12 พ.ย.นี้ กทม.จัดสัมมนา "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ พ.ศ. 2543"

จันทร์ ๑๐ พฤศจิกายน ๑๙๙๗ ๑๔:๑๘
กรุงเทพ--10 พ.ย.--กปส.
ที่ห้องประชุมปฏิบัติการกรุงเทพมหานคร วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 เวลา 11.00 น. นพ.ขจิต ชูปัญญา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าวโครงการ "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่" โดยมี นพ.วันชาติ ศุภจตุรัส รองปลัดกรุงเทพมหานคร และนางณฐนนท์ ทวีสิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร ร่วมแถลงข่าว
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักนโยบายและแผนกทม. ร่วมกับสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร จัดสัมมนาโครงการ "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ พ.ศ. 2543" สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชน รวม 280 คน ในวันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2540 ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น. ณ ห้องอัมรินทร์ ชั้น 3 โรงแรม เอส ดี อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เพื่อทบทวนการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสานแผนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ในปี พ.ศ. 2543 โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการสัมมนา
ผู้อำนวยการนสำนักนโยบายและแผนกทม. กล่าวว่า แนวความคิดจัดทำโครงการเมืองน่าอยู่ เริ่มมาจากการคาดการณ์ขององค์การสหประชาชาติ ว่า ใน พ.ศ.2543 ประชากรโลกส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่จะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน และวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเพิ่มึ้น และ พ.ศ. 2529 สำนักงานองค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป ได้เสนอโครงการ Healthy Clties โดยนำเอาหลักการเรื่อง สุขภาพดีถ้วนหน้า พ.ศ. 2543 (Health for all 2000) มาใช้และคัดเลือก 11 เมืองในยุโรปร่วมกันจัดตั้ง Healthy Clties Project ขึ้น จากนั้นได้ขยายผลออกไปทั่วโลก ในปัจจุบันมีกว่า 1,000 เมือง เป็นสมาชิกในเครือข่ายของโครงการ Healthy Clties ด้วยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ โดยเริ่มโครงการนำร่องใน 3 เขต เมื่อ พ.ศ. 2537 ได้แก่ เขตยานนาวา สาธร บางคอแหลม ต่อมาได้ขยายการปฏิบัติครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร และได้ปรับปรุงพัฒนาเป็นโครงการ "กรุงเทพฯ-เมืองน่าอยู่" โดยกำหนดตัวชี้วัด 23 ตัว จากการประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์โครงการ Healthy Clties In Asia ขององค์การอนามัยโลกมาเป็นมาตรฐานในการพิจารณาความสำเร็จของโครงการ จำแนกตัวชี้วัดเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางจิตของประชาชน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการประกอบอาชีพ และความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจของประชาชน ทั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ในปี พ.ศ. 2543--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๗ สถาพร เอสเตท ฟอร์มเยี่ยม ยอดขายทะลุเป้ากว่า 165 ล้านบาท จากงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46
๑๖:๐๒ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จัดทัพโซลูชั่นสำหรับสมาร์ทซิตี้ในงาน IEEE-ISC2 2024 พร้อมจัดเวทีเสวนาระดับผู้นำทางความคิดด้านสมาร์ทซิตี้
๑๖:๑๘ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ผนึก IMAX Corporation เปิดโรงหนัง IMAX with Laser ครั้งแรกในต่างจังหวัด ส่งมอบประสบการณ์การดูหนังที่ดีที่สุด ที่ เซ็นทรัล เฟสติวัล
๑๖:๒๘ Bitkub Group สร้างปรากฏการณ์เขียวทั่วเมืองไทย!ขึ้น Billboard ต้อนรับ Developer ทั่วโลกบินร่วมงาน Devcon 2024
๑๖:๔๗ ยิบอินซอยจับมือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความเข้าใจ ผลิตบุคลากรคุณภาพในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
๑๖:๓๕ RML ปลื้ม 'ดิ เอสเทลล์ พร้อมพงษ์' และ 'เทตต์ สาทร ทเวลฟ์' ปล่อยเช่า Yield สูง
๑๖:๔๓ TPCH สุดแกร่ง! โชว์กำไร 9 เดือนปี 67 แตะ 254.15 ลบ. รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าชีวมวล-พลังงานขยะ กำลังผลิต 90.2 MW บอร์ดใจดีแจกปันผลระหว่างกาล 0.128
๑๖:๒๖ กลุ่มเซ็นทรัล ชวนทุกท่านร่วมส่งมอบความสุขอันอบอุ่นให้น้องๆ ชายแดนใต้ ผ่านของขวัญแทนความห่วงใย ในโครงการ มิลเลี่ยนกิฟต์ มิลเลี่ยนสมายล์ ปี
๑๖:๑๖ YLG ย้ำทองยังปรับตัวขึ้นได้อีก 2 ปี เป้าหมายถัดไปลุ้นถึง 3,000 ดอลลาร์ ทองแท่งในประเทศได้เห็น 5 หมื่นบาท
๑๖:๒๖ แม็คโคร ชี้เมกะเทรนด์ธุรกิจอาหารที่น่าจับตามอง ปี 2568 หนุนผู้ประกอบการโฮเรก้าเติมศักยภาพ-แข่งขันในตลาดได้