กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชี้ กินอย่างไร...จึงจะปลอดภัย

ศุกร์ ๐๙ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๓:๕๒
กรุงเทพ--9 ม.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ นครราชสีมา สุ่มตัวอย่างหมูยอจากแหล่งผลิตและจำหน่ายในเขตจังหวัดนคราชสีมาพบไม่เข้ามาตรฐาน ถึงร้อยละ 86.7 เนื่องจากใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าหมูยอเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ประเภทไส้กรอกต้มสุก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมืองของภาคอีสานที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ ฉะนั้น การถนอมอาหารจึงเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งผู้ผลิตมักใส่วัตถุกันเสียเพื่อยืดอายุในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ระหว่างรอจำหน่าย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงทำการสุ่มตัวอย่างหมูยอจากแหล่งผลิตและจำหน่ายในเขตจังหวัดนครราชสีมา ช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2540 จำนวน 15 ตัวอย่าง พบไม่เข้ามาตรฐาน 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 86.7 เนื่องจากมีการใช้วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิด) ในปริมาณสูงเกินมาตรฐาน ซึ่งค่าปกติปริมาณวัตถุกันเสียที่ให้มีได้ในผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อสัตว์ประเภทหมูยอคือ 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กรดเบนโซอิคหรือเกลือเบนโซเอทมีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อใส่ลงในอาหาร ทำให้รสชาดไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีราคาถูก ประสิทธิภาพของกรดเบนโซอิค สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเชื้อจุลินทรีย์จำพวกยีสต์และแบคทีเรียได้ดี โดยปกติร่างกายของคนเรา สามารถกำจัดกรดเบนโซอิคออกได้โดยขับออกมาทางปัสสาวะ ถ้าร่างกายได้รับสารนี้ในปริมาณ 6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและท้องเสีย เป็นต้น
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อไปว่า จากการที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ นครราชสีมา ได้ทำการศึกษาหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณกรดเบนโซอิค ในหมูยอให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการลวกหมูยอในน้ำเดือดในเวลาที่ต่างกัน เปรียบเทียบกับหมูยอ ที่ไม่ผ่านกระบวนการลวก เพื่อเป็นข้อแนะนำการบริโภคหมูยอให้ปลอดภัย ผลปรากฎว่า เมื่อนำหมูยอไปลวกในน้ำเดือด จะสามารถลดปริมาณกรดเบนโซอิคได้ ซึ่งปริมาณกรดเบนโซอิคที่ลดลงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของน้ำกับหมูยอที่ใช้ ฉะนั้น ผู้บริโภคที่เคยเข้าใจว่าหมูยอเหล่านั้นสุกมาแล้วสามารถแกะหมูยอออกจากห่อรับประทานทันที โดยไม่ผ่านการลวกหรือต้มจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเสียใหม่ โดยนำหมูยอไปต้มหรือลวกในน้ำเดือดก่อนรับประทานก็จะปลอดภัยกว่าการบริโภคในทันที
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า การใช้สารเคมีในขบวนการผลิต อาจทำให้อาหารไม่บริสุทธิ์ก่อให้เกิดสารพิษในอาหารในลักษณะพิษเฉียบพลัน หรือพิษเรื้อรังต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงควรตระหนักในการใช้สารเจือปนในอาหารอย่างมีวิจารณญาณตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติอาหารอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลสุขลักษณะในทุกขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ ความสะอาดของสถานที่ผลิตและคนงาน ทั้งนี้ ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วย โดยการลวกหรือต้มก่อนรับประทานทุกครั้ง ก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงจากการเกิดพิษจากสารเคมีได้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
9 มกราคม 2541
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
โทร. 5910203-14 ต่อ 9017, 9081
โทรสาร 5911707 มือถือ 01-9047721--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ