ไจก้าทุ่ม 35 ล้าน กู้วิกฤตเอดส์

จันทร์ ๐๕ มกราคม ๑๙๙๘ ๑๔:๒๘
กรุงเทพ--5 ม.ค.--ไจก้า
องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan Internation Cooperation Agency-JICA) ให้การสนับสนุนงบประมาณ 35 ล้านบาท แก่กระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนารูปแบบการป้องกันและการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์แบบผสมผสาน ที่จังหวัดพะเยา เป็นเวลา 5 ปี เมื่อเสร็จสิ้นโครงการคาดว่า จะลดการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ได้ไม่ให้เกิน 2%
น.พ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์แบบผสมผสาน ให้สัมภาษณ์ว่าองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) พอใจผลการดำเนินงานโรคเอดส์ของจังหวัดพะเยา ที่ผ่านมาให้การควบคุมและป้องกันโรคเอดส์อย่างได้ผล เช่น การรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัย100% การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้โสเภณีมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อเอดส์น้อยลง ทางไจก้าเห็นในความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาโรคเอดส์ของจังหวัดพะเยา จึงสนับสนุนงบประมาณ 35 ล้านบาท ในการพัฒนาโครงการต่อเนื่องมีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2545
น.พ.ศุภชัย กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณ ไจก้าสนับสนุนประมาณ 35 ล้านบาท จะเป็นในรูปวัสดุอุปกรณ์ปีละประมาณ 5 ล้านบาท งบดำเนินการปีละประมาณ 2 ล้านบาท พร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ร่วมดำเนินการตลอดโครงการรวมทั้งจัดให้ทุนไปฝึกอบรม ดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ปีละ 2-4 คนอีกด้วย
สำหรับการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโครงการ เน้นการป้องกันและการดูแลแบบผสมผสานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีอัตราการเติบโตเชื้อสูง จากปี 2538 พบ 5.6% ปี 2540 เหลือ 4.9% มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการให้คำปรึกษาผู้ที่จะมีครอบครัว มีการตรวจเลือดก่อนสมรสและก่อนตั้งครรภ์เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ทารกที่เกิดมาติดเชื้อ คาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการสามารถลดการติดเชื้อของหญิงตั้งครรภ์ให้ไม่เกิน 2% ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อในเด็กทารกแรกเกิดลดลงด้วย ในส่วนของเด็กวัยรุ่นที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อถึง 6% ได้ประสานความร่วมมือกันกับกระทรวงศึกษาธิการ รณรงค์ให้ความรู้ในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อเอดส์ ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เป็นการเตรียมป้องกันไว้ก่อนเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ นอกจากนี้ได้ประสานความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนต่างๆ ให้มีความรู้การส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อแบบครบวงจร เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก ในกลุ่มประชาชนอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ติดเชื้อมีการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม มีการตั้งกลุ่ม/ชมรมผู้ติดเชื้อเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ติดเชื้อ ในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม หารายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งในขณะนี้ทางจังหวัดพะเยามีชมรมเหล่านี้เป็นจำนวนมาก
น.พ.ศุภชัย กล่าวต่อว่า เมื่อเสร็จสิ้นโครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์แบบผสมผสาน คาดว่าโครงการดังกล่าวสามารถนำไปทดลองขยายผลในจังหวัดอื่น ทำให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมแลป้องกันโรคเอดส์ในประเทศ--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๗ ทันตแพทย์ ม.พะเยา ลงพื้นที่ดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ เติมรอยยิ้มสดใส ฟันดีทุกวัย
๑๗:๐๐ 'สานใจไทย สู่ใจใต้' รุ่นที่ 44 ซีพี - ซีพีเอฟ หนุนโครงการต่อเนื่องมุ่งเสริมสร้างโอกาสการศึกษา พัฒนาความคิดและทักษะอาชีพแก่เยาวชนไทยรุ่นใหม่
๑๗:๑๒ สงกรานต์นี้ ฉลองไปกับโรยัล เอ็นฟีลด์
๑๗:๐๗ ' ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
๑๗:๔๑ ดีพร้อม เปิดโปรเจ็กต์สุดปังหนุนผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นสายมูมงคล ดึงวัฒนธรรม ศรัทธา เสริมพลังบวก
๑๗:๔๑ ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ประกาศผลผู้ชนะโครงการประกวดภาพศิลปะเด็กและเยาวชนแนวคิด ดื่มไม่ขับ หนุนทักษะศิลปะเยาวชน
๑๗:๐๗ โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ ประจำปี 2568 ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แผนกทุยหนาและกระดูก
๑๗:๔๒ CPF เปิดบ้าน จัดงาน 'CP SPLASH IN SPACE' ปลุกพลัง Soft Power ชวนคนไทยฉลองสงกรานต์ เสิร์ฟความมันส์ ทะลุอวกาศบนถนนสีลม
๑๗:๐๐ BSRC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มีมติอนุมัติเดินหน้าการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการของบริษัท
๑๗:๑๖ Splashing Together ทรู ดีแทค รวมกัน สงกรานต์สนุกขึ้นเยอะเลย