อัลคาเทล คว้างานเครือข่ายมัลติมีเดีย ซูเปอร์ คอร์ริดอร์ จากเทเลคอมมาเลเซีย

อังคาร ๐๔ พฤศจิกายน ๑๙๙๗ ๑๐:๕๑
กรุงเทพ--4 พ.ย.--อัลคาเทล
เทเลคอมมาเลเซียได้ประกาศเลือกอัลคาเทลผ่านทาง อัลคาเทล เดต้า เนทเวิร์ค เป็นผู้จัดหาระบบเครือข่ายชุมสายเอทีเอ็ม (ATM) เพื่อการสื่อสารโทรคมนาคมทั่วประเทศในเบื้องต้น อัลคาเทล จะจัดส่งระบบเครือข่ายชุมสาย Alcatel 1100 HSSO รุ่น 1000 จำนวน 16 ชุด ตลอดจนให้บริการด้านวิศวกรรมกับเทเลคอมมาเลเซีย
ระบบเครือข่ายดังกล่าวสามารถให้ความเร็วในการส่งข้อมูลสัญญาณได้มากถึง 80 กิกาบิทต่อวินาที ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จะช่วยให้สามารถรับงานด้านมัลติมีเดียนานาชนิดด้วยสมรรถนะสูงได้
ชุมสายและเครือข่ายจำนวนมากจะได้รับการติดตั้งในมัลติมีเดียซูเปอร์ คอร์ริดอร์ ซึ่งเป็นโครงการด้านไอทีขนาดยักษ์ของรัฐบาลมาเลเซีย โดยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะทำให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีด้านสารสนเทศของเอเชีย ระบบเครือข่ายที่อัลคาเทลติดตั้งในมาเลเซียนี้ นับได้ว่าเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารและโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และเป็นหนึ่งในระบบที่มีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีระบบหนึ่งของโลก
นายฌอง ลูซ์ อาบาซู ประธานและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารของอัลคาเทล เดต้า เน็ตเวิร์ค กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลที่มองทะลุไปถึงปี ค.ศ. 2020 ทำให้ประเทศมาเลเซียก้าวไกลด้วยการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางสื่อสาร และโทรคมนาคมอันล้ำสมัย อัลคาเทลมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยี อัลคาเทล 1100 HSS และผู้ชำนาญการ เพื่อทำงานให้กับมาเลเซีย ซึ่งนับได้ว่าเป็นประเทศที่มีอัตราความเจริญเติบโตสูงมากแห่งหนึ่งในภูมิภาคนับได้ว่าเป็นมาตรฐาน ซึ่งอีกหลายประเทศจะได้นำไปเป็นแบบอย่าง
การได้รับงานจากเทเลคอมมาเลเซียในครั้งนี้ เป็นการยืนยันถึงการขยายบทบาทของ อัลคาเทลในการให้บริการสื่อสารผ่านระบบทางด่วนข้อมูลและเครือข่าย ในปี 1996 อัลคาเทลได้ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานระบบเฟรมรีเลย์ และระบบเครือข่ายชุมสายเอทีเอ็ม ให้กับเครือข่ายสื่อสารร่วมของรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงระบบข้อมูลของทุกหน่วยงานของรัฐบาลเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นในปี 1993 อัลคาเทลได้ติดตั้งระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลทั่วประเทศให้กับเทเลคอมมาเลเซีย อัลคาเทลในมาเลเซียได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งรวมทั้งระบบเครือข่าย GSM 1800, ระบบเครือข่ายสื่อสัญญาณระบบทวนสัญญาณไมโครเวฟ และระบบธุรกิจอื่น ๆ
นอกจากนั้น อัลคาเทลได้แถลงว่า ยูนิเทเล หรือยูนิเวอร์ซิตี้เทเลคอม จะนำเฟรมรีเลย์ และ เอทีเอ็ม สวิชท์ (Alcatel 1100 HSS Series 700) มาใช้ตามข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างอัลคาเทลกับยูนิเทเล ซึ่งลงนามในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยยูนิเทเล เป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้งที่มหาวิทยาลัยมัลติมีเดียในเมืองใหม่ ไซเบอร์จายา ภายในข้อตกลงดังกล่าว จะรวมทั้งการให้เงินทุน สนับสนุนงานวิจัยเพื่อฝึกอบรมนักศึกษาในระดับปริญญาเอก เพื่อให้สามารถศึกษา และปฏิบัติงานด้านการวิจัยกับสถาบันวิจัยชั้นสูง และศูนย์อบรมในทวีปยุโรป
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อัลคาเทลยังได้ประกาศที่จะจัดตั้งศูนย์สนับสนุนงานด้านมัลติมีเดียและระบบเครือข่ายที่ติดตั้ง และกำลังจะติดตั้งในทวีปเอเชียที่ศูนย์ดังกล่าวจะประกอบด้วยผู้ชำนาญการต่างๆ ด้านมัลติมีเดียและระบบเครือข่าย โดยศูนย์ดังกล่าวจะตั้งที่ประเทศมาเลเซีย อัลคาเทลเป็นหนึ่งใน 41 บริษัทที่สนับสนุนในโครงการมัลติมีเดีย ซูเปอร์ คอร์ริดอร์ ของรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งก่อตั้งตามแนวนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ดร. มหาเธ่ห์
------------------------
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ: ราเมศ รัตยันตรกรบริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัดโทร. 3319384-5--จบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ