กรุงเทพ--11 พ.ย.--จุฬาฯ
ในหนังสือ "พจนานุกรมสถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 20" (Dictionnaire de l'Architecture du XXe Siecle) จัดพิมพ์โดยสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งฝรั่งเศส สำนักพิมพ์ Hazan พ.ศ. 2539 ซึ่งรวบรวมประวัติและผลงานของสถาปนิกเอกทั่วโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ปรากฎว่ามีสถาปนิกจากประเทศไทยเพียง 3 รายเท่านั้นที่ได้รับการบันทึกไว้ในทำเนียบสถาปนิกเล่มนี้ หนึ่งในสามของสถาปนิกไทยมีชื่อของ รศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย ผู้ช่วยอธิการบดี รวมอยู่ด้วย ซึ่งข้อความในพจนานุกรมมีดังนี้
Bundit Chulasai (2495, เชียงใหม่ ประเทศไทย) "สถาปนิกแห่งกรุงเทพมหานครมีผลงานในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2527 หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางสถาปัตยกรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ แล้ว บัณฑิตจุลาสัยได้รับปริญญาโทจากมลรัฐอิลลินอยล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกจากประเทศฝรั่งเศส เมื่อกลับมาประเทศไทยได้ร่วมกับพี่ชายก่อตั้งบริษัท Chulasai Company Group ได้ออกแบบอาคารหลายหลังของจุฬาฯ และรับตำแหน่งรองคณบดี ผลงานทีมีชื่อเสียงที่สุดของ Chulasai Company Group คือการปรับปรุง อนุรักษ์ รวมทั้งต่อเติมโรงแรมเซ็นทรัล หัวหิน ซึ่งร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2532 อาคาร TRAC (พ.ศ. 2533) อาคารจุลจักรพงษ์ (พ.ศ. 2529) โดยออกแบบร่วมกับ รศ.ผุสดี ทิพทัส ศาลาราชการุณ (พ.ศ. 2535) ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงความช่วยเหลือของประเทศไทยที่มีต่อผู้อพยพชาวเขมร พลังของบัณฑิต จุลาสัยอยู่ที่ความสามารถในการผสานความสัมพันธ์อันล้ำลึกระหว่างสถาปัตยกรรมไทย พุทธศิลป์ ท้องถิ่นและศิลปะร่วมสมัยเข้าด้วยกันอย่างเหมาะเจาะลงตัว เขามีความเห็นว่า ช่างไทยมีส่วนสร้างพัฒนาการของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในแนวทางที่เป็นตัวของตัวเอง และผลงานของเขาก็ได้พิสูจน์แล้วว่าความเห็นของเขานั้นเป็นความจริง"
ในฐานะสถาปนิกมืออาชีพ รศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย มีผลงานอันโดดเด่นทางด้านการออกแบบอาคารต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ศาลาราชการุณย์" อาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินาถ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2535 ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา โดย รศ.ดร.บัณฑิตเป็นหัวหน้ากลุ่มผู้ออกแบบ ยังได้รับรางวัลผลงานสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมเหรียญทองดีเด่น ประจำปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ศาลาราชการุณย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด จัดสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่ทรงอนุเคราะห์แก่ชาวเขมรที่ลี้ภัยสงครามตามหลักการด้านมนุษยธรรม จากเดิมซึ่งเป็นศูนย์สภากาาดไทย้านเขาล้าน อาคารหลังนี้แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็เป็นอนุสรณ์สถานแห่งประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่ชาวเขมรที่ลี้ภัยสงครามมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย และยังเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์จัดแสงดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในศูนย์สภากาาดไทยเขาล้าน ซึ่งนับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่สนองความต้องการใช้สอย สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ มีรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย--จบ--