ไทยฟูจิซีร็อกซ์ แนะนำเลเซอร์พรินเตอร์รุ่น Xerox DocuPrint P8X

พุธ ๑๕ มีนาคม ๒๐๐๐ ๑๕:๐๒
กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--บริษัท ไทยฟูจิซีร็อกซ์ จำกัด
บริษัท ไทยฟูจิซีร็อกซ์ จำกัด แนะนำเลเซอร์พรินเตอร์ รุ่น Xerox DocuPrint P8ex เลเซอร์พรินเตอร์รุ่นเล็กที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือกว่า สามารถต่อเข้ากับระบบเครือข่ายได้อย่างสมบูรณ์แบบ เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลาง (SOHO) ด้วยความเร็วในการพิมพ์ 8 หน้าต่อนาที ให้ความคมชัดที่ 1,200X600 จุดต่อตารางนิ้ว รองรับความหนาของกระดาษได้ตั้งแต่ 60-163 แกรม บรรจุกระดาษได้ถึง 150 แผ่น หน่วยความจำมาตรฐาน 4 เมกกะไบต์ ขยายได้ถึง 36 เมกกะไบต์ สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง Parallel และ USB และมาตรฐาน PCL6 พร้อมคุณสมบัติพิเศษ สามารถพิมพ์ลายน้ำลงบนเอกสารสำคัญ (Watermarks) และพิมพ์งานหลาย ๆ หน้าให้อยู่ในหน้าเดียวกัน (N-up) ในราคาพิเศษช่วงแนะนำ 14,700 บาท (ไม่รวม VAT) พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ ฟรีเสื้อแจ็กเก็ต Olympic Sydney 2000 มูลค่า 1,500 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ แผนก Office Network Printer บริษัท ไทยฟูจิซีร็อกซ์ จำกัด โทร. 617-6700-24 ต่อ 2010-2013
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ณัฐพิชญ์ วิจิตรวงศ์กร โทร. 679-6050 ต่อ 6122 โทร. 679-6048-9
E-mail: [email protected]
http://www.fujixerox.co.th-- จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ