กทพ.ขอความร่วมมือรถบรรทุกพ่วงตรวจสอบสภาพรถให้เรียบร้อย

ศุกร์ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๑๙๙๘ ๑๒:๒๘
กรุงเทพ--27 ก.พ.--กทพ.
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กพท.) กระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือผู้ใช้รถบรรทุกพ่วง ตรวจสอบความเรียบร้อยของตัวรถตลอดจนสิ่งของที่บรทุกให้อยู่ในสภาพแน่นหนามั่นคง ก่อนใช้ทางด่วนทุกครั้ง และขับรถด้วยความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้
นายอำนวย ต้านศัตรู ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า จากจำนวนรถที่ใช้ทางด่วนในปัจจุบันตรวจพบว่ามีรถบรรทุกพ่วงจำนวนมากที่นำรถที่อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ขึ้นทางด่วน เช่น การติดสลักยึดตู้คอนเทนเนอร์ไม่เรียบร้อย ผู้มัดสิ่งของบรรทุกไม่แน่นหนา และขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด ซึ่งอาจทำให้ตู้คอนเทนเนอร์หลุด สิ่งของต่างๆ ตกหล่นบนทางด่วน เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุและส่งผลกระทบให้การจราจรติดขัด
จากกรณีดังกล่าว การทางพิเศษฯ จึงขอความร่วมมือผู้ใช้รถบรรทุกพ่วง กรุณาตรวจสอบการยึดติดสลักและการผูกมัดสิ่งของให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนขึ้นทางด่วน รวมทั้งการขับขี่รถด้วยความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง
ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กทพ. โทร. 940-1239/40 ทุกวันทำการ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. หรือ ตู้ ปณ. 93 ปณ.จตุจักร กรุงเทพฯ 10900--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ