายปกติ และคนขอทานร่างกายพิการ และในแต่ละกลุ่มได้แบ่งย่อยตามเพศและวัยเป็นผู้ใหญ่ชาย ผู้ใหญ่หญิง เด็กชายและเด็กหญิง ทั้งนี้ได้กำหนดวันสำรวจพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2540
ในส่วนของการสำรวจคนเร่ร่อนและคนขอทานในกรุงเทพมหานคร กรมประชาสงเคราะห์ได้ร่วมดำเนินการกับสำนักงานสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร และองค์การสังคมสงเคราะห์เอกชนด้านเด็ก ในพื้นที่ตามข้อมูลที่ได้จากสำนักงานเขตทุกเขต และข้อมูลพื้นที่ที่กรมประชาสงเคราะห์เคยพบคนเร่ร่อนขอทาน รวมทั้งพื้นที่ที่องค์การสังคมสงเคราะห์เอกชนด้านเด็กเคยพบคนเร่ร่อนและคนขอทาน ซึ่งได้แก่บริเวณตลาด ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ สวนสาธารณะ สะพานลอย สถานีรถไฟ สถานีขนส่งและย่านชุมชนอื่นๆ ผลการสำรวจปรากฏว่าพบคนเร่ร่อนและคนขอทาน รวมทั้งสิ้น 1,712 คน เป็นผู้ใหญ่ 1,223 คน หรือร้อยละ 71.4 และเป็นเด็ก 489 คน หรือร้อยละ 28.6 แยกเป็นประเภทได้ดังนี้
- คนเร่ร่อนร่างกายปกติ 661 คน เป็นผู้ใหญ่ชาย 348 คน ผู้ใหญ่หญิง 158 คน เด็กชาย 111 คน เด็กหญิง 44 คน
- คนเร่ร่อนร่างกายพิการ 108 คน เป็นผู้ใหญ่ชาย 63 คน ผู้ใหญ่หญิง 23 คน เด็กชาย 15 คน เด็กหญิง 7 คน
- คนขอทานร่างกายปกติ 712 คน เป็นผู้ใหญ่ชาย 170 คน ผู้ใหญ่หญิง 239 คน เด็กชาย 169 คน เด็กหญิง 134 คน
- คนขอทานร่างกายพิการ 231 คน เป็นผู้ใหญ่ชาย 144 คน ผู้ใหญ่หญิง 78 คน เด็กชาย 7 คน เด็กหญิง 2 คน
ก่อนหน้านี้กรมประชาสงเคราะห์ เคยทำการสำรวจจำนวนคนเร่ร่อนและคนขอทานในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2537 และ 2538 ในช่วงเดือนกรกฎาคม เช่นเดียวกันปรากฏว่าจำนวนคนเร่ร่อนและคนขอทานมีจำนวนเพิ่มขึ้นกล่าวคือในปี 2537 มีจำนวน 358 คน ปี 2538 ปี 971 เพิ่มขึ้นร้อยละ 171.2 ของปี 2537 และในปี 2540 มีจำนวน 1,712 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.3 ของปี 2538
สำหรับการสำรวจคนเร่ร่อนและคนขอทาน ในส่วนภูมิภาคดำเนินการโดยประชาสงเคราะห์จังหวัดร่วมกับเทศบาลและสุขาภิบาลทั่วประเทศ ทำการสำรวจคนเร่ร่อนขอทานในเขตเทศบาล และสุขาภิบาลเมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2540 เช่นเดียวกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมผลการสำรวจ ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนคนเร่ร่อนและคนขอทานของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการช่วยเหลือคนเร่ร่อนและคนขอทานของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนต่อไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย