หลายหน่วยงานร่วมวิจัยภาคสนามโครงการบำบัดน้ำเสียพื้นที่เขตยานนาวา

พุธ ๐๔ กุมภาพันธ์ ๑๙๙๘ ๑๑:๕๔
กรุงเทพ--4 ก.พ.--เขตยานนาวา
นายณัฐชัย คทวนิช ผู้อำนวยการเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร แจ้งว่า สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานครมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดชุมชน ศูนย์พาณิชยกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น กระจายทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการปล่อยน้ำเสียลงสู่ท่อระบายน้ำ ลำคลองสาธารณะและลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในที่สุด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ทางมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับเขตยานนาวาจัดทำการวิจัยภาคสนามเพื่อสร้างทัศนคติของประชาชนในการมีส่วนร่วมต่อการแก้ไขปัญหาแม่น้ำเจ้าพระยาเน่าเสีย เพื่อที่จะบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งของกรุงเทพมหานครก่อนที่จะปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
ผู้อำนวยการเขตยานนาวา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีการศึกษาโครงการบำบัดน้ำเสียเขตยานนาวา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เขตยานนาวา จะดำเนินการออกแบบสอบถามประชาชนในพื้นที่เขตระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ - 15 มีนาคม 2541 โดยดำเนินการสำรวจวิจัยภาคสนาม ตามชุมชนศูนย์พาณิชยกรรมและดรงงานอุตสาหกรรม
สำนักงานเขตยานนาวา จึงขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ในการตอบแบสอบถามแก่เจ้าหน้าที่ ที่จะไปสัมภาษณ์ตามวันดังกล่าวด้วย--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ