สาธารณสุขจัดค่ายปลูกจิตสำนึกแพทย์เพื่อชนบท

จันทร์ ๑๗ พฤศจิกายน ๑๙๙๗ ๐๙:๒๓
กรุงเทพ--17 พ.ย.--สาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขพอใจจัดค่ายนักศึกษาแพทย์ชนบท เพื่อปลูกจิตสำนึกในการเป็นแพทย์ที่ดี พร้อมให้บริการประชาชนในชนบทได้อย่างมีความสุข
นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการสถานบันพระบรมราชนก ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข มีปัญหาขาดแคลนแพทย์ทั้งในแง่จำนวนและการกระจาย จึงเกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์อย่างวิกฤติในชนบท พบได้จากโรงพยาบาลชุมชนซึ่งเป็นโรงพยาบาลในระดับอำเภอในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 708 แห่ง มีแพทย์ปฏิบัติงานจริงเพียง 1,660 คน มีเพียงร้อยละ 40 ของกรอบอัตรากำลังที่ควรมี สาเหตุหนึ่งทีร่ทำให้ชนบทขาดแคลนแพทย์คือ ผู้ที่ไปอยู่ชนบทส่วนใหญ่จะเป็นแพทย์ใช้ทุน เมื่อใช้ทุนครบก็จะไหลออกจากชนบท
เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท กระทรวงสาธารณสุขโดยความร่วมมือจากทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ด้วยการคัดเลือกนักศึกษาจากพื้นที่จังหวัดในส่วนภูมิภาคเข้ามาเรียนเพื่อให้กลับไปทำงานในพื้นที่เมื่อเรียนจบ หนทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้แพทย์เหล่านี้อยู่ในชนบทได้ยั่งยืนคือ การปลูกจิตสำนึกให้แพทย์เหล่านี้ มีจิตวิญญาณของแพทย์ที่ดีเข้าใจปัญหาและความรู้สึกของคนชนบท ทำให้เขาสามารถทำงานในชนบทได้อย่างมีความสุข
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดค่ายนักศึกษาแพทย์ชนบทขึ้นในช่วงเปิดเทอมภาค 1 โดยมีเป้าหมายในการเตรียมตัวนักศึกษาให้เป็นแพทย์ที่ดีในอนาคต ด้วยการให้นักศึกษาแพทย์ชนบทปีที่ 1 ได้มาอยู่ร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน สัมผัสกับธรรมชาติและความเป็นจริงในชุมชน มีโอกาสร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชนในชนบท อันจะเป็นการหล่อหลอมทัศนคติในหมู่นักศึกษาแพทย์ชนบท สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ในหมู่นักศักษาแพทย์ชนบท
การจัดค่ายนักศึกษาในปีนี้ ได้ดำเนินการในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2540 จำนวน 2 ครั้ง คือ ที่สวนน้ำพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และที่วนอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ละครั้งนักศึกษาแพทย์จะอยู่ร่วมกันประมาณ 3-4 วัน มีนักศึกษาร่วมเข้าค่ายทั้ง 2 ครั้งนี้จำนวน 167 คน จากนักศึกษาแพทย์เพื่อชาวชนบทปีนี้ทั้งหมด 206 การจัดค่ายครั้งนี้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ นักศึกษาแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการพึงพอใจมาก โดยนายปราโมทย์ แสงทอง จากมหาวิทยาลัยนเศวร ได้กล่าวแสดงความรู้สึกในครั้งนี้ว่า "ได้รู้ว่าการเป็นแพทย์ที่ดีทำอย่างไร ได้รู้ถึง ปัญหาและความรูสึกนึกคิดของประชาชน" ในขณะที่นางสาวจุฬาทิพย์ นาคาเริงฤทธิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "โครงการนี้ดีมากๆ ค่ะ สามารถนำสิ่งที่ได้ฟังมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้มาก ได้รู้จักธรรมชาติ ทำให้อยากเรียนจบเร็วๆ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ไกลๆ มีความรู้สึกดีๆ ต่อคำว่า "แพทย์เพื่อชนบท"--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ