ดร.ธรรมนูญ เสนอให้ลดภาษีบุคคลลงมา ชี้ให้ผลดีกว่าลดภาษีนิติบุคคล

พฤหัส ๒๕ กรกฎาคม ๑๙๙๖ ๑๗:๐๕
กรุงเทพ--25 ก.ค.--ศรีมิตร
ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ ศรีมิตร จำกัด (มหาชน) กล่าวแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่รัฐบาลจะประกาศ ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 27% ของผลกำไรว่า ในทางปฏิบัติทางรัฐบาลสมควรลด ภาษีบุคคลแทนการลดภาษีนิติบุคคล เนื่องจากในข้อเท็จจริงภาษี คือ รายรับของรัฐบาล แต่ เป็นรายจ่ายของภาคเอกชน ซึ่งภาคเอกชนนั้นประกอบด้วยธุรกิจ (BUSINESS) ทั้งใน ลักษณะบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด และนิติบุคคลต่าง ๆ กับผู้อุปโภคและบริโภค คือ บุคคล ที่เป็นประชาชนต่าง ๆ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ธุรกิจนั้นไม่ได้เป็นผู้จ่ายภาษีจริง ๆ เพราะ เงินที่จ่ายจากภาคธุรกิจให้กับรัฐบาลในรูปแบบภาษี (โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคล) นั้นถือเป็น ค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่งทางธุรกิจที่จะต้องบวกเข้าไปในต้นทุน แล้วผู้ที่ต้องรับภาระในค่าใช้ จ่ายภาษีจริง ๆ ก็คือ ประชาชนประเภทบุคคล ที่เป็นผู้อุปโภคและผู้บริโภค ดังนั้น การที่ รัฐบาลจะลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% ลงมาที่ 27% นั้นเป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น เนื่อง จากไม่มีผล ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลง
นอกจากนี้ เมื่อนิติบุคคลมีผลกำไรมากขึ้นต้องมีภาระในการจ่ายเงินปันผล และ ต้องเสียภาษีในรูปแบบเงินปันผลอีก 10% นับเป็นการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน และไม่เป็นแรงกระตุ้น ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาษีลดลงไปเพียง 3% เท่านั้น หากจะส่งเสริมหรือสร้างแรงกระตุ้นให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น ต้อง ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% ลงไปที่ 15% (หรือต่ำกว่า 15%) ซึ่งจะเท่ากับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของไทย แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถกระทำได้เพราะทุก ๆ 3% ที่รัฐบาลไทย ลดภาษีนิติบุคคลจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้เกือบ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะไปสร้างปัญหา ให้กับนโยบายการคลัง ในรูปแบบของการจัดเก็บภาษีและจัดทำงบประมาณรายจ่ายของภาค รัฐ นอกจากจะออกพระราชกำหนดเอาเงินคงคลังที่มีอยู่ประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท ออกมาใช้เพื่อชดเชยกัน ซึ่งในทางการเมืองแล้วรัฐบาลก็ไม่กล้ากระทำเช่นนั้น เพราะถ้า ทำไปแล้ว ถ้าสภาผู้แทนฯ ไม่ผ่านเป็นพระราชบัญญัติแล้วรัฐบาลต้องลาออกทันที
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บงล.ศรีมิตรได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า รัฐบาลสมควรลดภาษีบุคคล (ไม่ใช่ลดภาษีนิติบุคคล) เพราะนอกจากจะทำให้รายรับสุทธิของ ประชาชนบุคคลต่าง ๆ สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้เม็ดเงินดังกล่าวจะถูกเก็บเป็นเงินออมในระยะ ยาวต่อไป ซึ่งรัฐบาลจะต้องส่งเสริมนโยบายการคลัง (ทางภาษี) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน ได้ออมเงินในระยะยาว เพราะขณะนี้ปัญหาของประเทศ คือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ ประมาณการณ์ว่าเกินกว่า 8% ของผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ซึ่งตัวเลขดังกล่าว คือ ตัวเลขตัวเดียวกันในทางเศรษฐกิจระดับมหภาคของช่องว่างระหว่างเงินออม (SAVINGS) กับเงินลงทุน (INVESTMENT) และหากรัฐบาลไทยสามารถเร่งระดมเงินออม ในระยะยาว โดยใช้การลดภาษีบุคคล เป็นตัวนำร่องแล้วตามด้วยมาตรการส่งเสริมการออม เช่นกองทุนประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญ ทุกรูปแบบ ทั้งภาค เอกชนและรัฐบาล โดยใช้การลดภาษีบุคคลเป็นตัวจุดพลุ นอกจากจะมีเงินออมสูงมากขึ้นแล้ว เงินรับสุทธิเพิ่มขึ้นบางส่วนสามารถนำไปใช้จ่ายในการอุปโภคและบริโภคได้มากขึ้น ก็จะช่วย ทำให้เงินสภาพคล่องในทางธุรกิจสูงขึ้น แต่ต้องใช้นโยบายการเงินจากแบงก์ชาติ กำกับดูแล ไม่ให้เงินเฟ้อสูงเกินไปจนเกิดผลเสียหาย เพราะถ้ามีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่รองรับได้จริง ๆ ตามเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าภาวะเงินเฟ้อ นั้น เป็นเรื่องที่ดี และยอมรับได้ทุกฝ่ายนั่นเอง
นอกจากนี้ ดร.ธรรมนูญยังให้ความเห็นอีกว่า ถ้ารัฐบาลลดภาษีบุคคล (ไม่ใช่ ภาษีนิติบุคคล) แล้วจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ในรูปภาษีบุคคลธรรมดา แต่มีทางแก้โดย การอาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายการคลังของประเทศนั้น จะเสริมด้วยภาษีทางอ้อม ซึ่ง ประเทศที่เจริญแล้วนโยบายทางภาษีนั้นพยายามหลีกเลี่ยงเก็บภาษีทางตรง หรือหากต้องจัด เก็บก็พยายามจัดเก็บให้มีอัตราต่ำสุด แต่หลายประเทศได้หันไปใช้หลักการเก็บภาษีทางอ้อม มากที่สุดในอัตราสูงเท่าที่จะเก็บได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันไทยจัดเก็บที่ 7% ซึ่งถ้า เทียบกับกำลังซื้อและเงินออมและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างประเทศไทยใน ขณะนี้แล้ว อัตรา 7% นับว่าต่ำมาก ซึ่งธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็เคยแสดงความคิดเห็นมาแล้ว แต่ด้วยกระแสต่อต้านและความไม่เข้าใจของประชาชนส่วนใหญ่จึงคงต้องใช้อัตรา 7% ซึ่งต่ำไป (ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์เขาเก็บถึงเกือบ 20%) พร้อมกับมีเงื่อนไขเป็นทางเลือกให้กับผู้ไม่ต้องการเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งในทางกลับกันนั้นจะต้องพยายามสร้างเงื่อนไขทั้งทางกฏหมายและในทางปฏิบัติ เพื่อบังคับให้ทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มให้มากที่สุด เนื่องจากเพื่อความยุติธรรมเพราะถ้าผู้ใดอุปโภคและบริโภคมากก็จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นตามลำดับ โดยที่ไม่สนใจว่าจะมี รายได้มาก การปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น
นอกจากจะสร้างความยุติธรรมต่อสังคมไทยแล้ว ยังสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับรัฐบาล เนื่องจากประมาณการณ์ว่า ทุก ๆ 1.0% ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น จะมีเงินเข้ารัฐบาลประมาณ 22,000-24,000 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวก็จะมาชดเชยกับเงินภาษี บุคคลที่รัฐจะประกาศลดลงไป เพราะจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า โดยเฉพาะเงินรับ สุทธิในมือประชาชนจะสูงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อเงินออม (SAVINGS) ให้สูงมากขึ้น ส่งผล ให้ลดช่องว่างระหว่างเงินออมและเงินลงทุนเท่ากับลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั่นเอง ดังนั้น รัฐบาลน่าจะลดภาษีทางตรงโดยเฉพาะภาษีบุคคล (ไม่ใช่ภาษีนิติบุคคล) และไปเพิ่ม ภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่า--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version