ปตท. ร่วม กปร. ฟื้นฟูสภาพป่ากุยบุรี จ.ประจวบฯ เฉิลมพระเกียรติ 72 พรรษา

ศุกร์ ๐๖ สิงหาคม ๑๙๙๙ ๑๓:๔๘
กรุงเทพ--6 ส.ค.--ปตท.
นายปิติ ยิ้มประเสริฐ ผู้จัดการใหญ่ ปตท. ก๊าซธรรมชาติ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้ (2542) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติกุยบะรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. บนเนื้อที่ 9,972 ไร่ ซึ่งผืนป่าแห่งนี้ แต่เดิมเคยมีสภาพพื้นที่เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้และสัตว์ป่าหายก รวมทั้งเป็นป่าต้นน้ำลำธารของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาพื้นที่ป่าบางส่วนถูกราษฎรบุกรุกแผ้วถางเพื่อทำไร่สับปะรด และพืชไร่อื่น ๆ ก่อให้เกิดสภาพดินและป่าไม้เสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้างป่า ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ มีประชากรประมาณ 107 เชือก และมีแหล่งที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับพื้นที่บุกรุก เมื่อแหล่งอาหารในฤดูลแล้งลดลง โขลงช้างป่าดังกล่าว ได้ลงมาบุกรุกพื้นที่ทำกินและกินพืชไร่ จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตของราษฎรเป็นประจำเกือบทุกปี จนเกิดข้อพิพาทระหว่างคนกับช้างขึ้น สภาพปัญหาได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2540 เป็นต้นมา ช้างได้ถูกราษฏรทำร้ายจนถึงขึ้นบาดเจ็บและเสียชีวิตแล้วหลายเชือก ซึ่งหากไม่ดำเนินการแก้ไข จะทำให้ช้างป่าสูญพันธุ์ได้
นอกจากนี้ที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นผืนป่าตะวันตกที่มีแนวเขตติดต่อกับผืนป่าจังหวัดเพชรบุรี และราชบุรี ถึงอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่ง ปตท. มีแผนดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อเชื่อมผืนป่าตะวันตกเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนุบรี ปตท. มีโครงการ อนุรักษ์พื้นที่ป่าและสัตว์ป่า จำนวน 30,000 ไร่ โดยก่อนหน้านี้ ปตท.ได้สนับสนุนงบประมาณแก่กรมป่าไม้ ในการจัดตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ขึ้นที่ บริเวณทางเข้าพื้นที่โป่งน้ำพุร้อน บ้านห้วยปากคอก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ เริ่มในปี 2542 นี้ โดยเน้นการจัดการแบบ “ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม” ทั้งภาครัฐ ราษฎรในพื้นที่ องค์กรพัฒนาเอกชนและปตท. ร่วมดูแล ซึ่งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรีนี้ มีพันธ์ไม้นานาพันธุ์ พันธุ์ไม้หายาก และสัตว์ป่าที่สำคัญ โดยเฉพาะช้างป่าได้อาศัยเป็นเส้นทางหากิน เดินข้ามไปข้ามาตามช่วงฤดูกาลอยู่เป็นประจำ
สำหรับการดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูอุทยานแห่งชาตกุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแผนงานของ ปตท.ในระยะการดำเนินงาน 3 ปี (2542 ถึง 2544) ใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท ประกอบด้วยแผนปฏิบัติงาน 3 แผน ได้แก่
1. แผนงานอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ใช้เป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่า และใช้ประโยชน์ในการป้องกันไฟป่า ด้วยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น และสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กจำนวน 2 อ่าง
2. แผนงานฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการปลูกป่าในพื้นที่ 9,972 ไร่ ใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่นเดิมเป็นหลัก ผสมกับพันธุ์ไม้ที่ใช้เป็นอาหารของสัตว์ป่า
3. แผนงานการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการพัฒนาอาชีพ เพื่อส่งเสริมแนวคิดสคัญที่ว่าคนสามารถอยู่ร่วมกับป่าในลักษณะเกื้อกูลกันได้ และสร้างแรงจูงใจให้ราษฎรมีรายได้จากการดูแลรักษาป่า ด้วยการจัดอบรมพัฒนาอาชีพ อบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า ส่งเสริมการเกษตร ปศุสัตว์ ตามแนวพระราชดำริ--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ